ทำเนียบรัฐบาล--21 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้มีสาระสำคัญปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกรมประชาสัมพันธ์ใหม่ดังนี้
ราชการบริหารส่วนกลาง 1) สำนักงานเลขานุการกรม 2)กองบริหารงานบุคคล 3) กองกฎหมาย4) กองคลัง 5) สำนักนโยบายและแผน 6) สำนักวิชาการ 7)สำนักปฏิบัติการและเทคโนโลยีการประชาสัมพันธ์8) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 9) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 10)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 11) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 12)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 13) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 14)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 15) สำนักประชา-สัมพันธ์เขต 8 16)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 9 17) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 18)สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 19) สำนักที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของกรมประชา-สัมพันธ์ในอนาคต ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอเพื่อให้กรมประชาสัมพันธ์มีบทบาทเสนอแนะนโยบายและแผนการประชา-สัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลทางราชการต่อประชาชน รวมทั้งกำกับ ดูแล ส่งเสริมให้เป็นไปตามนโยบาย โดยลดงานปฏิบัติการบริหารและจัดการสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในความรับผิดชอบของกรมประชาสัมพันธ์ลง และให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยให้สำนักงาน ก.พ. เป็นแกนประสานการศึกษาร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประชาสัมพันธ์จากภาคเอกชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 มกราคม 2540--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้มีสาระสำคัญปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกรมประชาสัมพันธ์ใหม่ดังนี้
ราชการบริหารส่วนกลาง 1) สำนักงานเลขานุการกรม 2)กองบริหารงานบุคคล 3) กองกฎหมาย4) กองคลัง 5) สำนักนโยบายและแผน 6) สำนักวิชาการ 7)สำนักปฏิบัติการและเทคโนโลยีการประชาสัมพันธ์8) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 9) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 10)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 11) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 12)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 13) สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 14)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 15) สำนักประชา-สัมพันธ์เขต 8 16)สำนักประชาสัมพันธ์เขต 9 17) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 18)สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 19) สำนักที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของกรมประชา-สัมพันธ์ในอนาคต ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอเพื่อให้กรมประชาสัมพันธ์มีบทบาทเสนอแนะนโยบายและแผนการประชา-สัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลทางราชการต่อประชาชน รวมทั้งกำกับ ดูแล ส่งเสริมให้เป็นไปตามนโยบาย โดยลดงานปฏิบัติการบริหารและจัดการสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในความรับผิดชอบของกรมประชาสัมพันธ์ลง และให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยให้สำนักงาน ก.พ. เป็นแกนประสานการศึกษาร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประชาสัมพันธ์จากภาคเอกชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 21 มกราคม 2540--