คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์การจัดสรรและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ซึ่งได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548-2551 โดยโครงสร้างของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จะสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548-2554 ประกอบด้วย 9 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ในแต่ละยุทธศาสตร์มีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตาม และประเมินผลสำเร็จตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ กำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณที่แสดงกลยุทธ์ จุดเน้น และภารกิจที่สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล
2. เห็นชอบการกำหนดวงเงินงบประมาณ โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย และประมาณการกรอบ วงเงินงบประมาณตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ดังนี้
1. การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549
การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2549 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นประมาณ ร้อยละ 5.5-5.6 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.5
1.2 ประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท
1.3 นโยบายกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไม่เกินร้อยละ 50.0 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่ายไม่เกินร้อยละ 15.0
1.4 นโยบายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ.2549 กำหนดให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายเท่ากับรายได้สุทธิ จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่กับการสนับสนุนภาคเอกชนในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
1.5 สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่อวงเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.5 ของวงเงินงบประมาณรวม
สาระสำคัญของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ผนวกกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สรุปได้ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548จำนวน 110,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ประกอบด้วย
- รายจ่ายประจำ จำนวน 959,125.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 77,874.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.5 ของวงเงินงบประมาณรวม เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
- รายจ่ายลงทุน จำนวน 356,100.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 37,428.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.2 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 25.5 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
- รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 44,774.2 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 5,302.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.3 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 4.0 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
(2) รายได้สุทธิ จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท
(3) ดุลงบประมาณสมดุล เช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 การดำเนินนโยบายงบประมาณแบบสมดุล จะทำให้สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่เกินร้อยละ 50.0 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประมาณร้อยละ 10.2
2. ประมาณการกรอบวงเงินตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 ซึ่งจะแสดงประมาณการรายได้ และประมาณการรายจ่ายของวงเงินงบประมาณที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548- 2551 โดยกำหนดสัดส่วนวงเงินของแต่ละยุทธศาสตร์ตามทิศทางของนโยบายรัฐบาล
สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ร่วมกันแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 จัดทำเป็นยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โดยมีสาระสำคัญและรายละเอียดดังกล่าวแล้วตามข้อ 1 ดังนั้น เพื่อให้เชื่อมโยงกับประมาณการรายจ่ายของวงเงินงบประมาณที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจะนำสัดส่วนประมาณการกรอบ วงเงินงบประมาณรายจ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โดยสามารถยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็น ตามขีดความสามารถและความพร้อมของหน่วยงานในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
3. เห็นชอบแนวทางในการจัดทำและเสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ภายในกรอบของร่างคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็นการเบื้องต้น ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติราชการปี พ.ศ. 2549 โดยให้ส่งสำนักงบประมาณภายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2548 โดยควรพิจารณาให้ความสำคัญเป็นพิเศษตามแนวทางดังต่อไปนี้
1. รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามมิติงานต่าง ๆ ร่วมกับรัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงและหน่วยงาน เพื่อผลักดันประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องใน 9 ยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นรูปธรรม และมีความชัดเจน โดยผนวกรวมมิติงานตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและมิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ เพื่อให้การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มีลักษณะบูรณาการในทุกมิติ และนำสัดส่วนประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณตามที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาผลผลิต/โครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ มีความคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับศักยภาพและความพร้อมของหน่วยงาน สามารถดำเนินการได้ทันทีในขั้นตอนของการบริหารงบประมาณ
2. รัฐมนตรี มอบนโยบายให้กระทรวงและหน่วยงาน เพื่อกำหนดเป้าหมายสำคัญตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ที่เกี่ยวข้อง และจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งผนวกรวมมิติงานตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและมิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ ที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว ตามหลักการและแนวทางของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยครอบคลุมการใช้จ่ายในทุกแหล่งเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินจากแหล่งอื่น
3. กระทรวง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ
3.1 วิเคราะห์ความเชื่อมโยง พร้อมกลั่นกรองเป้าหมายการให้บริการกระทรวง/หน่วยงาน และการกำหนดยุทธศาสตร์กระทรวง/กลยุทธ์หน่วยงาน ให้เป็นไปเพื่อบรรลุความสำเร็จตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2549 แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ที่สอดรับกับนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี โดยมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้
(1) เป้าหมายการให้บริการกระทรวง/หน่วยงาน อยู่ในระดับที่บรรลุถึงได้ สามารถเชื่อมโยง สนับสนุน และส่งผลต่อความสำเร็จของเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ที่สอดคล้องกับแผนงบประมาณ และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
