คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ในฐานะประธานอำนวยการประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จังหวัดพังงา ครั้งที่ 3 (ระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2548 — วันที่ 16 มกราคม 2548) ดังนี้
1. การเก็บศพผู้เสียชีวิต
เจ้าหน้าที่ยังทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเก็บสิ่งปรักหักพังในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย ซึ่งยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตอยู่เป็นระยะ ตลอดจนยังดำเนินการค้นหาศพผู้เสียชีวิตในพื้นที่ที่มีประชาชนมาแจ้งไว้ว่าอาจจะมีศพผู้เสียชีวิตติดค้างอยู่
2. การเก็บสิ่งปรักหักพัง การกู้ซากรถและอื่น ๆ
จังหวัดพังงาได้ดำเนินการเก็บสิ่งปรักหักพัง การกู้ซากรถและอื่น ๆ ในพื้นที่ถนนเพชรเกษมข้างละ 100 เมตร บริเวณตรอกและซอยต่าง ๆ จนสิ้นสุดบริเวณที่ประสบภัยและช่วยเหลือผู้ประกอบการเก็บกวาดสิ่งปรักหักพังบริเวณอาคารที่พัก โรงแรม รวมทั้งหาดทรายตลอดแนว โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 โซน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2548) ดังนี้
2.1 โซนที่ 1 บ้านน้ำเค็ม - หน้าโรงเรียนบางสัก โดยมีหัวหน้าสำนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก (ผลการดำเนินการเสร็จครบ 100%)
2.2 โซนที่ 2 หน้าโรงเรียนบางสัก - สำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง โดยมีรองเจ้ากรมการทหารช่าง เป็นผู้รับผิดชอบ (ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 52%)
2.3 โซนที่ 3 หน้าสำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง — ทางเข้าหาดนางทอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางพังงาเป็นผู้รับผิดชอบ (ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 60%)
2.4 โซนที่ 4 ทางเข้าหาดนางทอง — บริเวณทางเข้าโรงแรมเขาหลักเมอร์ลิน อ.ท้ายเหมือง โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 เป็นผู้รับผิดชอบ (ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 69.80%)
3. การตรวจสอบ พิสูจน์และเก็บศพไว้รอญาติ
เนื่องจากมีศพที่รอการพิสูจน์เป็นจำนวนมาก จังหวัดพังงาจึงยังให้วัดย่านยาวเป็นศูนย์ประสานงานหลัก โดยมีสาธารณสุขจังหวัดพังงา และโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์ศพอีกประมาณ 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาเคลื่อนย้ายศพบางส่วนไปที่จังหวัดภูเก็ต
4. การประเมินความเสียหายเบื้องต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2548)
4.1 พื้นที่และประชาชน พื้นที่ที่ประสบภัยและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน มีจำนวนทั้งสิ้น 6 อำเภอ โดยอำเภอตะกั่วป่าได้รับความเสียหายมากที่สุด จำนวน 3 ตำบล 17 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,749 ครัวเรือน จำนวน 8,916 คน
4.2 ด้านเกษตรกรรม จำนวนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย แบ่งออกเป็น นาข้าว 28 ไร่ พืชไร่ 9 ไร่ และพืชสวน 5,848 ไร่
4.3 ด้านการประกอบธุรกิจ จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเสียหายแบ่งออกเป็น แผงลอย 509 ราย ร้านค้า 106 ราย ร้านอาหาร 215 ราย และโรงแรม 98 ราย
4.4 ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น ท่าเทียบเรือ 53 แห่ง สะพาน คสล. 7 แห่ง สะพานไม้ 1 แห่ง ท่อลอดเหลี่ยม คสล. 2 แห่ง ถนน/ท่อระบบน้ำ 22 แห่ง พนังกั้นน้ำ/เขื่อน 2 แห่ง ไฟฟ้า 30 วงจร ประปา 11 แห่ง โทรศัพท์ 5 ชุมสาย และทางเท้าคอนกรีตบล็อก 2 แห่ง
5. การช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค
5.1 จังหวัดพังงา และเหล่ากาชาดจังหวัดพังงา ได้จัดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เพื่อจัดหาอาหารและน้ำดื่ม ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งสถานที่ที่พักพิงชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัย โดยได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขึ้น จำนวน 10 แห่ง ดังนี้ ศาลากลางจังหวัดพังงา จวนผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า ที่ว่าการอำเภอคุระบุรี ที่ว่าการอำเภอท้ายเหมือง ที่ว่าการอำเภอตะกั่วทุ่ง ที่ว่าการอำเภอเกาะยาว ที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา บ้านบางม่วง อ.ตะกั่วป่า และบ้านบางเนียง อ.ตะกั่วป่า
