ทำเนียบรัฐบาล--6 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ป. เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดโอกาสในการสมยอมกันเสนอราคา : เฉพาะกรณีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้
1. การกำหนดให้ต้องมีการประกาศเปิดเผยราคากลาง คือ
1) ในการประกวดราคางานก่อสร้างทุกครั้ง ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจต้องระบุราคากลางของงานก่อสร้างนั้น ๆ ไว้ในประกาศประกวดราคาด้วย
2) ราคากลางที่ระบุไว้ในการประกวดราคางานก่อสร้างนั้น จะต้องเป็นราคาที่ได้มาจากการคำนวณถอดรูปแบบรายการ
3) กรณีได้ประกาศผลการประกวดราคาก่อสร้าง และปรากฏว่ามีการเสนอราคาที่แตกต่างไปจากราคากลางที่ระบุไว้ในประกาศประกวดราคาหรือไม่ก้ตาม ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ต้องพิจารณาดำเนินการตามระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยไม่ถือว่าราคากลางที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาต้องมีผลผูกพันให้ปฏิบัติไปตามนั้น
2. หน้าที่การคำนวณราคากลาง
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการถอดรูปแบบรายการ และการคำนวณราคากลางได้มาตรฐานและถูกต้อง นอกเหนือจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้กำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลมีหน้าที่ในด้านนี้เป็นการเพิ่มเติม คือ
1) กรณีส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเจ้าของงบประมาณ ได้ขอให้กรมโยธาธิการ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นใดออกแบบสร้างอาคาร และหน่วยงานที่ว่านี้ตอบรับออกแบบให้แล้ว ให้กำหนดให้ส่วนราชการที่รับออกแบบงานก่อสร้างนั้น ได้ถอดรูปแบบรายการและคำนวณราคากลางให้ด้วย
2) ในกรณีที่มีการจ้างให้เอกชนเป็นผู้ออกแบบงานก่อสร้าง ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจผู้ว่าจ้าง สามารถกำหนดให้ผู้รับจ้างออกแบบถอดแบบรูปรายการ พร้อมทั้งการคำนวณราคากลางให้
3) ราคากลางและรายละเอียดของการคำนวณราคากลางที่ได้มาดังกล่าว ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางรับไปดำเนินการต่อไป
3. การควบคุม กำกับดูแลการคำนวณราคากลาง
เพื่อให้การควบคุม กำกับและดูแลการคำนวณราคากลาง การถอดรูปแบบรายการมีความถูกต้อง ได้มาตรฐาน และป้องกันมิให้มีการฉวยโอกาสแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการกำหนดราคากลาง จึงให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ คือ
1) คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเสนอ ให้มีการตั้ง คณะกรรมการควบคุมราคากลาง และอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่น 14 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบท ผู้ทรงคุณวุฒิคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ โดยมี อธิบดีกรมโยธาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมทั้งผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้แทนกรมโยธาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมราคากลาง ได้แก่
ก) กำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคากลาง แล้วจัดทำเป็นคู่มือสำหรับให้ส่วนราชการต่างๆ ถือปฏิบัติ
ข) กำกับดูแลการคำนวณราคากลาง โดยมีอำนาจเข้าตรวจสอบรายละเอียด การคำนวณราคากลางที่ส่วนราชการกำหนดไว้
ค) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควร
ง) วินิจฉัยปัญหา และยกเว้นหรือผ่อนผันการดำเนินการตามมาตรการป้องกันหรือลดโอกาสการสมยอมกันในการเสนอราคา
2) ให้ ประมวลหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคำนวณราคากลาง ที่กระจายอยู่ในมติคณะรัฐมนตรีหลายฉบับ รวมทั้งที่มีปรากฏในหนังสือแจ้งเวียนของส่วนราชการ มาพิจารณากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ สำหรับให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจได้ง่าย ถูกต้อง และมีแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน
ทั้งนี้ เนื่องจาก คณะกรรมการ ป.ป.ป. ได้พิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันมีมติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการไว้ในลักษณะต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความสับสน เป็นช่องทางให้เกิดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และมีส่วนทำให้เกิดการสมยอมกัน (ฮั้ว) ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้คณะทำงานยกร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการสมยอมในการประมูลงานของทางราชการ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธาน และนำเสนอคณะรัฐมนตรี ภายใน 60 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 มกราคม 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ป. เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดโอกาสในการสมยอมกันเสนอราคา : เฉพาะกรณีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้
