คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด แล้วมีมติตามมติคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ดังนี้ รับทราบการดำเนินการของกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ ยอดบริจาคเข้ากองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ 10 มกราคม 2548 เป็นเงิน 606,696,596.48 บาท เบิกจ่ายจากกองทุนฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว 163,750,000 บาท คงเหลือเงินกองทุนฯ 442,946,596.48 บาท และจะขอใช้เงินกองทุนฯ อีก 322,060,000 บาท คงเหลือเงินบริจาค 120,886,596.48 บาทอนุมัติเงินงบกลางปี 2548 จำนวน 5,252,555,269 บาท โดยให้ทำความตกลงกับสำนักงานงบประมาณ ในรายละเอียดต่อไป อนุมัติกรอบวงเงินการให้สินเชื่อตามที่กระทรวงการคลัง และกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้
3.1 สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan) จำนวน 37,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2
3.2 สินเชื่อเพิ่มเติมของแต่ละสถาบันการเงิน จำนวน 12,000 ล้านบาท
3.3 กองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุน 5,000 ล้านบาท
3.4 กองทุนประกันสังคมร่วมลงทุนในกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุน 5,000 ล้านบาท และอีก 5,000 ล้านบาท นำไปสมทบกับสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan)ให้คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด ติดตาม เร่งรัดตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน และมีอำนาจอนุมัติพิจารณาดำเนินการกรณีการปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์ที่กำหนด
คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2548 โดยที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมกรรมการเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ รวม 10 คณะ ดังนี้
คณะอนุกรรมการให้การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
คณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมง
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงาน
คณะอนุกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
คณะอนุกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่
คณะอนุกรรมการจัดหาที่พักอาศัยแก่ผู้ประสบภัย
คณะอนุกรรมการให้การช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือส่วนราชการที่ได้รับความเสียหาย
คณะอนุกรรมการพิจารณาชดเชยค่าใช้จ่ายของหน่วยงานที่สำรองจ่ายไปแล้ว
ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการต่าง ๆ ลงไปดูสภาพพื้นที่จริง และประเมินความเสียหายพร้อมทั้งพิจารณา
กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และมาตรการให้ความช่วยเหลือเสนอคณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาในวันที่
10 มกราคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
3.1 สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan) จำนวน 37,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2
3.2 สินเชื่อเพิ่มเติมของแต่ละสถาบันการเงิน จำนวน 12,000 ล้านบาท
3.3 กองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุน 5,000 ล้านบาท
3.4 กองทุนประกันสังคมร่วมลงทุนในกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุน 5,000 ล้านบาท และอีก 5,000 ล้านบาท นำไปสมทบกับสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan)ให้คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด ติดตาม เร่งรัดตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน และมีอำนาจอนุมัติพิจารณาดำเนินการกรณีการปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์ที่กำหนด
คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัด ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2548 โดยที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมกรรมการเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ รวม 10 คณะ ดังนี้
คณะอนุกรรมการให้การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
คณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมง
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงาน
คณะอนุกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
คณะอนุกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่
คณะอนุกรรมการจัดหาที่พักอาศัยแก่ผู้ประสบภัย
คณะอนุกรรมการให้การช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือส่วนราชการที่ได้รับความเสียหาย
คณะอนุกรรมการพิจารณาชดเชยค่าใช้จ่ายของหน่วยงานที่สำรองจ่ายไปแล้ว
ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการต่าง ๆ ลงไปดูสภาพพื้นที่จริง และประเมินความเสียหายพร้อมทั้งพิจารณา
กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และมาตรการให้ความช่วยเหลือเสนอคณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาในวันที่
10 มกราคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--