5.2 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ตลอดจน หน่วยงานและองค์กรการกุศลต่าง ๆ ได้สนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค
5.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยังแจกจ่ายน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนออกสำรวจติดตั้งชุดประปาสนาม ซ่อมแซมระบบประปา ติดตั้งระบบประปาบาดาล สูบล้างบ่อน้ำตื้น และเป่าล้างบ่อบาดาล
6. การช่วยเหลือด้านที่พัก
6.1 การจัดหาที่พักชั่วคราว
จังหวัดพังงาได้จัดที่พักชั่วคราวในรูปต่าง ๆ เช่น บ้านเพื่อนพึ่ง (ภา) อาศัย (Knockdown) เต๊นท์ จำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง รองรับผู้ประสบภัยที่ไม่มีที่อยู่อาศัย จำนวน 1,563 ครอบครัว รวม 7,159 คน โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมดำเนินการ 6 แห่ง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิรักษ์ไทยและกองทัพเรือ ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 15 แห่ง จำนวน 2,167 หลัง โดยอพยพประชาชนเข้าอยู่อาศัยแล้ว จำนวน 1,226 ครอบครัว จำนวนประมาณ 5,600 คน การสร้างบ้านพักถาวรจังหวัดพังงาได้จัดหาพื้นที่สำหรับสร้างบ้านพักถาวรให้ประชาชนที่ประสบภัยและไม่มีที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอตะกั่วป่า อ.คุระบุรี และ อ.ท้ายเหมือง โดยจะดำเนินการในที่ดินสาธารณะ ที่ดินในความดูแลของกรมธนารักษ์ ที่ดินกรมทางหลวง และที่ดินเอกชนที่มีเอกสารสิทธิ
7. การสำรวจและประเมินความเสียหายและการฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการดังนี้
7.1 สำรวจจัดทำผังเมืองและสภาพภูมิทัศน์ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.พังงา โดยทำงานร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7.2 สำรวจ ตรวจสอบและเฝ้าระวังหลุมยุบบ่อแสนวิลล่า ต.บ่อแสน อ.ทับปุด
7.3 แก้ไขปัญหาแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน โดยร่วมกับกรมอนามัย ทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรค และบำบัดน้ำเสียในบ่อกักขังและแหล่งน้ำ โดยการใช้สารเคมีฉีดลงไปในแหล่งน้ำ บริเวณบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า รวมทั้งทำการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่กักขังอยู่บนหลังคาตู้คอนเทนเนอร์เก็บศพ ที่วัดย่านยาว อ.ตะกั่วป่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--
1. การเก็บศพผู้เสียชีวิต
เจ้าหน้าที่ยังทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเก็บสิ่งปรักหักพังในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย ซึ่งยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตอยู่เป็นระยะ ตลอดจนยังดำเนินการค้นหาศพผู้เสียชีวิตในพื้นที่ที่มีประชาชนมาแจ้งไว้ว่าอาจจะมีศพผู้เสียชีวิตติดค้างอยู่
2. การเก็บสิ่งปรักหักพัง การกู้ซากรถและอื่น ๆ
จังหวัดพังงาได้ดำเนินการเก็บสิ่งปรักหักพัง การกู้ซากรถและอื่น ๆ ในพื้นที่ถนนเพชรเกษมข้างละ 100 เมตร บริเวณตรอกและซอยต่าง ๆ จนสิ้นสุดบริเวณที่ประสบภัยและช่วยเหลือผู้ประกอบการเก็บกวาดสิ่งปรักหักพังบริเวณอาคารที่พัก โรงแรม รวมทั้งหาดทรายตลอดแนว โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 โซน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2548) ดังนี้
2.1 โซนที่ 1 บ้านน้ำเค็ม - หน้าโรงเรียนบางสัก โดยมีหัวหน้าสำนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก (ผลการดำเนินการเสร็จครบ 100%)
2.2 โซนที่ 2 หน้าโรงเรียนบางสัก - สำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง โดยมีรองเจ้ากรมการทหารช่าง เป็นผู้รับผิดชอบ (ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 52%)
2.3 โซนที่ 3 หน้าสำนักสงฆ์ปริยัติธรรม บ้านบางเนียง — ทางเข้าหาดนางทอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางพังงาเป็นผู้รับผิดชอบ (ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 60%)
2.4 โซนที่ 4 ทางเข้าหาดนางทอง — บริเวณทางเข้าโรงแรมเขาหลักเมอร์ลิน อ.ท้ายเหมือง โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 เป็นผู้รับผิดชอบ (ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 69.80%)
3. การตรวจสอบ พิสูจน์และเก็บศพไว้รอญาติ
เนื่องจากมีศพที่รอการพิสูจน์เป็นจำนวนมาก จังหวัดพังงาจึงยังให้วัดย่านยาวเป็นศูนย์ประสานงานหลัก โดยมีสาธารณสุขจังหวัดพังงา และโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบพิสูจน์ศพอีกประมาณ 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาเคลื่อนย้ายศพบางส่วนไปที่จังหวัดภูเก็ต
