คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของประธานกรรมการ และกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้เชิญกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาและให้แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. ค่าตอบแทนรายเดือน สวัสดิการและค่าใช้จ่ายอื่น ให้กำหนดเทียบเคียงกับค่าตอบแทนของ ป.ป.ช. และ กกต. ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.)
2. ค่าตอบแทนที่มีลักษณะเป็นการตอบแทนตามผลงานและบำเหน็จ ให้พิจารณากำหนดโดยนำประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6.2 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปพิจารณาด้วย
3. ให้พิจารณากำหนดเบี้ยประชุมกรรมการร่วมทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ โดยให้นำประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาด้วย
4. ให้สำนักงาน กทช. รับประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนเมื่อดำเนินการไปครบ 1 ปีแล้ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
5. ให้ กทช. พิจารณากำหนดอัตราค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ให้พิจารณาด้วยว่าการกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และค่าเบี้ยประชุม ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นประเภทใดสามารถกำหนดไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาได้หรือไม่ด้วย
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6.2 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่ให้สำนักงาน กทช. กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณา มีดังนี้
1. ในระยะเริ่มแรก กทช. ซึ่งรับโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และงบประมาณมาจากกรมไปรษณีย์ โทรเลข จึงยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติภารกิจที่ทำให้องค์กรมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นได้ ดังนั้น ในเบื้องต้นการกำหนดอัตราค่าตอบแทน (เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง) จึงควรพิจารณาเทียบเคียงกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอื่น เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นต้น ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) อย่างไรก็ดีเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. มีผลการดำเนินงานดี มีรายได้เพียงพอโดยไม่ต้องอาศัยเงินงบประมาณ เช่น เมื่อครบ 1 ปี ก็อาจพิจารณาทบทวนค่าตอบแทน (เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง) ให้เหมาะสมในปีต่อไป โดยอาจพิจารณากำหนดค่าตอบแทนที่ผันแปรไปตามผลการปฏิบัติงาน เพราะเมื่อปฏิบัติงานครบ 1 ปี จะสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมาประกอบกับรายได้ที่ กทช. สามารถจัดสรรเข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ
นอกจากค่าตอบแทนที่เป็นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวแล้ว โดยที่ กทช. มีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว และในช่วงเริ่มแรกเมื่อครบ 3 ปี จะมีการจับสลากออก 3 คน ซึ่งเป็นระยะเวลาสั้น ดังนั้น เมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจกำหนดให้มีค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเงินบำเหน็จพิเศษ ซึ่งจะพิจารณาตามผลการปฏิบัติงานและระยะเวลาของการปฏิบัติหน้าที่
2. ในการบริหารคลื่นความถี่ กทช. จะต้องประชุมร่วมกับ กสช. ด้วย จึงสมควรพิจารณากำหนดอัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการร่วมไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ โดยควรกำหนดอัตราให้สูงเท่ากับรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย (มหาชน) จำกัด ในอัตรา 20,000 บาทต่อครั้ง โดยกำหนดให้มีการประชุมไม่เกิน 4 ครั้งต่อเดือน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
1. ค่าตอบแทนรายเดือน สวัสดิการและค่าใช้จ่ายอื่น ให้กำหนดเทียบเคียงกับค่าตอบแทนของ ป.ป.ช. และ กกต. ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.)
2. ค่าตอบแทนที่มีลักษณะเป็นการตอบแทนตามผลงานและบำเหน็จ ให้พิจารณากำหนดโดยนำประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6.2 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปพิจารณาด้วย
3. ให้พิจารณากำหนดเบี้ยประชุมกรรมการร่วมทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ โดยให้นำประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาด้วย
4. ให้สำนักงาน กทช. รับประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับการพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนเมื่อดำเนินการไปครบ 1 ปีแล้ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
5. ให้ กทช. พิจารณากำหนดอัตราค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ให้พิจารณาด้วยว่าการกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และค่าเบี้ยประชุม ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นประเภทใดสามารถกำหนดไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาได้หรือไม่ด้วย
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6.2 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่ให้สำนักงาน กทช. กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณา มีดังนี้
1. ในระยะเริ่มแรก กทช. ซึ่งรับโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และงบประมาณมาจากกรมไปรษณีย์ โทรเลข จึงยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติภารกิจที่ทำให้องค์กรมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นได้ ดังนั้น ในเบื้องต้นการกำหนดอัตราค่าตอบแทน (เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง) จึงควรพิจารณาเทียบเคียงกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอื่น เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นต้น ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) อย่างไรก็ดีเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. มีผลการดำเนินงานดี มีรายได้เพียงพอโดยไม่ต้องอาศัยเงินงบประมาณ เช่น เมื่อครบ 1 ปี ก็อาจพิจารณาทบทวนค่าตอบแทน (เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง) ให้เหมาะสมในปีต่อไป โดยอาจพิจารณากำหนดค่าตอบแทนที่ผันแปรไปตามผลการปฏิบัติงาน เพราะเมื่อปฏิบัติงานครบ 1 ปี จะสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมาประกอบกับรายได้ที่ กทช. สามารถจัดสรรเข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ
นอกจากค่าตอบแทนที่เป็นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวแล้ว โดยที่ กทช. มีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว และในช่วงเริ่มแรกเมื่อครบ 3 ปี จะมีการจับสลากออก 3 คน ซึ่งเป็นระยะเวลาสั้น ดังนั้น เมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจกำหนดให้มีค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเงินบำเหน็จพิเศษ ซึ่งจะพิจารณาตามผลการปฏิบัติงานและระยะเวลาของการปฏิบัติหน้าที่
2. ในการบริหารคลื่นความถี่ กทช. จะต้องประชุมร่วมกับ กสช. ด้วย จึงสมควรพิจารณากำหนดอัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการร่วมไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ โดยควรกำหนดอัตราให้สูงเท่ากับรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย (มหาชน) จำกัด ในอัตรา 20,000 บาทต่อครั้ง โดยกำหนดให้มีการประชุมไม่เกิน 4 ครั้งต่อเดือน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--