คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างโครงการคลองบางเหนียวดำ จังหวัดภูเก็ต ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ จากวงเงิน 404.60 ล้านบาท (รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 19.30 ล้านบาท) เป็นวงเงินทั้งสิ้น 489.40 ล้านบาท (รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 23.30 ล้านบาท) โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ตั้งแต่ปี (พ.ศ. 2548-2551) เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่จะเร่งรัดจัดหาน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับผลิตน้ำประปาให้จังหวัดภูเก็ต และจะเป็นการรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะขยายตัวในอนาคตในจังหวัดภูเก็ต
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยดังนี้
1. การสร้างอ่างเก็บน้ำควรออกแบบก่อสร้างให้มีลักษณะเสริมทัศนียภาพให้สวยงามขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
2. ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงควรพิจารณาเร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างให้เร็วขึ้นจาก 4 ปี เป็น 2 ปี เพื่อให้สามารถผลิตน้ำประปารองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะขยายตัวในอนาคตของจังหวัดภูเก็ตได้ทัน
3. เพื่อให้รายได้จากการให้บริการน้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภคครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำ จึงเห็นควรพิจารณากำหนดราคาค่าน้ำประปาให้สามารถรองรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า กรมชลประทานได้ตรวจสอบข้อมูลด้านธรณีฐานรากบริเวณแนวศูนย์กลางเขื่อนเพิ่มเติม พบว่าแนวศูนย์กลางเขื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ ซึ่งเป็นเขื่อนดินตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นขุมเหมืองแร่ดีบุกเดิม ชั้นดินฐานรากส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทิ้งดินของขุมเหมืองเก่า จะทำให้เกิดปัญหาเป็นดินหลวมตลอดแนวเขื่อนที่จะก่อสร้างรากของเขื่อนมีการรั่วซึมสูงมาก จำเป็นต้องมีการปรับปรุง/เพิ่มเติมรายการก่อสร้าง ดังนี้
1. ก่อสร้างกำแพงทึบน้ำ (Impervious Diaphragen Wall) เพื่อลดการรั่วซึมของน้ำผ่านชั้นดินฐานรากที่รองรับเขื่อนด้วยวิธี Jet Grouting จากระดับก้นร่องแกนเขื่อนดินไปจนถึงชั้นดินแข็ง โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 37.70 ล้านบาท
2. เพื่อเสริมสร้างความแข้งแรงให้กับฐานราก ที่จะต้องสามารถรองรับน้ำหนัก (Bearing Capacity) ฐานรากได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทุกพื้นที่ของฐานรากจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากโดยการทำ Soil Cement Column ซึ่งการดำเนินการจะกระทำเฉพาะพื้นที่ที่ตรวจสอบพบว่าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามเกณฑ์เท่านั้น โดยจะใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 19.80 ล้านบาท
3. การปรับตัวของราคาน้ำมันดีเซลและราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมค่อนข้างมาก มีผลทำให้ราคาก่อสร้างโครงการสูงขึ้นจากประมาณการเดิม 23.20 ล้านบาท [คำนวณจากอัตราราคางานต่อหน่วย (Unit Cost) ที่อัตราราคาน้ำมันดีเซล ลิตรละ 19.50 บาท
]
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้วงเงินค่าก่อสร้างโครงการฯ เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 80.70 ล้านบาท รวมกับวงเงินค่าก่อสร้างที่ประมาณไว้เดิม 385.40 ล้านบาท เป็นวงเงินค่าก่อสร้างใหม่ 466.10 ล้านบาท คิดเงินสำรองเหลือเผื่อขาดร้อยละ 5 (23.30 ล้านบาท) รวมเป็นวงเงินงบประมาณที่ต้องก่อหนี้ผูกพันทั้งสิ้น 489.40 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 4 ปี (พ.ศ. 2548-2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยดังนี้
1. การสร้างอ่างเก็บน้ำควรออกแบบก่อสร้างให้มีลักษณะเสริมทัศนียภาพให้สวยงามขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
2. ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงควรพิจารณาเร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างให้เร็วขึ้นจาก 4 ปี เป็น 2 ปี เพื่อให้สามารถผลิตน้ำประปารองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะขยายตัวในอนาคตของจังหวัดภูเก็ตได้ทัน
3. เพื่อให้รายได้จากการให้บริการน้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภคครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำ จึงเห็นควรพิจารณากำหนดราคาค่าน้ำประปาให้สามารถรองรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า กรมชลประทานได้ตรวจสอบข้อมูลด้านธรณีฐานรากบริเวณแนวศูนย์กลางเขื่อนเพิ่มเติม พบว่าแนวศูนย์กลางเขื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ ซึ่งเป็นเขื่อนดินตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นขุมเหมืองแร่ดีบุกเดิม ชั้นดินฐานรากส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทิ้งดินของขุมเหมืองเก่า จะทำให้เกิดปัญหาเป็นดินหลวมตลอดแนวเขื่อนที่จะก่อสร้างรากของเขื่อนมีการรั่วซึมสูงมาก จำเป็นต้องมีการปรับปรุง/เพิ่มเติมรายการก่อสร้าง ดังนี้
1. ก่อสร้างกำแพงทึบน้ำ (Impervious Diaphragen Wall) เพื่อลดการรั่วซึมของน้ำผ่านชั้นดินฐานรากที่รองรับเขื่อนด้วยวิธี Jet Grouting จากระดับก้นร่องแกนเขื่อนดินไปจนถึงชั้นดินแข็ง โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 37.70 ล้านบาท
2. เพื่อเสริมสร้างความแข้งแรงให้กับฐานราก ที่จะต้องสามารถรองรับน้ำหนัก (Bearing Capacity) ฐานรากได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทุกพื้นที่ของฐานรากจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากโดยการทำ Soil Cement Column ซึ่งการดำเนินการจะกระทำเฉพาะพื้นที่ที่ตรวจสอบพบว่าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามเกณฑ์เท่านั้น โดยจะใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 19.80 ล้านบาท
3. การปรับตัวของราคาน้ำมันดีเซลและราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมค่อนข้างมาก มีผลทำให้ราคาก่อสร้างโครงการสูงขึ้นจากประมาณการเดิม 23.20 ล้านบาท [คำนวณจากอัตราราคางานต่อหน่วย (Unit Cost) ที่อัตราราคาน้ำมันดีเซล ลิตรละ 19.50 บาท
]
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้วงเงินค่าก่อสร้างโครงการฯ เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 80.70 ล้านบาท รวมกับวงเงินค่าก่อสร้างที่ประมาณไว้เดิม 385.40 ล้านบาท เป็นวงเงินค่าก่อสร้างใหม่ 466.10 ล้านบาท คิดเงินสำรองเหลือเผื่อขาดร้อยละ 5 (23.30 ล้านบาท) รวมเป็นวงเงินงบประมาณที่ต้องก่อหนี้ผูกพันทั้งสิ้น 489.40 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 4 ปี (พ.ศ. 2548-2551)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--