ทำเนียบรัฐบาล--2 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการศึกษาและวิเคราะห์การปฏิบัติราชการของหน่วยราชการไทยที่ตั้งประจำในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2538 - 2540 ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล) ได้เห็นชอบแล้ว และเห็นชอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนการปฏิบัติราชการ ตามผลการศึกษาและวิเคราะห์ดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ศึกษาและวิเคราะห์การปฏิบัติราชการของหน่วยราชการไทยที่ตั้งประจำในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2538 - 2540 ด้วยคาดว่าน่าจะมีความซ้ำซ้อนและมีความไม่ประหยัดในการดำเนินงานของหน่วยราชการไทยที่ตั้งประจำในต่างประเทศ ซึ่งมีเป็นจำนวนรวมที่มากถึง 275 สำนักงาน จาก 10 กระทรวง ใน 65 ประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. ภาระหน้าที่ มีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นในด้านการข่าวการพาณิชย์ การศึกษา และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งควรมอบภาระหน้าที่ให้กระทรวงการต่างประเทศ แล้วลดหน่วยงานอื่นที่ซ้ำซ้อนลง
2. สถานที่ตั้ง มีการแยกกันอยู่ทั้งที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ในหลายประเทศมีเนื้อที่พอจะรองรับหน่วยงานอื่นได้อีกบางหน่วยทำให้เกิดความสิ้นเปลือง จึงควรให้ย้ายมาอยู่รวมกันโดยเร็ว
3. บุคลากร จำนวนผู้ติดตาม ซึ่งได้แก่คู่สมรสและบุตรเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนมากกว่าข้าราชการ นอกจากนั้นมีการจ้างลูกจ้างชั่วคราวในจำนวนที่เกิดความจำเป็น จึงควรทบทวนเพื่อให้มีการลดจำนวนให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4. การบริหารงบประมาณ การดำเนินงานของหน่วยราชการไทยในต่างประเทศในแต่ละปี จะเสียค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีในเกณฑ์คนละ 1 - 2 ล้านบาทเศษ หรือปีละไม่ต่ำกว่า 4 พันล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนเดิม 25.50 บาท ต่อ 1 US$) หรือประมาณ 7,000พันล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 45 บาท ต่อ 1 US$ ดังนั้น หากแก้ปัญหาตามข้อ 1-3 ได้แล้ว จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้เป็นจำนวนมาก
5. แผนการปฏิบัติงาน ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม 4 ส่วนราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี 1 ส่วนราชการ และกระทรวงพาณิชย์ 1 ส่วนราชการ ไม่มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี จึงควรให้ทุกส่วนราชการจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 มิถุนายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการศึกษาและวิเคราะห์การปฏิบัติราชการของหน่วยราชการไทยที่ตั้งประจำในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2538 - 2540 ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล) ได้เห็นชอบแล้ว และเห็นชอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนการปฏิบัติราชการ ตามผลการศึกษาและวิเคราะห์ดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ศึกษาและวิเคราะห์การปฏิบัติราชการของหน่วยราชการไทยที่ตั้งประจำในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2538 - 2540 ด้วยคาดว่าน่าจะมีความซ้ำซ้อนและมีความไม่ประหยัดในการดำเนินงานของหน่วยราชการไทยที่ตั้งประจำในต่างประเทศ ซึ่งมีเป็นจำนวนรวมที่มากถึง 275 สำนักงาน จาก 10 กระทรวง ใน 65 ประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. ภาระหน้าที่ มีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นในด้านการข่าวการพาณิชย์ การศึกษา และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งควรมอบภาระหน้าที่ให้กระทรวงการต่างประเทศ แล้วลดหน่วยงานอื่นที่ซ้ำซ้อนลง
2. สถานที่ตั้ง มีการแยกกันอยู่ทั้งที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ในหลายประเทศมีเนื้อที่พอจะรองรับหน่วยงานอื่นได้อีกบางหน่วยทำให้เกิดความสิ้นเปลือง จึงควรให้ย้ายมาอยู่รวมกันโดยเร็ว
3. บุคลากร จำนวนผู้ติดตาม ซึ่งได้แก่คู่สมรสและบุตรเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนมากกว่าข้าราชการ นอกจากนั้นมีการจ้างลูกจ้างชั่วคราวในจำนวนที่เกิดความจำเป็น จึงควรทบทวนเพื่อให้มีการลดจำนวนให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
4. การบริหารงบประมาณ การดำเนินงานของหน่วยราชการไทยในต่างประเทศในแต่ละปี จะเสียค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีในเกณฑ์คนละ 1 - 2 ล้านบาทเศษ หรือปีละไม่ต่ำกว่า 4 พันล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนเดิม 25.50 บาท ต่อ 1 US$) หรือประมาณ 7,000พันล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 45 บาท ต่อ 1 US$ ดังนั้น หากแก้ปัญหาตามข้อ 1-3 ได้แล้ว จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้เป็นจำนวนมาก
5. แผนการปฏิบัติงาน ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม 4 ส่วนราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี 1 ส่วนราชการ และกระทรวงพาณิชย์ 1 ส่วนราชการ ไม่มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี จึงควรให้ทุกส่วนราชการจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 มิถุนายน 2541--