ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยเรื่อง การขยายเส้นทางบิน ก่อนมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามความตกลงร่วมมือสายฝ่ายด้านการบินต่อไป ทั้งนี้ ตามที่ได้มีความตกลงจัดตั้งโครงการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ซึ่งครอบคลุม 5 สาขา (83 โครงการ) และในส่วนของไทยคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล นั้น โครงการเชื่อมเส้นทางบินหาดใหญ่-ปีนัง-เมดาน-บันดาอาเช่ เป็นโครงการหนึ่งในสาขาการขนส่งและคมนาคม ซึ่งเป็นข้อเสนอของสภาธุรกิจสามฝ่ายที่จะให้มีการเชื่อมเส้นทางบินเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ และได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (The Asian Development Bank : ADB) เป็นผู้ทำการศึกษา ซึ่งได้เสนอแนะว่าควรมีโครงการเชื่อมเส้นทางบินโดยจัดทำเป็น Policy Profile หัวข้อ IMT-GT Air Linkage Agreement ซึ่งเสนอให้สายการบินของทั้งสามประเทศทำการบินเชื่อมโยงในจุดต่าง ๆ ทั้งนี้ ที่ประชุมสามฝ่ายระหว่างคณะผู้แทนรัฐบาลไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อเชื่อมเส้นทางบินภายใต้โครงการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2537 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เห็นชอบและลงนามย่อในร่างความตกลงฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 สรุปสาระสำคัญความตกลง ดังนี้
1. จดที่ทำการบินในแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย : เมดาน บันดาอาเช่
มาเลเซีย : ปีนัง ลังกาวี อีโปห์
ไทย : หาดใหญ่ นราธิวาส ปัตตานี
อนึ่ง ฝ่ายมาเลเซียเสนอว่า Nias (จุดในอินโดนีเซีย) ควรจะรวมไว้เป็นจุดในเส้นทางบินด้วย เพื่อเกื้อหนุนต่อการเชื่อมเส้นทางบิน ภายในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจต่อไป คณะผู้แทนอินโดนีเซียตกลงตามข้อเสนอของฝ่ายมาเลเซีย หากรัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจจะเปิดสนามบิน Nias เป็นสนามบินระหวางประเทศในอนาคต
2. ผู้ประกอบการ ให้มีการกำหนดสายการบินได้หลายสาย ในขั้นแรกเริ่มภาคีแต่ละประเทศจะมีสิทธิกำหนดสายการบินไม่เกินสองสาย สายการบินที่ได้รับการกำหนดจะต้องมีกรรมสิทธิในส่วนสาระสำคัญและการควบคุม อันแท้จริงตกอยู่แก่ประเทศภาคีที่กำหนดสายการบินนั้นหรือชนชาตินั้น
3. รูปแบบของการดำเนินบริการ เปิดโอกาสให้มีการบินในเครือข่ายดังกล่าว ทั้งการบินแบบมีกำหนดประจำ และไม่มีกำหนดประจำ
4. ความจุความถี่ ไม่มีการจำกัดความจุความถี่ภายใต้ข้อตกลงเชื่อมเส้นทางบินนี้ เว้นแต่จะได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าในความตกลงสองฝ่าย
5. สิทธิรับขนการจราจร สายการบินจะบรรเทิงสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 เท่านั้น และไม่รวมถึงการรับขนจราจรเสรีภาพที่ 5 และสายการบินอาจแวะลงจุดในประเทศอื่น 2 จุด ในเที่ยวบินเดียวกันได้ แต่ไม่มีสิทธิรับขนการจราจรภายในประเทศระหว่างสองจุดดังกล่าว
