ทำเนียบรัฐบาล--20 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเจ้าพนักงานของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงกลาโหมไปพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ
1. กำหนดบทนิยาม คำว่า "เกี่ยวข้องกับยาเสพติด" "คณะกรรมการ" "ประธาน ป.ป.ส." "เลขาธิการ ป.ป.ส.""สำนักงาน ป.ป.ส." "เจ้าพนักงานของรัฐ" "คณะอนุกรรมการ" และกำหนดให้ประธาน ป.ป.ส. เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
2. ให้ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรณรงค์ให้ข่าวสาร สร้างจิตสำนึกและแจ้งข่าวสารให้เจ้าพนักงานของรัฐตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รวมทั้งโทษที่พึงได้รับ
3. กำหนดหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ส. ในการขอความร่วมมือสื่อมวลชนเสนอข่าวสารยกย่องชมเชยเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยความซื่อสัตย์
4. กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นสอดส่อง ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชามิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
5. การกำหนดให้มีระบบการข่าว ข้อมูลพฤติการณ์ของเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยให้สำนักงาน ป.ป.ส. และศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด จัดให้มีสถานที่หรือศูนย์รับแจ้งข้อมูลข่าวสาร
6. กำหนดวิธีรายงานการจับกุม การสอบสวน การดำเนินการทางวินัย และการปล่อยชั่วคราว กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
7. กำหนดให้ประธาน ป.ป.ส. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำส่วนกลาง 1 คณะและส่วนภูมิภาค 4 คณะ ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่พิจารณาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
8. กำหมดมาตรการทางการบริหารและการปกครองที่ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดจะใช้กับเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
9. กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีหน่วยงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล
10. ให้สำนักงาน ป.ป.ส. จัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานทางธุรการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 ตุลาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเจ้าพนักงานของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงกลาโหมไปพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ
1. กำหนดบทนิยาม คำว่า "เกี่ยวข้องกับยาเสพติด" "คณะกรรมการ" "ประธาน ป.ป.ส." "เลขาธิการ ป.ป.ส.""สำนักงาน ป.ป.ส." "เจ้าพนักงานของรัฐ" "คณะอนุกรรมการ" และกำหนดให้ประธาน ป.ป.ส. เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
2. ให้ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรณรงค์ให้ข่าวสาร สร้างจิตสำนึกและแจ้งข่าวสารให้เจ้าพนักงานของรัฐตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รวมทั้งโทษที่พึงได้รับ
3. กำหนดหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ส. ในการขอความร่วมมือสื่อมวลชนเสนอข่าวสารยกย่องชมเชยเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยความซื่อสัตย์
4. กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นสอดส่อง ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชามิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
5. การกำหนดให้มีระบบการข่าว ข้อมูลพฤติการณ์ของเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยให้สำนักงาน ป.ป.ส. และศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด จัดให้มีสถานที่หรือศูนย์รับแจ้งข้อมูลข่าวสาร
6. กำหนดวิธีรายงานการจับกุม การสอบสวน การดำเนินการทางวินัย และการปล่อยชั่วคราว กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
7. กำหนดให้ประธาน ป.ป.ส. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำส่วนกลาง 1 คณะและส่วนภูมิภาค 4 คณะ ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่พิจารณาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
8. กำหมดมาตรการทางการบริหารและการปกครองที่ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดจะใช้กับเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
9. กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีหน่วยงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล
10. ให้สำนักงาน ป.ป.ส. จัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานทางธุรการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 20 ตุลาคม 2541--