4. การประเมินความเสียหายเบื้องต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มกราคม 2548)
4.1 พื้นที่และประชาชน พื้นที่ที่ประสบภัยและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน มีจำนวนทั้งสิ้น 6 อำเภอ โดยอำเภอตะกั่วป่าได้รับความเสียหายมากที่สุด จำนวน 3 ตำบล 17 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,749 ครัวเรือน จำนวน 8,916 คน
4.2 ด้านเกษตรกรรม จำนวนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย แบ่งออกเป็น นาข้าว 28 ไร่ พืชไร่ 9 ไร่ และพืชสวน 5,848 ไร่
4.3 ด้านการประกอบธุรกิจ จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเสียหายแบ่งออกเป็น แผงลอย 509 ราย ร้านค้า 106 ราย ร้านอาหาร 215 ราย และโรงแรม 98 ราย
4.4 ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น ท่าเทียบเรือ 53 แห่ง สะพาน คสล. 7 แห่ง สะพานไม้ 1 แห่ง ท่อลอดเหลี่ยม คสล. 2 แห่ง ถนน/ท่อระบบน้ำ 22 แห่ง พนังกั้นน้ำ/เขื่อน 2 แห่ง ไฟฟ้า 30 วงจร ประปา 11 แห่ง โทรศัพท์ 5 ชุมสาย และทางเท้าคอนกรีตบล็อก 2 แห่ง
5. การช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค
5.1 จังหวัดพังงา และเหล่ากาชาดจังหวัดพังงา ได้จัดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เพื่อจัดหาอาหารและน้ำดื่ม ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งสถานที่ที่พักพิงชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัย โดยได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขึ้น จำนวน 10 แห่ง ดังนี้ ศาลากลางจังหวัดพังงา จวนผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า ที่ว่าการอำเภอคุระบุรี ที่ว่าการอำเภอท้ายเหมือง ที่ว่าการอำเภอตะกั่วทุ่ง ที่ว่าการอำเภอเกาะยาว ที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา บ้านบางม่วง อ.ตะกั่วป่า และบ้านบางเนียง อ.ตะกั่วป่า
5.2 มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ตลอดจน หน่วยงานและองค์กรการกุศลต่าง ๆ ได้สนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค
5.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยังแจกจ่ายน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนออกสำรวจติดตั้งชุดประปาสนาม ซ่อมแซมระบบประปา ติดตั้งระบบประปาบาดาล สูบล้างบ่อน้ำตื้น และเป่าล้างบ่อบาดาล
6. การช่วยเหลือด้านที่พัก
6.1 การจัดหาที่พักชั่วคราว
จังหวัดพังงาได้จัดที่พักชั่วคราวในรูปต่าง ๆ เช่น บ้านเพื่อนพึ่ง (ภา) อาศัย (Knockdown) เต๊นท์ จำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง รองรับผู้ประสบภัยที่ไม่มีที่อยู่อาศัย จำนวน 1,563 ครอบครัว รวม 7,159 คน โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมดำเนินการ 6 แห่ง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิรักษ์ไทยและกองทัพเรือ ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 15 แห่ง จำนวน 2,167 หลัง โดยอพยพประชาชนเข้าอยู่อาศัยแล้ว จำนวน 1,226 ครอบครัว จำนวนประมาณ 5,600 คน การสร้างบ้านพักถาวรจังหวัดพังงาได้จัดหาพื้นที่สำหรับสร้างบ้านพักถาวรให้ประชาชนที่ประสบภัยและไม่มีที่อยู่อาศัยในเขตอำเภอตะกั่วป่า อ.คุระบุรี และ อ.ท้ายเหมือง โดยจะดำเนินการในที่ดินสาธารณะ ที่ดินในความดูแลของกรมธนารักษ์ ที่ดินกรมทางหลวง และที่ดินเอกชนที่มีเอกสารสิทธิ
7. การสำรวจและประเมินความเสียหายและการฟื้นฟูด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการดังนี้
7.1 สำรวจจัดทำผังเมืองและสภาพภูมิทัศน์ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.พังงา โดยทำงานร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7.2 สำรวจ ตรวจสอบและเฝ้าระวังหลุมยุบบ่อแสนวิลล่า ต.บ่อแสน อ.ทับปุด
7.3 แก้ไขปัญหาแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน โดยร่วมกับกรมอนามัย ทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรค และบำบัดน้ำเสียในบ่อกักขังและแหล่งน้ำ โดยการใช้สารเคมีฉีดลงไปในแหล่งน้ำ บริเวณบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า รวมทั้งทำการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่กักขังอยู่บนหลังคาตู้คอนเทนเนอร์เก็บศพ ที่วัดย่านยาว อ.ตะกั่วป่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--