6. รูปแบบของความตกลงร่วมมือ ที่ประชุมตกลงจัดทำข้อตกลงในลักษณะความตกลงร่วมมือสาม-ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ว่าด้วยการขยายความร่วมมือด้านการเชื่อมเส้นทางบิน โดยใช้ความตกลงร่วมมือสี่ฝ่ายด้านการบินที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ จัดทำขึ้นเป็นแบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--31 มกราคม 2538--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยเรื่อง การขยายเส้นทางบิน ก่อนมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามความตกลงร่วมมือสายฝ่ายด้านการบินต่อไป ทั้งนี้ ตามที่ได้มีความตกลงจัดตั้งโครงการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ซึ่งครอบคลุม 5 สาขา (83 โครงการ) และในส่วนของไทยคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล นั้น โครงการเชื่อมเส้นทางบินหาดใหญ่-ปีนัง-เมดาน-บันดาอาเช่ เป็นโครงการหนึ่งในสาขาการขนส่งและคมนาคม ซึ่งเป็นข้อเสนอของสภาธุรกิจสามฝ่ายที่จะให้มีการเชื่อมเส้นทางบินเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ และได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (The Asian Development Bank : ADB) เป็นผู้ทำการศึกษา ซึ่งได้เสนอแนะว่าควรมีโครงการเชื่อมเส้นทางบินโดยจัดทำเป็น Policy Profile หัวข้อ IMT-GT Air Linkage Agreement ซึ่งเสนอให้สายการบินของทั้งสามประเทศทำการบินเชื่อมโยงในจุดต่าง ๆ ทั้งนี้ ที่ประชุมสามฝ่ายระหว่างคณะผู้แทนรัฐบาลไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อเชื่อมเส้นทางบินภายใต้โครงการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2537 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เห็นชอบและลงนามย่อในร่างความตกลงฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 สรุปสาระสำคัญความตกลง ดังนี้
1. จดที่ทำการบินในแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย : เมดาน บันดาอาเช่
มาเลเซีย : ปีนัง ลังกาวี อีโปห์
ไทย : หาดใหญ่ นราธิวาส ปัตตานี
อนึ่ง ฝ่ายมาเลเซียเสนอว่า Nias (จุดในอินโดนีเซีย) ควรจะรวมไว้เป็นจุดในเส้นทางบินด้วย เพื่อเกื้อหนุนต่อการเชื่อมเส้นทางบิน ภายในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจต่อไป คณะผู้แทนอินโดนีเซียตกลงตามข้อเสนอของฝ่ายมาเลเซีย หากรัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจจะเปิดสนามบิน Nias เป็นสนามบินระหวางประเทศในอนาคต
2. ผู้ประกอบการ ให้มีการกำหนดสายการบินได้หลายสาย ในขั้นแรกเริ่มภาคีแต่ละประเทศจะมีสิทธิกำหนดสายการบินไม่เกินสองสาย สายการบินที่ได้รับการกำหนดจะต้องมีกรรมสิทธิในส่วนสาระสำคัญและการควบคุม อันแท้จริงตกอยู่แก่ประเทศภาคีที่กำหนดสายการบินนั้นหรือชนชาตินั้น
3. รูปแบบของการดำเนินบริการ เปิดโอกาสให้มีการบินในเครือข่ายดังกล่าว ทั้งการบินแบบมีกำหนดประจำ และไม่มีกำหนดประจำ
4. ความจุความถี่ ไม่มีการจำกัดความจุความถี่ภายใต้ข้อตกลงเชื่อมเส้นทางบินนี้ เว้นแต่จะได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าในความตกลงสองฝ่าย
5. สิทธิรับขนการจราจร สายการบินจะบรรเทิงสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 เท่านั้น และไม่รวมถึงการรับขนจราจรเสรีภาพที่ 5 และสายการบินอาจแวะลงจุดในประเทศอื่น 2 จุด ในเที่ยวบินเดียวกันได้ แต่ไม่มีสิทธิรับขนการจราจรภายในประเทศระหว่างสองจุดดังกล่าว
6. รูปแบบของความตกลงร่วมมือ ที่ประชุมตกลงจัดทำข้อตกลงในลักษณะความตกลงร่วมมือสาม-ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ว่าด้วยการขยายความร่วมมือด้านการเชื่อมเส้นทางบิน โดยใช้ความตกลงร่วมมือสี่ฝ่ายด้านการบินที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ จัดทำขึ้นเป็นแบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--31 มกราคม 2538--