(2) ยุทธศาสตร์กระทรวงและกลยุทธ์หน่วยงานมีความชัดเจนในแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติ และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการให้บริการกระทรวง/หน่วยงาน ในแต่ละเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยตรง
3.2 ทบทวนเป้าหมายการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจยุทธศาสตร์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยพิจารณาดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ตามศักยภาพของหน่วยงาน และพิจารณาทบทวนรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น และรายจ่ายตามนโยบายของรัฐบาลที่บูรณาการรายจ่ายตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ รายจ่ายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ และรายจ่ายตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงแต่ละหน่วยงาน ดังนี้
(1) ตรวจสอบความสอดคล้องตั้งแต่กลยุทธ์ ผลผลิต/โครงการ และตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน จนถึงเป้าหมายการให้บริการ ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการปี พ.ศ. 2549 เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และปรับเปลี่ยนเป้าหมาย กลยุทธ์ ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) ทบทวนค่าใช้จ่ายของผลผลิตที่สูงกว่าหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจลักษณะเดียวกันและ/หรือสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ และใช้หลักการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและรายจ่ายประจำที่ไม่จำเป็น
(3) ชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ที่หมดความจำเป็นหรือมีความสำคัญในระดับรองหรือที่มีความซ้ำซ้อนกันระหว่างมิติงานต่าง ๆ โดยเลือกดำเนินการเฉพาะผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตามความสามารถในการดำเนินงานที่เกิดประโยชน์คุ้มค่าแก่กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
(4) ทบทวนการดำเนินงานตามภารกิจการให้บริการสาธารณะเพื่อถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
4. การจัดทำข้อเสนองบประมาณสำหรับจังหวัดตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ภายในกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรตามแนวทางการจัดทำงบประมาณสำหรับจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 โดยกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับจังหวัดเพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน 40,000 ล้านบาท และมีหลักเกณฑ์การจัดสรรอย่างชัดเจนส่งกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
5. การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการจัดสรรที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจทางการเงิน การคลังและงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนจากรัฐบาล การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถให้บริการสาธารณะได้อย่างมีมาตรฐานที่รัฐกำหนดอย่างทั่วถึงกัน ลดช่องว่างระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะการคลังแตกต่างกัน รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามนโยบายของรัฐ หรือสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นซึ่งเกินขีดความสามารถทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดจนกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการคลังบนพื้นฐานรายได้ของตนเองในระยะยาว โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนรายได้ท้องถิ่นต่อรายได้รัฐบาลเป็นร้อยละ 24.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ซึ่งได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548-2551 โดยโครงสร้างของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จะสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548-2554 ประกอบด้วย 9 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ในแต่ละยุทธศาสตร์มีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตาม และประเมินผลสำเร็จตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ กำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณที่แสดงกลยุทธ์ จุดเน้น และภารกิจที่สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล
2. เห็นชอบการกำหนดวงเงินงบประมาณ โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย และประมาณการกรอบ วงเงินงบประมาณตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ดังนี้
1. การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549
การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2549 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นประมาณ ร้อยละ 5.5-5.6 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.5
1.2 ประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท
1.3 นโยบายกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไม่เกินร้อยละ 50.0 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่ายไม่เกินร้อยละ 15.0
1.4 นโยบายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ.2549 กำหนดให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายเท่ากับรายได้สุทธิ จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่กับการสนับสนุนภาคเอกชนในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
1.5 สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่อวงเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.5 ของวงเงินงบประมาณรวม
สาระสำคัญของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ผนวกกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สรุปได้ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548จำนวน 110,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ประกอบด้วย
- รายจ่ายประจำ จำนวน 959,125.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 77,874.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.5 ของวงเงินงบประมาณรวม เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
- รายจ่ายลงทุน จำนวน 356,100.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 37,428.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.2 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 25.5 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
- รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 44,774.2 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 5,302.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.3 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับร้อยละ 4.0 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
(2) รายได้สุทธิ จำนวน 1,360,000.0 ล้านบาท
(3) ดุลงบประมาณสมดุล เช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 การดำเนินนโยบายงบประมาณแบบสมดุล จะทำให้สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่เกินร้อยละ 50.0 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประมาณร้อยละ 10.2
2. ประมาณการกรอบวงเงินตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 ซึ่งจะแสดงประมาณการรายได้ และประมาณการรายจ่ายของวงเงินงบประมาณที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548- 2551 โดยกำหนดสัดส่วนวงเงินของแต่ละยุทธศาสตร์ตามทิศทางของนโยบายรัฐบาล
สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ร่วมกันแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 จัดทำเป็นยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โดยมีสาระสำคัญและรายละเอียดดังกล่าวแล้วตามข้อ 1 ดังนั้น เพื่อให้เชื่อมโยงกับประมาณการรายจ่ายของวงเงินงบประมาณที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจะนำสัดส่วนประมาณการกรอบ วงเงินงบประมาณรายจ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โดยสามารถยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็น ตามขีดความสามารถและความพร้อมของหน่วยงานในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
3. เห็นชอบแนวทางในการจัดทำและเสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ภายในกรอบของร่างคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็นการเบื้องต้น ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติราชการปี พ.ศ. 2549 โดยให้ส่งสำนักงบประมาณภายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2548 โดยควรพิจารณาให้ความสำคัญเป็นพิเศษตามแนวทางดังต่อไปนี้
1. รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามมิติงานต่าง ๆ ร่วมกับรัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงและหน่วยงาน เพื่อผลักดันประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องใน 9 ยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นรูปธรรม และมีความชัดเจน โดยผนวกรวมมิติงานตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและมิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ เพื่อให้การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มีลักษณะบูรณาการในทุกมิติ และนำสัดส่วนประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณตามที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาผลผลิต/โครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ มีความคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับศักยภาพและความพร้อมของหน่วยงาน สามารถดำเนินการได้ทันทีในขั้นตอนของการบริหารงบประมาณ
2. รัฐมนตรี มอบนโยบายให้กระทรวงและหน่วยงาน เพื่อกำหนดเป้าหมายสำคัญตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ที่เกี่ยวข้อง และจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งผนวกรวมมิติงานตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและมิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ ที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว ตามหลักการและแนวทางของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยครอบคลุมการใช้จ่ายในทุกแหล่งเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินจากแหล่งอื่น
3. กระทรวง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ
3.1 วิเคราะห์ความเชื่อมโยง พร้อมกลั่นกรองเป้าหมายการให้บริการกระทรวง/หน่วยงาน และการกำหนดยุทธศาสตร์กระทรวง/กลยุทธ์หน่วยงาน ให้เป็นไปเพื่อบรรลุความสำเร็จตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2549 แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ที่สอดรับกับนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี โดยมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้
(1) เป้าหมายการให้บริการกระทรวง/หน่วยงาน อยู่ในระดับที่บรรลุถึงได้ สามารถเชื่อมโยง สนับสนุน และส่งผลต่อความสำเร็จของเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 ที่สอดคล้องกับแผนงบประมาณ และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
(2) ยุทธศาสตร์กระทรวงและกลยุทธ์หน่วยงานมีความชัดเจนในแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติ และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการให้บริการกระทรวง/หน่วยงาน ในแต่ละเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยตรง
3.2 ทบทวนเป้าหมายการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจยุทธศาสตร์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยพิจารณาดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ตามศักยภาพของหน่วยงาน และพิจารณาทบทวนรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น และรายจ่ายตามนโยบายของรัฐบาลที่บูรณาการรายจ่ายตามแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ รายจ่ายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ และรายจ่ายตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงแต่ละหน่วยงาน ดังนี้
(1) ตรวจสอบความสอดคล้องตั้งแต่กลยุทธ์ ผลผลิต/โครงการ และตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน จนถึงเป้าหมายการให้บริการ ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการปี พ.ศ. 2549 เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และปรับเปลี่ยนเป้าหมาย กลยุทธ์ ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) ทบทวนค่าใช้จ่ายของผลผลิตที่สูงกว่าหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจลักษณะเดียวกันและ/หรือสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ และใช้หลักการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและรายจ่ายประจำที่ไม่จำเป็น
(3) ชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ที่หมดความจำเป็นหรือมีความสำคัญในระดับรองหรือที่มีความซ้ำซ้อนกันระหว่างมิติงานต่าง ๆ โดยเลือกดำเนินการเฉพาะผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตามความสามารถในการดำเนินงานที่เกิดประโยชน์คุ้มค่าแก่กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
(4) ทบทวนการดำเนินงานตามภารกิจการให้บริการสาธารณะเพื่อถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
4. การจัดทำข้อเสนองบประมาณสำหรับจังหวัดตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ภายในกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรตามแนวทางการจัดทำงบประมาณสำหรับจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 โดยกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับจังหวัดเพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน 40,000 ล้านบาท และมีหลักเกณฑ์การจัดสรรอย่างชัดเจนส่งกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
5. การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการจัดสรรที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจทางการเงิน การคลังและงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนจากรัฐบาล การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถให้บริการสาธารณะได้อย่างมีมาตรฐานที่รัฐกำหนดอย่างทั่วถึงกัน ลดช่องว่างระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะการคลังแตกต่างกัน รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามนโยบายของรัฐ หรือสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นซึ่งเกินขีดความสามารถทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดจนกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการคลังบนพื้นฐานรายได้ของตนเองในระยะยาว โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนรายได้ท้องถิ่นต่อรายได้รัฐบาลเป็นร้อยละ 24.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--