คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงต่างประเทศรายงานสรุปผลการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 13 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 13 ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2548 ดังนี้
1. ประเด็นสำคัญของการหารือ
1.1 ประเด็นด้านการค้า
1.1.1 ผู้นำเศรษฐกิจเอเปคเห็นพ้องกันว่า เอเปคต้องมีบทบาทนำในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการค้าพหุภาคี และส่งสัญญาณทางการเมืองที่ชัดเจนเพื่อให้มีความคืบหน้าในการเจรจาการค้ารอบโดฮาภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก ซึ่งจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง ในเดือนธันวาคม ศกนี้ ในการนี้ ผู้นำฯ ให้การรับรองแถลงการณ์ผู้นำเรื่องการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา ซึ่งส่งสัญญาณเรียกร้องทางการเมืองให้การเจรจามีความคืบหน้าโดยเน้นที่จะต้องมีความคืบหน้าในเรื่องสินค้าเกษตร และคำนึงถึงความสมดุลในเรื่องการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม การค้าบริการ และการอำนวยการความสะดวกทางการค้า
ผู้นำแสดงความชื่นชมการแสดงท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่ยืนยันการขจัดการอุดหนุนการส่งออก ภายในปี ค.ศ. 2010 ขจัดการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนทางการค้าภายใน 15 ปี และขจัดภาษีและโควต้าสินค้าเกษตร ภายใน 15 ปี และเห็นว่า สหภาพยุโรปจะต้องแสดงความยืดหยุ่นมากกว่านี้ เพื่อให้การเจรจาโดยรวมสามารถมีความคืบหน้าต่อไป
1.1.2 ผู้นำฯ ย้ำความสำคัญของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์เพื่อการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนภายในปี ค.ศ. 2010 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้วและปี ค.ศ. 2020 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา และให้ความเห็นชอบกับเอกสาร Busan Roadmap to Bogor Goals และสั่งการให้รัฐมนตรีเอเปคดำเนินมาตรการที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกรรมในภูมิภาค โดยผู้นำหลายท่านเห็นว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างสมาชิกเอเปค ทั้งในลักษณะทวิภาคีและลักษณะกลุ่ม สามารถช่วยนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายโบกอร์ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วจะนำไปสู่เขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาคได้ต่อไป
1.1.3 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนา และรับทราบข้อเสนอของประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีเรื่อง Economic Polarization ที่เสนอให้สมาชิกให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยให้เอเปคศึกษาเรื่องนี้ และรายงานผลให้ที่ประชุมผู้นำฯ ทราบในปีหน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวสนับสนุน โดยย้ำว่ามีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศ การให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นการสนับสนุนการแก้ปัญหาของสมาชิกกำลังพัฒนา
1.1.4 จีนไทเปเสนอโครงการ APEC Digital Opportunity Centre (ADOC) — Plus เพื่อเชื่อมโยงพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์กับโครงการลักษณะหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว โดยให้ใช้คำว่า OVOP (One Village One Product) แทนคำว่า OTOP เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย
1.2 ข้อเสนอแนะของ APEC Business Advisory Council (ABAC)
1.2.1 ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของ ABAC และสนับสนุนการสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน
1.2.2 นายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้สมาชิกเอเปคเร่งรัดการปฏิบัติตามโครงการ APEC Business Travel Card (ABTC)
1.3 ประเด็นด้านความมั่นคงของมนุษย์
1.3.1 ผู้นำฯ ประนามการก่อการร้ายทุกรูปแบบและเห็นพ้องจะดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยแก่ประชาชนและเศรษฐกิจของภูมิภาค ในการนี้ ผู้นำฯ ให้ความเห็นชอบกับข้อริเริ่มเอเปคด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ได้แก่ (1) APEC Initiative on the Handling of Radioactive Sources (2) APEC initiative on MANPADS and Aviation Security และ (3) Total Supply Chain Security in APEC นอกจากนี้ ผู้นำฯ ยังเห็นความสำคัญที่ควรจะต้องมี Interfaith Dialogue เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องมูลเหตุพื้นฐานที่อาจนำไปสู่การก่อการร้าย และแสวงหาแนวทางที่จะร่วมมือกันต่อไป
นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้ประเทศที่มีความพร้อมพิจารณาช่วยเหลือเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศที่ยังขาดความพร้อม นอกเหนือไปจากความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งควรมีความร่วมมือในการติดตามการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายอย่างมีระบบด้วย
1.3.2 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับปัญหาสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกและรับรอง APEC Initiative on Preparing for and mitigating Influenza Pandemic ซึ่งระบุแนวทางการเตรียมความพร้อมและ ควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก อาทิ การจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการระบาดและการทดสอบแผนปฏิบัติการดังกล่าว การเสริมสร้างเครือข่ายสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรค การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดมนุษย์แก่สาธารณชน รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยและผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงประสบการณ์การแก้ปัญหาที่ผ่านมาของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการ x — ray อาสาสมัครเฝ้าระวังระดับหมู่บ้านทั่วประเทศ รวมทั้งการบริจาคเงินจำนวน 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเรื่องไข้หวัดนก และสานต่อความร่วมมือในเรื่องนี้กับประเทศสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ทั้งนี้ ผู้นำฯ หลายประเทศสนับสนุนแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้มีเครือข่าย stockpiles ของยาต้านเชื้อไวรัส เพื่อลดความจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องมี stock ยา ซึ่งจะยิ่งทำให้ยาขาดแคลนและมีราคาแพง
1.3.3 ที่ประชุมฯ เห็นพ้องให้สมาชิกเอเปคร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันโดยส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายการค้าพลังงานข้ามพรมแดนและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน รวมทั้งสนับสนุนมาตรการประหยัดพลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน
1.3.4 ผู้นำฯ ย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อต่อต้านการทุจริตและเสริมสร้างความโปร่งใสทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ ผู้นำได้เรียกร้องให้สมาชิกเอเปคลงนามและให้สัตยาบัน United Nations Convention Against Corruption พร้อมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบ GFMIS ของไทย ซึ่งช่วยควบคุมให้การบริหารจัดการงบประมาณมีระบบที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นและทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างได้ประโยชน์สูงสุด
1.4 ผู้นำฯ ให้ความเห็นชอบกับการปฏิรูปองค์กรของเอเปคเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเห็นชอบกับการขึ้นค่าสมาชิกในปี ค.ศ. 2007 โดยในส่วนของไทยจะเพิ่มจากปีละ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นปีละ 58,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสั่งการให้รัฐมนตรีเอเปคพิจารณาเรื่องการปฏิรูปองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป
1.5 เรื่องอื่น ๆ
1.5.1 ผู้นำฯ เน้นความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่สมาชิกกำลังพัฒนาควบคู่ไปกับเป้าหมายในการเปิดตลาด โดยให้ความเห็นชอบกับมาตรการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของกิจกรรม Economic and Technical Cooperation (ECOTECH)
1.5.2 ผู้นำฯ ให้การสนับสนุนแผนงานความร่วมมือด้านวัฒนธรรมของเอเปค เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างประชาชนในภูมิภาค
1.5.3 ผู้นำฯ ให้ความเห็นชอบต่อผลการดำเนินงานของเอเปคในช่วงปีที่ผ่านมาและแนวทางการดำเนินงานในขั้นต่อไป
2. การกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม APEC CEO Summit
นายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์และร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันของที่ประชุม APEC CEO Summit เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีสาระสำคัญวิเคราะห์โอกาสและปัญหาในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการค้า การเคลื่อนย้ายทุน การอพยพย้ายถิ่น และการเผยแพร่ข่าวสารระหว่างประเทศที่รวดเร็ว โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นความสำคัญของการเจรจาระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และนโยบายรองรับการอพยพย้ายถิ่น รวมทั้งได้เชิญชวนบริษัทเอกชนร่วมลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์เพื่อการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคของไทย
3. ข้อสังเกต
