ทำเนียบรัฐบาล--15 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง เรื่องการดำเนินการทางวินัยและการ พิจารณาอุทธรณ์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสั่งการ ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ (พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย (ก.ตร.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ก.ค.) รัฐมนตรีว่าการทบวง มหาวิทยาลัย (ก.ม.) เลขาธิการ ก.พ. (ก.พ.) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ศึกษาและกลั่นกรองข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ในการกระทำผิดของข้าราชการประเภท ต่างๆ ที่ส่วนราชการเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นไปโดยละเอียด รอบ คอบและเป็นธรรม
2. พิจารณากำหนดระดับโทษในการกระทำผิดของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ที่ส่วนราชการ เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องใดตามที่คณะกรรมการ มอบหมาย
4. เชิญข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อ เท็จจริง หรือความเห็น รวมทั้งเรียกเอกสารจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง เรื่องการดำเนินการทางวินัยและการ พิจารณาอุทธรณ์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสั่งการ ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ (พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์) เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย (ก.ตร.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ก.ค.) รัฐมนตรีว่าการทบวง มหาวิทยาลัย (ก.ม.) เลขาธิการ ก.พ. (ก.พ.) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ศึกษาและกลั่นกรองข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ในการกระทำผิดของข้าราชการประเภท ต่างๆ ที่ส่วนราชการเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นไปโดยละเอียด รอบ คอบและเป็นธรรม
2. พิจารณากำหนดระดับโทษในการกระทำผิดของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ที่ส่วนราชการ เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องใดตามที่คณะกรรมการ มอบหมาย
4. เชิญข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อ เท็จจริง หรือความเห็น รวมทั้งเรียกเอกสารจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538--