ทำเนียบรัฐบาล--11 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการศึกษาแนวโน้มของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายหลังการเจรจาการค้นหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยได้เสร็จแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อแกตต์มีผลใช้บังคับในปี 2538 เป็นต้นไปแล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าโดยการเปิดตลาด พร้อมทั้งลดการอุดหนุนภายในประเทศและลดการอุดหนุนการส่งออก ในภาพรวมแล้วคาดว่าอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะได้รับประโยชน์ เนื่องจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลทรายที่สำคัญมีต้นทุนการผลิตและการอุดหนุนภายในประเทศที่สูงกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะต้องการลดการอุดหนุนผู้ผลิตน้ำตาลภายในประเทศตามพันธกรณี แต่ก็สามารถดำเนินการปรับลดในปริมาณที่ต่ำกว่าของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญดังกล่าวที่มีต้นทุนและการอุดหนุนในระดับที่สูงกว่า ประเทศไทยจะได้เปรียบประเทศเหล่านี้ การที่ประเทศผู้ผลิตน้ำตาลปรับลดการอุดหนุนการผลิตตามพันธกรณี จะมีผลทำให้ต้องปรับลดปริมาณการผลิตลง จึงต้องชดเชยปริมาณผลผลิตที่ลดลงด้วยการนำเข้าก็จะส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น การศึกษาของ UNCTAD คาดว่า การอุดหนุนภายในประเทศของประเทศต่างๆ จะลดลง 20% ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10.6 หรือประมาณ 1.2 เซนต์/ปอนด์ หรือประมาณ 681 บาท/ตัน จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยยังคงมีศักยภาพในด้านการผลิตเพื่อจะแข่งขันกับต่างประเทศได้ และจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการส่งออกน้ำตาลในจำนวนที่มากขึ้น และราคาที่คาดว่าจะสูงขึ้นในอนาคต
ในส่วนของผลกระทบจากการลดการอุดหนุนการส่งออกนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการอุดหนุนการส่งออกโดยตรงแต่ประการใด ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบ
ในกรณีผลกระทบจากการยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า และเปลี่ยนมาใช้การกำหนดโควต้านำเข้าแทน โดยให้มีการกำหนดโควต้านำเข้าน้ำตาลไว้ 3% - 5% ขอบการบริโภค คือขั้นต่ำ 3% และจะต้องขยายไปถึง 5% ภายใน 10 ปี คือ จำนวน 13,105 - 13,760 ตัน (ใช้ปริมาณการบริโภคจากปี 2529 - 2531 เป็นปีฐาน) โดยเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 65 และส่วนที่เกินจากโควต้าเก็บภาษีร้อยละ 104 และหลังจากนั้นจะต้องลดอัตราภาษีลงอีก 10% ภายใน 10 ปี ผลกระทบจากการเปิดตลาดให้มีการนำเขาดังกล่าวจะส่งผลให้รายรับของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายลดลงประมาณ 33 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม การนำเข้าน้ำตาล เมื่อรวมภาษีนำเข้าค่าใช้จ่ายในการนำเข้าค่าแปรสภาพ และค่าการตลาดแล้ว ก็จะทำให้ราคานำเข้าสูงกว่าราคาที่จำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีการนำเข้าได้
สำหรับการปรับตัวของประเทศไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นคือการพยายามปรับปรุงและพัฒนาสิทธิภาพการผลิตเพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในระยะเวลา 5 ปี ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่10 กันยายน 2534 แล้ว โดยได้กำหนดแผนการปลูกและผลิตอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายจากปีการผลิต 2535/36 - 2539/40 ได้ดังนี้
1.1 การปลูกและผลิตอ้อยให้กำหนดเป้าหมายไว้ไม่เกิน 55 ล้านตัน โดยให้ปรับปรุงผลผลิตของชาวไร่ให้อยู่ในระดับ 12 ตันต่อไร่ และพัฒนาคุณภาพความหวานให้อยู่ในระดับ 12 ซี.ซี.เอส.