3.1 การผลักดันการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบโดฮาเป็นประเด็นหลักของการประชุม อย่างไรก็ตาม แม้สมาชิกเอเปคไม่สามารถมีท่าทีร่วมกันในรายละเอียดให้มีข้อเสนอร่วมเกี่ยวกับประเด็นการเจรจา แต่เห็นพ้องที่จะต้องผลักดันสหภาพยุโรปให้มีท่าทีที่ยืดหยุ่นและให้ข้อเสนอที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เป็นอยู่ ในเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้การเจรจาสามารถมีความคืบหน้าและหาข้อสรุปได้ต่อไป
3.2 การประชุมในปีนี้สมาชิกเอเปคต่างเน้นให้ความสำคัญกับปัญหาไข้หวัดนก ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของไทยในเวทีต่าง ๆ และมาตรการแก้ไขปัญหาของไทย ซึ่งมีระบบที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับและไทยพร้อมแบ่งปันประสบการณ์
3.3 นอกจาก Busan Roadmap to Bogor Goals จะย้ำเป้าหมายการเปิดตลาดในปี ค.ศ. 2010/2020 แล้ว ยังจะกำหนดแผนงานในอนาคตของเอเปคซึ่งเน้นการอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจ การดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการภายในประเทศ และการเสริมสร้างขีดความสามารถที่ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกกำลังพัฒนา
3.4 การที่จีนไทเปเสนอโครงการเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ OTOP แต่ใช้ชื่อย่อมาจาก One Town One Product ซึ่งแม้ว่าไทยจะสนับสนุนโครงการนี้ แต่การใช้ชื่อย่อดังกล่าวมีผลให้นายกรัฐมนตรีต้องขอให้ผู้เสนอโครงการปรับแก้ชื่อย่อ โดยให้คำว่า OVOP หรือ One Village One Product แทน กรณีนี้ทำให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยควรเร่งรัดการจดลิขสิทธิ์การเรียกชื่อ OTOP ของไทยในประเทศต่าง ๆ โดยเร็ว
3.5 เจ้าภาพได้นำเสนอประเด็น Economic Polarization ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยเน้นให้ความสำคัญมาโดยตลอดว่า ในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดตลาดเอเปคจะต้องคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์ของประชาชนในสมาชิกกำลังพัฒนา นอกจากนี้เอเปคยอมรับมากขึ้นว่าความมั่นคงของมนุษย์มิได้หมายถึงการต่อต้านการก่อการร้ายเท่านั้น
3.6 สมาชิกเอเปคให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งรวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานชีวภาพที่ไทยมีส่วนผลักดันตลอดปีที่ผ่านมา
3.7 เจ้าภาพได้รับฉันทามติให้บรรจุเรื่องความพึงพอใจของสมาชิกเอเปคต่อความคืบหน้าในการประชุมหกฝ่ายเรื่องเกาหลีเหนือในปฏิญญาปูซานและแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 17
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. ประเด็นสำคัญของการหารือ
1.1 ประเด็นด้านการค้า
1.1.1 ผู้นำเศรษฐกิจเอเปคเห็นพ้องกันว่า เอเปคต้องมีบทบาทนำในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการค้าพหุภาคี และส่งสัญญาณทางการเมืองที่ชัดเจนเพื่อให้มีความคืบหน้าในการเจรจาการค้ารอบโดฮาภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก ซึ่งจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง ในเดือนธันวาคม ศกนี้ ในการนี้ ผู้นำฯ ให้การรับรองแถลงการณ์ผู้นำเรื่องการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา ซึ่งส่งสัญญาณเรียกร้องทางการเมืองให้การเจรจามีความคืบหน้าโดยเน้นที่จะต้องมีความคืบหน้าในเรื่องสินค้าเกษตร และคำนึงถึงความสมดุลในเรื่องการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม การค้าบริการ และการอำนวยการความสะดวกทางการค้า
ผู้นำแสดงความชื่นชมการแสดงท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่ยืนยันการขจัดการอุดหนุนการส่งออก ภายในปี ค.ศ. 2010 ขจัดการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนทางการค้าภายใน 15 ปี และขจัดภาษีและโควต้าสินค้าเกษตร ภายใน 15 ปี และเห็นว่า สหภาพยุโรปจะต้องแสดงความยืดหยุ่นมากกว่านี้ เพื่อให้การเจรจาโดยรวมสามารถมีความคืบหน้าต่อไป
1.1.2 ผู้นำฯ ย้ำความสำคัญของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์เพื่อการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนภายในปี ค.ศ. 2010 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้วและปี ค.ศ. 2020 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา และให้ความเห็นชอบกับเอกสาร Busan Roadmap to Bogor Goals และสั่งการให้รัฐมนตรีเอเปคดำเนินมาตรการที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกรรมในภูมิภาค โดยผู้นำหลายท่านเห็นว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างสมาชิกเอเปค ทั้งในลักษณะทวิภาคีและลักษณะกลุ่ม สามารถช่วยนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายโบกอร์ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วจะนำไปสู่เขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาคได้ต่อไป
