ทำเนียบรัฐบาล--10 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขบุริมสิทธิ) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขมาตรา 253 เพื่อปรับลำดับบุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างอยู่ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากร คือ อยู่ในลำดับที่ 3 และให้มูลหนี้ทั้งสองประเภทได้รับชำระหนี้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน
2. แก้ไขมาตรา 257 โดยกำหนดให้บุริมสิทธิในหนี้เงินที่ลูกจ้างมิสิทธิได้รับนับย้อนหลังขึ้นไป 4 เดือน รวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาท ต่อลูกจ้างคนหนึ่ง
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร และขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว โดยมาตรา 11 ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้บรรดาหนี้เงินต่าง ๆ ที่นายจ้างไม่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เงินเพิ่ม หรือค่าชดเชย ให้ลูกจ้างมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งเป็นลูกหนี้ในลำดับเดียวกับภาษีอากรตามมาตรา 253 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โดยที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ปัจจุบันได้บัญญัติให้บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรอยู่ในลำดับที่ 3 และมูลค่าจ้างอยู่ในลำดับที่ 4 ทำให้ไม่เกิดประโยชน์แก่ลูกจ้างในกรณีธุรกิจของนายจ้างอยู่ในฐานะไม่ดี เพราะการที่มูลค่าภาษีอากรอยู่ในลำดับก่อนจึงสามารถบังคับเอาทรัพย์สินของนายจ้างที่มีอยู่ไปชำระเป็นภาษีอากรเสียหมดโดยลูกจ้างไม่ได้ประโยชน์จึงควรแก้ไขโดยเลื่อนบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างรวมทั้งมูลหนี้เงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่นายจ้างอย่างน้อยให้อยู่ในบุริมสิทธิลำดับเดียวกับค่าภาษีอากร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 11 ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
นอกจากนี้ ตามมาตรา 257 ที่ได้บัญญัติให้บุริมสิทธิในมูลค่าจ้างค้างจ่ายนับย้อนหลังขึ้นไป 4 เดือน ซึ่งไม่เกิน 300 บาท ต่อเสมียนหรือคนใช้ 1 คน และนับย้อนหลังขึ้นไป 2 เดือน ซึ่งไม่เกิน 150 บาท ต่อคนงาน 1 คน นั้น ไม่เป็นธรรมเพราะควรให้ความคุ้มครองแก่บรรดาลูกจ้างต่าง ๆ โดยเท่าเทียมกัน และมีจำนวนเงินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบัน จึงควรแก้ไขให้บุริมสิทธิในบรรดาหนี้เงินตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. .... ซึ่งนับย้อนหลังขึ้นไป 4 เดือน รวมกันแล้วมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มีนาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขบุริมสิทธิ) ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขมาตรา 253 เพื่อปรับลำดับบุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างอยู่ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากร คือ อยู่ในลำดับที่ 3 และให้มูลหนี้ทั้งสองประเภทได้รับชำระหนี้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน
2. แก้ไขมาตรา 257 โดยกำหนดให้บุริมสิทธิในหนี้เงินที่ลูกจ้างมิสิทธิได้รับนับย้อนหลังขึ้นไป 4 เดือน รวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาท ต่อลูกจ้างคนหนึ่ง
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร และขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว โดยมาตรา 11 ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้บรรดาหนี้เงินต่าง ๆ ที่นายจ้างไม่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เงินเพิ่ม หรือค่าชดเชย ให้ลูกจ้างมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งเป็นลูกหนี้ในลำดับเดียวกับภาษีอากรตามมาตรา 253 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โดยที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ปัจจุบันได้บัญญัติให้บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรอยู่ในลำดับที่ 3 และมูลค่าจ้างอยู่ในลำดับที่ 4 ทำให้ไม่เกิดประโยชน์แก่ลูกจ้างในกรณีธุรกิจของนายจ้างอยู่ในฐานะไม่ดี เพราะการที่มูลค่าภาษีอากรอยู่ในลำดับก่อนจึงสามารถบังคับเอาทรัพย์สินของนายจ้างที่มีอยู่ไปชำระเป็นภาษีอากรเสียหมดโดยลูกจ้างไม่ได้ประโยชน์จึงควรแก้ไขโดยเลื่อนบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างรวมทั้งมูลหนี้เงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่นายจ้างอย่างน้อยให้อยู่ในบุริมสิทธิลำดับเดียวกับค่าภาษีอากร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 11 ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
นอกจากนี้ ตามมาตรา 257 ที่ได้บัญญัติให้บุริมสิทธิในมูลค่าจ้างค้างจ่ายนับย้อนหลังขึ้นไป 4 เดือน ซึ่งไม่เกิน 300 บาท ต่อเสมียนหรือคนใช้ 1 คน และนับย้อนหลังขึ้นไป 2 เดือน ซึ่งไม่เกิน 150 บาท ต่อคนงาน 1 คน นั้น ไม่เป็นธรรมเพราะควรให้ความคุ้มครองแก่บรรดาลูกจ้างต่าง ๆ โดยเท่าเทียมกัน และมีจำนวนเงินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบัน จึงควรแก้ไขให้บุริมสิทธิในบรรดาหนี้เงินตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. .... ซึ่งนับย้อนหลังขึ้นไป 4 เดือน รวมกันแล้วมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มีนาคม 2541--