1.2 การผลิตน้ำตาลได้กำหนดเป้าหมายไว้ไม่เกิน 66 ล้านกระสอบ โดยเปลี่ยนแปลงการซื้อขายอ้อยด้วยน้ำหนัก ไปเป็นการซื้อขายอ้อยด้วยระบบคุณภาพความหวาน ตั้งแต่ปีการผลิต 2535/36 เป็นต้นไป และให้ปรับปรุงผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยให้อยู่ในระดับ 120 กิโลกรัม
ขณะเดียวกันก็ได้มีแผนงาน/โครงการค้นคว้าวิจัยในด้านอ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้มากขึ้น และจะได้มีการดำเนินการที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยเพิ่มผลผลิตอ้อย เพื่อที่จะพัฒนาในเรื่องดังกล่าวต่อไป
2. เมื่อ GATT มีผลใช้บังคับ คาดว่าการอุดหนุนของประเทศต่างๆ จะลดลง 20% และจะส่งผลให้ราคาตลาดโลกสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10.6 ประกอบกับประเทศไทยได้มีแผนในการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตลง ดังนั้น หากในอนาคตเมื่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้สูงขึ้นในระดับหนึ่งแล้วก็คงจะได้มีการพิจารณาปรับระดับราคาน้ำตาลภายในประเทศต่อไปแต่อย่างไรก็ตามราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สำหรับบริโภคภายในประเทศในระดับราคาไม่เกิน12-13 บาท/กิโลกรัม ในปัจจุบันนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทรายขาวภายในประเทศของประเทศต่างๆ จากการสำรวจ โดยบริษัทมิตซุย (ประเทศไทย) จำกัด แล้วจะพบว่า ราคาน้ำตาลภายในประเทศของไทยมีราคาถูกกว่าราคาจำหน่ายน้ำตาลของประเทศต่างๆ อีก 20 ประเทศ เนื่องจากราคาน้ำตาลของไทยอยู่ในระดับต่ำที่เป็นที่สองรองจากอินเดีย ซึ่งมีราคาถูกที่สุด กิโลกรัมละ 11.70 บาทและใกล้เคียงกับมาเลเซียซึ่งราคากิโลกรัมละ12.72 บาท สำหรับในส่วนของการสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ใช้นำตาลเป็นวัตถุดิบนั้น ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายได้ให้การสนับสนุนโดยการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในราคาพิเศษกล่าวคือ น้ำตาลทรายขาวกระสอบละ 850 บาทจากราคาควบคุมไม่เกินกระสอบละ 1,100 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กระสอบละ 900 บาท จากราคาควบคุมไม่เกิน กระสอบละ 1,200 บาท ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายการส่งเสริมการส่งออก ของรัฐบาลให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ดังนั้น ในโอกาสต่อไปเมื่ออุตสาหกรรมนี้ได้ดำเนินการตามข้อ 1.1 และ 1.2 ได้แล้ว ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำตาลลดลง ซึ่งก็จะส่งผลต่อการสนับสนุนผู้ส่งออกในราคาจำหน่ายที่ต่ำลงต่อไป
3. กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดังกล่าว มิได้ระบุว่าให้นำเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไปส่งเสริมหรืออุดหนุนการส่งออกแต่ประการใด ตลอดจนการดำเนินงานของวิจัย พัฒนา และส่งเสริมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายก็มิได้เก็บจากเงินรายได้ของรัฐบาลโดยตรง แต่เรียกเก็บจากชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลเพื่อใช้ในกิจกรรมส่งเสริมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย โดยมิได้ไปอุดหนุนการส่งออกแต่อย่างใด
สำหรับแนวทางเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ได้กำหนดให้โรงงานน้ำตาลส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายบางส่วนแล้ว ซึ่งในอนาคตก็จะทำให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างใด แต่ในทางตรงกันข้ามขนาดของทุนอ้อยและน้ำตาลทรายควรจะต้องใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีเสถียรภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มกราคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการศึกษาแนวโน้มของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายหลังการเจรจาการค้นหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยได้เสร็จแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อแกตต์มีผลใช้บังคับในปี 2538 เป็นต้นไปแล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าโดยการเปิดตลาด พร้อมทั้งลดการอุดหนุนภายในประเทศและลดการอุดหนุนการส่งออก ในภาพรวมแล้วคาดว่าอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะได้รับประโยชน์ เนื่องจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลทรายที่สำคัญมีต้นทุนการผลิตและการอุดหนุนภายในประเทศที่สูงกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะต้องการลดการอุดหนุนผู้ผลิตน้ำตาลภายในประเทศตามพันธกรณี แต่ก็สามารถดำเนินการปรับลดในปริมาณที่ต่ำกว่าของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญดังกล่าวที่มีต้นทุนและการอุดหนุนในระดับที่สูงกว่า ประเทศไทยจะได้เปรียบประเทศเหล่านี้ การที่ประเทศผู้ผลิตน้ำตาลปรับลดการอุดหนุนการผลิตตามพันธกรณี จะมีผลทำให้ต้องปรับลดปริมาณการผลิตลง จึงต้องชดเชยปริมาณผลผลิตที่ลดลงด้วยการนำเข้าก็จะส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น การศึกษาของ UNCTAD คาดว่า การอุดหนุนภายในประเทศของประเทศต่างๆ จะลดลง 20% ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10.6 หรือประมาณ 1.2 เซนต์/ปอนด์ หรือประมาณ 681 บาท/ตัน จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยยังคงมีศักยภาพในด้านการผลิตเพื่อจะแข่งขันกับต่างประเทศได้ และจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการส่งออกน้ำตาลในจำนวนที่มากขึ้น และราคาที่คาดว่าจะสูงขึ้นในอนาคต
ในส่วนของผลกระทบจากการลดการอุดหนุนการส่งออกนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการอุดหนุนการส่งออกโดยตรงแต่ประการใด ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบ
ในกรณีผลกระทบจากการยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า และเปลี่ยนมาใช้การกำหนดโควต้านำเข้าแทน โดยให้มีการกำหนดโควต้านำเข้าน้ำตาลไว้ 3% - 5% ขอบการบริโภค คือขั้นต่ำ 3% และจะต้องขยายไปถึง 5% ภายใน 10 ปี คือ จำนวน 13,105 - 13,760 ตัน (ใช้ปริมาณการบริโภคจากปี 2529 - 2531 เป็นปีฐาน) โดยเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 65 และส่วนที่เกินจากโควต้าเก็บภาษีร้อยละ 104 และหลังจากนั้นจะต้องลดอัตราภาษีลงอีก 10% ภายใน 10 ปี ผลกระทบจากการเปิดตลาดให้มีการนำเขาดังกล่าวจะส่งผลให้รายรับของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายลดลงประมาณ 33 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม การนำเข้าน้ำตาล เมื่อรวมภาษีนำเข้าค่าใช้จ่ายในการนำเข้าค่าแปรสภาพ และค่าการตลาดแล้ว ก็จะทำให้ราคานำเข้าสูงกว่าราคาที่จำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีการนำเข้าได้
สำหรับการปรับตัวของประเทศไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นคือการพยายามปรับปรุงและพัฒนาสิทธิภาพการผลิตเพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในระยะเวลา 5 ปี ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่10 กันยายน 2534 แล้ว โดยได้กำหนดแผนการปลูกและผลิตอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายจากปีการผลิต 2535/36 - 2539/40 ได้ดังนี้
1.1 การปลูกและผลิตอ้อยให้กำหนดเป้าหมายไว้ไม่เกิน 55 ล้านตัน โดยให้ปรับปรุงผลผลิตของชาวไร่ให้อยู่ในระดับ 12 ตันต่อไร่ และพัฒนาคุณภาพความหวานให้อยู่ในระดับ 12 ซี.ซี.เอส.