1.1.3 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนา และรับทราบข้อเสนอของประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีเรื่อง Economic Polarization ที่เสนอให้สมาชิกให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยให้เอเปคศึกษาเรื่องนี้ และรายงานผลให้ที่ประชุมผู้นำฯ ทราบในปีหน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวสนับสนุน โดยย้ำว่ามีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศ การให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นการสนับสนุนการแก้ปัญหาของสมาชิกกำลังพัฒนา
1.1.4 จีนไทเปเสนอโครงการ APEC Digital Opportunity Centre (ADOC) — Plus เพื่อเชื่อมโยงพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์กับโครงการลักษณะหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว โดยให้ใช้คำว่า OVOP (One Village One Product) แทนคำว่า OTOP เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย
1.2 ข้อเสนอแนะของ APEC Business Advisory Council (ABAC)
1.2.1 ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของ ABAC และสนับสนุนการสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน
1.2.2 นายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้สมาชิกเอเปคเร่งรัดการปฏิบัติตามโครงการ APEC Business Travel Card (ABTC)
1.3 ประเด็นด้านความมั่นคงของมนุษย์
1.3.1 ผู้นำฯ ประนามการก่อการร้ายทุกรูปแบบและเห็นพ้องจะดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยแก่ประชาชนและเศรษฐกิจของภูมิภาค ในการนี้ ผู้นำฯ ให้ความเห็นชอบกับข้อริเริ่มเอเปคด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ได้แก่ (1) APEC Initiative on the Handling of Radioactive Sources (2) APEC initiative on MANPADS and Aviation Security และ (3) Total Supply Chain Security in APEC นอกจากนี้ ผู้นำฯ ยังเห็นความสำคัญที่ควรจะต้องมี Interfaith Dialogue เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องมูลเหตุพื้นฐานที่อาจนำไปสู่การก่อการร้าย และแสวงหาแนวทางที่จะร่วมมือกันต่อไป
นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้ประเทศที่มีความพร้อมพิจารณาช่วยเหลือเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศที่ยังขาดความพร้อม นอกเหนือไปจากความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งควรมีความร่วมมือในการติดตามการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายอย่างมีระบบด้วย
1.3.2 ที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญกับปัญหาสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกและรับรอง APEC Initiative on Preparing for and mitigating Influenza Pandemic ซึ่งระบุแนวทางการเตรียมความพร้อมและ ควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก อาทิ การจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการระบาดและการทดสอบแผนปฏิบัติการดังกล่าว การเสริมสร้างเครือข่ายสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรค การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดมนุษย์แก่สาธารณชน รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยและผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงประสบการณ์การแก้ปัญหาที่ผ่านมาของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการ x — ray อาสาสมัครเฝ้าระวังระดับหมู่บ้านทั่วประเทศ รวมทั้งการบริจาคเงินจำนวน 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเรื่องไข้หวัดนก และสานต่อความร่วมมือในเรื่องนี้กับประเทศสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ทั้งนี้ ผู้นำฯ หลายประเทศสนับสนุนแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้มีเครือข่าย stockpiles ของยาต้านเชื้อไวรัส เพื่อลดความจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องมี stock ยา ซึ่งจะยิ่งทำให้ยาขาดแคลนและมีราคาแพง
1.3.3 ที่ประชุมฯ เห็นพ้องให้สมาชิกเอเปคร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันโดยส่งเสริมการลงทุนเพื่อขยายการค้าพลังงานข้ามพรมแดนและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน รวมทั้งสนับสนุนมาตรการประหยัดพลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน
1.3.4 ผู้นำฯ ย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อต่อต้านการทุจริตและเสริมสร้างความโปร่งใสทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ ผู้นำได้เรียกร้องให้สมาชิกเอเปคลงนามและให้สัตยาบัน United Nations Convention Against Corruption พร้อมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบ GFMIS ของไทย ซึ่งช่วยควบคุมให้การบริหารจัดการงบประมาณมีระบบที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นและทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างได้ประโยชน์สูงสุด
