ทำเนียบรัฐบาล--8 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการรับทราบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 และต่อมาได้ให้ความเห็นชอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของประเทศตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินได้รับผลสำเร็จตามสมควร ทั้งในด้านการดูแลสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซง และการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเอกชนสามารถเพิ่มทุนได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้ประชาชนทั่วไปและนักลงทุนต่างประเทศเกิดความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยมีสัญญาณที่จะฟื้นตัวได้ในไม่ช้า
นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2542 ระบบสถาบันการเงินได้มีการพัฒนาการสามารถเพิ่มทุนด้วยวิธีการแบบใหม่ โดยการขายตราสารที่ประกอบด้วยหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ควบกับหุ้นบุริมสิทธิที่เรียกว่า SLIPS หรือ CAPS และธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้นับหุ้นบุริมสิทธิรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่สถาบันการเงินได้รับจาก SLIPS หรือ CAPS เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2542 การให้ความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้นนี้เป็นไปตามมาตรฐานของ Bank for International Settlement (BIS) ที่ได้ออกประกาศยอมรับตราสารทุนประเภทใหม่ ๆ เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2541
เนื่องจากประกาศกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดหลักเกณฑ์การขอรับความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้นำออกใช้ก่อนที่ BIS และธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความเห็นชอบให้นับตราสารทุนประเภทใหม่ ๆ เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ของโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามคำเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (กปส.) เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มทุนด้วยตราสารสมัยใหม่ได้ และได้นำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยมีหลักการและเงื่อนไขที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ตราสารสมัยใหม่ได้แก่ SLIPS และ CAPS มีคุณสมบัติเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน เพราะหากสถาบันการเงินมีผลขาดทุนในอนาคตก็จะสามารถหักผลขาดทุนออกจากมูลค่าของตราสารเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าสถาบันการเงินสามารถขายตราสารเหล่านี้ได้ก็เท่ากับเป็นการลดภาระของภาครัฐในการค้ำประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นการพยายามเพิ่มเงินกองทุนโดยภาคเอกชนซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่มีหลักการว่ากระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธ์ของสถาบันการเงินเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินนั้นหาผู้ร่วมลงทุนภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้การช่วยเพิ่มทุนของกระทรวงการคลังจะต้องผ่านการพิจารณาว่าโครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินต้องเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความมั่นคง (กล่าวคือ) สถาบันการเงินจะต้องเพิ่มเงินกองทุนด้วยการขาย SLIPS หรือ CAPS ประกอบไปกับการขายหุ้นบุริมสิทธิให้แก่ผู้ลงทุนภาคเอกชนอีกจำนวนหนึ่งด้วย
2. เพื่อให้เป็นธรรมต่อสถาบันการเงินการเงินทั้งระบบ จึงเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้นับ SLIPS หรือ CAPS เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของโครงการช่วยเหลือเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 สามารถยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของสถาบันการเงินเป็นจำนวนไม่เกินกว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เพิ่มขึ้นจากการขาย SLIPS หรือ CAPS
3. เนื่องจากผู้ถือตราสาร SLIPS หรือ CAPS จะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราค่อนข้างสูง ต่างจากผู้ร่วมลงทุนสมทบประเภทที่ซื้อหุ้นบุริมสิทธิร่วมกับกระทรวงการคลัง ซึ่งจะไม่ได้รับผลตอบแทนจนกว่าสถาบันการเงินจะมีกำไรและจ่ายเงินปันผล ดังนั้น กระทรวงการคลังจะไม่ให้สิทธิ์ผู้ถือ SLIPS หรือ CAPS ซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังในราคาต้นทุนที่กระทรวงการคลังจ่ายซื้อ โดยกระทรวงการคลังจะขายหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ซื้อไว้ให้บุคคลใดก็ได้ในราคาตลาดหรือราคาที่ตกลงกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกำไรในอนาคตแก่กระทรวงการคลัง นอกจากนั้นหุ้นของกระทรวงการคลังจะมีบุริมสิทธิเหนือกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์และหุ้นบุริมสิทธิที่เป็นองค์ประกอบของ SLIPS หรือ CAPS ในกรณีสถาบันการเงินมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก
4. กระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินในราคาที่จะตกลงร่วมกัน ซึ่งอาจแตกต่างจากมูลค่าตามบัญชี ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัว มูลค่าตามบัญชีเป็นตัวเลขในอดีต ไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าในอนาคตของสถาบันการเงิน ดังจะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของสถาบันการเงินทุกแห่งจะอยู่ในระดับสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีหลังกันสำรองครบถ้วนแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นเดิมของสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินโดยใช้ราคายุติธรรม (Fair Value) เช่น ราคาเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์ หรือราคาที่ได้จากการประเมินของผู้มีวิชาชีพอิสระที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ เป็นต้น โดยกปส. จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการประเมินราคา
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีความเชื่อมั่นว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์ของโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน และส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินมีเงินทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายจากลูกหนี้ด้อยคุณภาพ และพร้อมที่จะขยายสินเชื่อใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 มิถุนายน 2542--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการรับทราบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 และต่อมาได้ให้ความเห็นชอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับสถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของประเทศตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินได้รับผลสำเร็จตามสมควร ทั้งในด้านการดูแลสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซง และการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเอกชนสามารถเพิ่มทุนได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้ประชาชนทั่วไปและนักลงทุนต่างประเทศเกิดความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยมีสัญญาณที่จะฟื้นตัวได้ในไม่ช้า
นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2542 ระบบสถาบันการเงินได้มีการพัฒนาการสามารถเพิ่มทุนด้วยวิธีการแบบใหม่ โดยการขายตราสารที่ประกอบด้วยหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ควบกับหุ้นบุริมสิทธิที่เรียกว่า SLIPS หรือ CAPS และธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้นับหุ้นบุริมสิทธิรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่สถาบันการเงินได้รับจาก SLIPS หรือ CAPS เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2542 การให้ความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้นนี้เป็นไปตามมาตรฐานของ Bank for International Settlement (BIS) ที่ได้ออกประกาศยอมรับตราสารทุนประเภทใหม่ ๆ เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2541
เนื่องจากประกาศกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดหลักเกณฑ์การขอรับความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้นำออกใช้ก่อนที่ BIS และธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความเห็นชอบให้นับตราสารทุนประเภทใหม่ ๆ เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ของโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามคำเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (กปส.) เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มทุนด้วยตราสารสมัยใหม่ได้ และได้นำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยมีหลักการและเงื่อนไขที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ตราสารสมัยใหม่ได้แก่ SLIPS และ CAPS มีคุณสมบัติเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน เพราะหากสถาบันการเงินมีผลขาดทุนในอนาคตก็จะสามารถหักผลขาดทุนออกจากมูลค่าของตราสารเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าสถาบันการเงินสามารถขายตราสารเหล่านี้ได้ก็เท่ากับเป็นการลดภาระของภาครัฐในการค้ำประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นการพยายามเพิ่มเงินกองทุนโดยภาคเอกชนซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่มีหลักการว่ากระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธ์ของสถาบันการเงินเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินนั้นหาผู้ร่วมลงทุนภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้การช่วยเพิ่มทุนของกระทรวงการคลังจะต้องผ่านการพิจารณาว่าโครงการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินต้องเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความมั่นคง (กล่าวคือ) สถาบันการเงินจะต้องเพิ่มเงินกองทุนด้วยการขาย SLIPS หรือ CAPS ประกอบไปกับการขายหุ้นบุริมสิทธิให้แก่ผู้ลงทุนภาคเอกชนอีกจำนวนหนึ่งด้วย
2. เพื่อให้เป็นธรรมต่อสถาบันการเงินการเงินทั้งระบบ จึงเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้นับ SLIPS หรือ CAPS เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของโครงการช่วยเหลือเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 สามารถยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของสถาบันการเงินเป็นจำนวนไม่เกินกว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เพิ่มขึ้นจากการขาย SLIPS หรือ CAPS
3. เนื่องจากผู้ถือตราสาร SLIPS หรือ CAPS จะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราค่อนข้างสูง ต่างจากผู้ร่วมลงทุนสมทบประเภทที่ซื้อหุ้นบุริมสิทธิร่วมกับกระทรวงการคลัง ซึ่งจะไม่ได้รับผลตอบแทนจนกว่าสถาบันการเงินจะมีกำไรและจ่ายเงินปันผล ดังนั้น กระทรวงการคลังจะไม่ให้สิทธิ์ผู้ถือ SLIPS หรือ CAPS ซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังในราคาต้นทุนที่กระทรวงการคลังจ่ายซื้อ โดยกระทรวงการคลังจะขายหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ซื้อไว้ให้บุคคลใดก็ได้ในราคาตลาดหรือราคาที่ตกลงกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกำไรในอนาคตแก่กระทรวงการคลัง นอกจากนั้นหุ้นของกระทรวงการคลังจะมีบุริมสิทธิเหนือกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์และหุ้นบุริมสิทธิที่เป็นองค์ประกอบของ SLIPS หรือ CAPS ในกรณีสถาบันการเงินมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก
4. กระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินในราคาที่จะตกลงร่วมกัน ซึ่งอาจแตกต่างจากมูลค่าตามบัญชี ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัว มูลค่าตามบัญชีเป็นตัวเลขในอดีต ไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าในอนาคตของสถาบันการเงิน ดังจะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของสถาบันการเงินทุกแห่งจะอยู่ในระดับสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีหลังกันสำรองครบถ้วนแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นเดิมของสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังจะซื้อหุ้นบุริมสิทธิของสถาบันการเงินโดยใช้ราคายุติธรรม (Fair Value) เช่น ราคาเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์ หรือราคาที่ได้จากการประเมินของผู้มีวิชาชีพอิสระที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ เป็นต้น โดยกปส. จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการประเมินราคา
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังมีความเชื่อมั่นว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์ของโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน และส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินมีเงินทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายจากลูกหนี้ด้อยคุณภาพ และพร้อมที่จะขยายสินเชื่อใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 มิถุนายน 2542--