ทำเนียบรัฐบาล--1 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไป จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ...) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 กำหนดจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเดือนละ 4,800 บาท ( ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หมายถึง บุคคลซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาแล้ว และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงเนื่องจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง กฎหมายได้เปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคม ในการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงกำหนดจำนวนเงินทีใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนไว้ 4,800 บาท ต่อเดือน และจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราตายตัวเดือนละ 144 บาท คือเท่ากับ 3% ของ 4,800 บาท ส่วนรัฐบาลจ่ายในอัตราเดือนละ 72 บาท
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ...) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในอัตราไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาทและไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (เนื่องจากมาตรา 46 วรรคหนึ่ง กำหนดให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้แต่ละฝ่ายออกเงินสมทบในอัตราร้อยละ 1.5 ของค่าจ้าง ซึ่งเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินสมทบจากวันเป็นเดือน ดังนั้น ไม่ว่าผู้ประกันตนจะทำงานในเดือนนั้นกี่วัน เมื่อมีการนำส่งเงินสมทบตามกำหนดจากต่ำสุด 1,650 บาท - สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน ให้ถือว่าได้นำเงินส่งแล้วเท่ากับ 1 เดือน)
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ...) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดจำนวนเงินเป็นค่าทำศพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานตามมาตรา 73(1) เป็นเงิน 20,000 บาท (ตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ กำหนดจำนวนเงินค่าทำศพเป็นเงิน 20,000 บาท ซึ่งคำนวณได้จาก 148 เท่าของค่าจ้างรายวันอัตรา 135 บาท ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใชับังคับอยู่ในปัจจุบัน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไป จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ...) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 กำหนดจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเดือนละ 4,800 บาท ( ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หมายถึง บุคคลซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาแล้ว และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงเนื่องจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง กฎหมายได้เปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนต่อได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคม ในการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงกำหนดจำนวนเงินทีใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนไว้ 4,800 บาท ต่อเดือน และจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราตายตัวเดือนละ 144 บาท คือเท่ากับ 3% ของ 4,800 บาท ส่วนรัฐบาลจ่ายในอัตราเดือนละ 72 บาท
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ...) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในอัตราไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาทและไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (เนื่องจากมาตรา 46 วรรคหนึ่ง กำหนดให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้แต่ละฝ่ายออกเงินสมทบในอัตราร้อยละ 1.5 ของค่าจ้าง ซึ่งเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินสมทบจากวันเป็นเดือน ดังนั้น ไม่ว่าผู้ประกันตนจะทำงานในเดือนนั้นกี่วัน เมื่อมีการนำส่งเงินสมทบตามกำหนดจากต่ำสุด 1,650 บาท - สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน ให้ถือว่าได้นำเงินส่งแล้วเท่ากับ 1 เดือน)
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ...) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดจำนวนเงินเป็นค่าทำศพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานตามมาตรา 73(1) เป็นเงิน 20,000 บาท (ตามความในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ กำหนดจำนวนเงินค่าทำศพเป็นเงิน 20,000 บาท ซึ่งคำนวณได้จาก 148 เท่าของค่าจ้างรายวันอัตรา 135 บาท ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใชับังคับอยู่ในปัจจุบัน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--