1.4 ผู้นำฯ ให้ความเห็นชอบกับการปฏิรูปองค์กรของเอเปคเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเห็นชอบกับการขึ้นค่าสมาชิกในปี ค.ศ. 2007 โดยในส่วนของไทยจะเพิ่มจากปีละ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นปีละ 58,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสั่งการให้รัฐมนตรีเอเปคพิจารณาเรื่องการปฏิรูปองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป
1.5 เรื่องอื่น ๆ
1.5.1 ผู้นำฯ เน้นความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่สมาชิกกำลังพัฒนาควบคู่ไปกับเป้าหมายในการเปิดตลาด โดยให้ความเห็นชอบกับมาตรการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของกิจกรรม Economic and Technical Cooperation (ECOTECH)
1.5.2 ผู้นำฯ ให้การสนับสนุนแผนงานความร่วมมือด้านวัฒนธรรมของเอเปค เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างประชาชนในภูมิภาค
1.5.3 ผู้นำฯ ให้ความเห็นชอบต่อผลการดำเนินงานของเอเปคในช่วงปีที่ผ่านมาและแนวทางการดำเนินงานในขั้นต่อไป
2. การกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม APEC CEO Summit
นายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์และร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันของที่ประชุม APEC CEO Summit เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีสาระสำคัญวิเคราะห์โอกาสและปัญหาในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการค้า การเคลื่อนย้ายทุน การอพยพย้ายถิ่น และการเผยแพร่ข่าวสารระหว่างประเทศที่รวดเร็ว โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นความสำคัญของการเจรจาระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ที่ฮ่องกง การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และนโยบายรองรับการอพยพย้ายถิ่น รวมทั้งได้เชิญชวนบริษัทเอกชนร่วมลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์เพื่อการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคของไทย
3. ข้อสังเกต
3.1 การผลักดันการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบโดฮาเป็นประเด็นหลักของการประชุม อย่างไรก็ตาม แม้สมาชิกเอเปคไม่สามารถมีท่าทีร่วมกันในรายละเอียดให้มีข้อเสนอร่วมเกี่ยวกับประเด็นการเจรจา แต่เห็นพ้องที่จะต้องผลักดันสหภาพยุโรปให้มีท่าทีที่ยืดหยุ่นและให้ข้อเสนอที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เป็นอยู่ ในเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้การเจรจาสามารถมีความคืบหน้าและหาข้อสรุปได้ต่อไป
3.2 การประชุมในปีนี้สมาชิกเอเปคต่างเน้นให้ความสำคัญกับปัญหาไข้หวัดนก ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของไทยในเวทีต่าง ๆ และมาตรการแก้ไขปัญหาของไทย ซึ่งมีระบบที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับและไทยพร้อมแบ่งปันประสบการณ์
3.3 นอกจาก Busan Roadmap to Bogor Goals จะย้ำเป้าหมายการเปิดตลาดในปี ค.ศ. 2010/2020 แล้ว ยังจะกำหนดแผนงานในอนาคตของเอเปคซึ่งเน้นการอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจ การดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการภายในประเทศ และการเสริมสร้างขีดความสามารถที่ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกกำลังพัฒนา
3.4 การที่จีนไทเปเสนอโครงการเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ OTOP แต่ใช้ชื่อย่อมาจาก One Town One Product ซึ่งแม้ว่าไทยจะสนับสนุนโครงการนี้ แต่การใช้ชื่อย่อดังกล่าวมีผลให้นายกรัฐมนตรีต้องขอให้ผู้เสนอโครงการปรับแก้ชื่อย่อ โดยให้คำว่า OVOP หรือ One Village One Product แทน กรณีนี้ทำให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยควรเร่งรัดการจดลิขสิทธิ์การเรียกชื่อ OTOP ของไทยในประเทศต่าง ๆ โดยเร็ว
3.5 เจ้าภาพได้นำเสนอประเด็น Economic Polarization ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยเน้นให้ความสำคัญมาโดยตลอดว่า ในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดตลาดเอเปคจะต้องคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์ของประชาชนในสมาชิกกำลังพัฒนา นอกจากนี้เอเปคยอมรับมากขึ้นว่าความมั่นคงของมนุษย์มิได้หมายถึงการต่อต้านการก่อการร้ายเท่านั้น
3.6 สมาชิกเอเปคให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งรวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานชีวภาพที่ไทยมีส่วนผลักดันตลอดปีที่ผ่านมา
3.7 เจ้าภาพได้รับฉันทามติให้บรรจุเรื่องความพึงพอใจของสมาชิกเอเปคต่อความคืบหน้าในการประชุมหกฝ่ายเรื่องเกาหลีเหนือในปฏิญญาปูซานและแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 17
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--