คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ทหารสังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน (UNMIS) แล้วมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1.อนุมัติในหลักการให้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารไทยเพื่อรับการคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ทหารสังเกตการณ์ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจเพิ่มเติมในอนาคตเมื่อมี คำขอของสหประชาชาติในเรื่องเดียวกันนี้
2. อนุมัติการให้สิทธิในการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณของกำลังพลที่ร่วมปฏิบัติงานรักษาสันติภาพในซูดาน ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 รวมถึงสิทธิในการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 ตลอดช่วงปฏิบัติภารกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศชี้แจง ดังนี้
1. ภูมิหลัง : ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน (United Nations Mission in Sudan-UNMIS) เป็นไปตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1590 (2005) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และ วันที่ 23 กันยายน 2548
2. เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุม “คณะกรรมการประสานงานด้านการเข้าร่วมในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ” เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการส่งเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรับการคัดเลือกเข้าปฏิบัติภารกิจดังกล่าวตามคำขอของสหประชาชาติ และมีมติเห็นว่าสถานการณ์ในซูดานมีความปลอดภัยและมีแนวโน้มสงบมากขึ้น การส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไทยไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในซูดานตามคำขอของสหประชาชาติจะเป็นการช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ของไทย ดังนี้
2.1 เป็นการสานต่อบทบาทของไทยในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งไทยสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมาโดยตลอด อาทิ ในติมอร์ เลสเต เซียร์ราลีโอน บุรุนดี ฯลฯ และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งบทบาทดังกล่าวจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในภารกิจของสหประชาชาติในด้านการคลี่คลายความขัดแย้ง
2.2 เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจของไทย การมีบทบาทอย่างแข็งขันของไทยจะมีส่วนช่วยสร้างโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของไทยในตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ ในฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในอนาคต
2.3 เป็นการขยายโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซูดานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งผลประโยชน์ของไทยในด้านการค้า การลงทุน พลังงาน และเหมืองแร่ในซูดาน
3. กองบัญชาการทหารสูงสุดยืนยันความพร้อมที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ทหารเข้าร่วมในภารกิจดังกล่าวตามคำขอของสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่สามารถดำเนินการได้ทัน
4. การเข้าร่วมในภารกิจ UNMIS ครั้งนี้ จะไม่มีภาระด้านงบประมาณ (เพราะเจ้าหน้าที่ทหารสังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจในภารกิจนี้จะได้รับเบี้ยเลี้ยงโดยตรงจากสหประชาชาติ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
1.อนุมัติในหลักการให้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารไทยเพื่อรับการคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ทหารสังเกตการณ์ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจเพิ่มเติมในอนาคตเมื่อมี คำขอของสหประชาชาติในเรื่องเดียวกันนี้
2. อนุมัติการให้สิทธิในการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณของกำลังพลที่ร่วมปฏิบัติงานรักษาสันติภาพในซูดาน ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 รวมถึงสิทธิในการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 ตลอดช่วงปฏิบัติภารกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศชี้แจง ดังนี้
1. ภูมิหลัง : ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน (United Nations Mission in Sudan-UNMIS) เป็นไปตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1590 (2005) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และ วันที่ 23 กันยายน 2548
2. เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุม “คณะกรรมการประสานงานด้านการเข้าร่วมในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ” เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการส่งเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรับการคัดเลือกเข้าปฏิบัติภารกิจดังกล่าวตามคำขอของสหประชาชาติ และมีมติเห็นว่าสถานการณ์ในซูดานมีความปลอดภัยและมีแนวโน้มสงบมากขึ้น การส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไทยไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในซูดานตามคำขอของสหประชาชาติจะเป็นการช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ของไทย ดังนี้
2.1 เป็นการสานต่อบทบาทของไทยในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งไทยสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมาโดยตลอด อาทิ ในติมอร์ เลสเต เซียร์ราลีโอน บุรุนดี ฯลฯ และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งบทบาทดังกล่าวจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในภารกิจของสหประชาชาติในด้านการคลี่คลายความขัดแย้ง
2.2 เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจของไทย การมีบทบาทอย่างแข็งขันของไทยจะมีส่วนช่วยสร้างโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของไทยในตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ ในฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในอนาคต
2.3 เป็นการขยายโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซูดานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งผลประโยชน์ของไทยในด้านการค้า การลงทุน พลังงาน และเหมืองแร่ในซูดาน
3. กองบัญชาการทหารสูงสุดยืนยันความพร้อมที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ทหารเข้าร่วมในภารกิจดังกล่าวตามคำขอของสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่สามารถดำเนินการได้ทัน
4. การเข้าร่วมในภารกิจ UNMIS ครั้งนี้ จะไม่มีภาระด้านงบประมาณ (เพราะเจ้าหน้าที่ทหารสังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจในภารกิจนี้จะได้รับเบี้ยเลี้ยงโดยตรงจากสหประชาชาติ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--