1.2 การผลิตน้ำตาลได้กำหนดเป้าหมายไว้ไม่เกิน 66 ล้านกระสอบ โดยเปลี่ยนแปลงการซื้อขายอ้อยด้วยน้ำหนัก ไปเป็นการซื้อขายอ้อยด้วยระบบคุณภาพความหวาน ตั้งแต่ปีการผลิต 2535/36 เป็นต้นไป และให้ปรับปรุงผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยให้อยู่ในระดับ 120 กิโลกรัม
ขณะเดียวกันก็ได้มีแผนงาน/โครงการค้นคว้าวิจัยในด้านอ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้มากขึ้น และจะได้มีการดำเนินการที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยเพิ่มผลผลิตอ้อย เพื่อที่จะพัฒนาในเรื่องดังกล่าวต่อไป
2. เมื่อ GATT มีผลใช้บังคับ คาดว่าการอุดหนุนของประเทศต่างๆ จะลดลง 20% และจะส่งผลให้ราคาตลาดโลกสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10.6 ประกอบกับประเทศไทยได้มีแผนในการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตลง ดังนั้น หากในอนาคตเมื่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้สูงขึ้นในระดับหนึ่งแล้วก็คงจะได้มีการพิจารณาปรับระดับราคาน้ำตาลภายในประเทศต่อไปแต่อย่างไรก็ตามราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สำหรับบริโภคภายในประเทศในระดับราคาไม่เกิน12-13 บาท/กิโลกรัม ในปัจจุบันนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทรายขาวภายในประเทศของประเทศต่างๆ จากการสำรวจ โดยบริษัทมิตซุย (ประเทศไทย) จำกัด แล้วจะพบว่า ราคาน้ำตาลภายในประเทศของไทยมีราคาถูกกว่าราคาจำหน่ายน้ำตาลของประเทศต่างๆ อีก 20 ประเทศ เนื่องจากราคาน้ำตาลของไทยอยู่ในระดับต่ำที่เป็นที่สองรองจากอินเดีย ซึ่งมีราคาถูกที่สุด กิโลกรัมละ 11.70 บาทและใกล้เคียงกับมาเลเซียซึ่งราคากิโลกรัมละ12.72 บาท สำหรับในส่วนของการสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ใช้นำตาลเป็นวัตถุดิบนั้น ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายได้ให้การสนับสนุนโดยการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในราคาพิเศษกล่าวคือ น้ำตาลทรายขาวกระสอบละ 850 บาทจากราคาควบคุมไม่เกินกระสอบละ 1,100 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กระสอบละ 900 บาท จากราคาควบคุมไม่เกิน กระสอบละ 1,200 บาท ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายการส่งเสริมการส่งออก ของรัฐบาลให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ดังนั้น ในโอกาสต่อไปเมื่ออุตสาหกรรมนี้ได้ดำเนินการตามข้อ 1.1 และ 1.2 ได้แล้ว ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำตาลลดลง ซึ่งก็จะส่งผลต่อการสนับสนุนผู้ส่งออกในราคาจำหน่ายที่ต่ำลงต่อไป
3. กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดังกล่าว มิได้ระบุว่าให้นำเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไปส่งเสริมหรืออุดหนุนการส่งออกแต่ประการใด ตลอดจนการดำเนินงานของวิจัย พัฒนา และส่งเสริมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายก็มิได้เก็บจากเงินรายได้ของรัฐบาลโดยตรง แต่เรียกเก็บจากชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลเพื่อใช้ในกิจกรรมส่งเสริมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย โดยมิได้ไปอุดหนุนการส่งออกแต่อย่างใด
สำหรับแนวทางเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ได้กำหนดให้โรงงานน้ำตาลส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายบางส่วนแล้ว ซึ่งในอนาคตก็จะทำให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างใด แต่ในทางตรงกันข้ามขนาดของทุนอ้อยและน้ำตาลทรายควรจะต้องใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีเสถียรภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มกราคม 2538--