1. การกำหนดให้ต้องมีการประกาศเปิดเผยราคากลาง คือ
1) ในการประกวดราคางานก่อสร้างทุกครั้ง ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจต้องระบุราคากลางของงานก่อสร้างนั้น ๆ ไว้ในประกาศประกวดราคาด้วย
2) ราคากลางที่ระบุไว้ในการประกวดราคางานก่อสร้างนั้น จะต้องเป็นราคาที่ได้มาจากการคำนวณถอดรูปแบบรายการ
3) กรณีได้ประกาศผลการประกวดราคาก่อสร้าง และปรากฏว่ามีการเสนอราคาที่แตกต่างไปจากราคากลางที่ระบุไว้ในประกาศประกวดราคาหรือไม่ก้ตาม ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ต้องพิจารณาดำเนินการตามระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยไม่ถือว่าราคากลางที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาต้องมีผลผูกพันให้ปฏิบัติไปตามนั้น
2. หน้าที่การคำนวณราคากลาง
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการถอดรูปแบบรายการ และการคำนวณราคากลางได้มาตรฐานและถูกต้อง นอกเหนือจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้กำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลมีหน้าที่ในด้านนี้เป็นการเพิ่มเติม คือ
1) กรณีส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเจ้าของงบประมาณ ได้ขอให้กรมโยธาธิการ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นใดออกแบบสร้างอาคาร และหน่วยงานที่ว่านี้ตอบรับออกแบบให้แล้ว ให้กำหนดให้ส่วนราชการที่รับออกแบบงานก่อสร้างนั้น ได้ถอดรูปแบบรายการและคำนวณราคากลางให้ด้วย
2) ในกรณีที่มีการจ้างให้เอกชนเป็นผู้ออกแบบงานก่อสร้าง ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจผู้ว่าจ้าง สามารถกำหนดให้ผู้รับจ้างออกแบบถอดแบบรูปรายการ พร้อมทั้งการคำนวณราคากลางให้
3) ราคากลางและรายละเอียดของการคำนวณราคากลางที่ได้มาดังกล่าว ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางรับไปดำเนินการต่อไป
3. การควบคุม กำกับดูแลการคำนวณราคากลาง
เพื่อให้การควบคุม กำกับและดูแลการคำนวณราคากลาง การถอดรูปแบบรายการมีความถูกต้อง ได้มาตรฐาน และป้องกันมิให้มีการฉวยโอกาสแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการกำหนดราคากลาง จึงให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ คือ
1) คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเสนอ ให้มีการตั้ง คณะกรรมการควบคุมราคากลาง และอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่น 14 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบท ผู้ทรงคุณวุฒิคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ โดยมี อธิบดีกรมโยธาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมทั้งผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้แทนกรมโยธาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมราคากลาง ได้แก่
ก) กำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคากลาง แล้วจัดทำเป็นคู่มือสำหรับให้ส่วนราชการต่างๆ ถือปฏิบัติ
ข) กำกับดูแลการคำนวณราคากลาง โดยมีอำนาจเข้าตรวจสอบรายละเอียด การคำนวณราคากลางที่ส่วนราชการกำหนดไว้
ค) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควร
ง) วินิจฉัยปัญหา และยกเว้นหรือผ่อนผันการดำเนินการตามมาตรการป้องกันหรือลดโอกาสการสมยอมกันในการเสนอราคา
2) ให้ ประมวลหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคำนวณราคากลาง ที่กระจายอยู่ในมติคณะรัฐมนตรีหลายฉบับ รวมทั้งที่มีปรากฏในหนังสือแจ้งเวียนของส่วนราชการ มาพิจารณากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ สำหรับให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจได้ง่าย ถูกต้อง และมีแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน
ทั้งนี้ เนื่องจาก คณะกรรมการ ป.ป.ป. ได้พิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันมีมติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการไว้ในลักษณะต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความสับสน เป็นช่องทางให้เกิดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และมีส่วนทำให้เกิดการสมยอมกัน (ฮั้ว) ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้คณะทำงานยกร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการสมยอมในการประมูลงานของทางราชการ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธาน และนำเสนอคณะรัฐมนตรี ภายใน 60 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 มกราคม 2541--