ทำเนียบรัฐบาล--11 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวาระแห่งชาติสำหรับการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยให้หารือกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี คณะรัฐมนตรีเห็นควรกำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ โดยดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำความเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการของระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วมหลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า โดยให้
1) หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผน โครงการเพื่อปรับปรุงงานในความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว และรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรวมเป็นรายงานเสนอต่อรัฐสภาต่อไป โดยให้สำนักงาน ก.พ. ให้คำแนะนำ ประสานงานและติดตามประเมินผล
2) กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานกลางทำความเข้าใจ รณรงค์ สร้างความตระหนักให้คนไทยเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการประสานการทำงานร่วมกันของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนระบบบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของประเทศไทย
3) เร่งรัดให้มีการกำหนดแนวทาง วิธีการและขอบเขตการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องโครงการสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง
2. เร่งรัดการพิจารณาออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรสำคัญในการประสานความคิดและสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เพื่อช่วยกันสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป
3. ประกาศใช้แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ เพื่อพลิกฟื้นให้ภาครัฐเป็นพลังและอาวุธสำคัญในการนำชัยชนะมาสู่ประเทศ เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืนในเวทีโลก ตามวาระที่คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
4. เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเข้าถึงได้ง่าย
5. ส่งเสริมและกำกับให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผนการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในระบบราชการ และรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรวมเป็นรายงานเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
6. สนับสนุนคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องต่อไปนี้
1) การสร้างแนวร่วม โดยให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องต่อประชาชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมพลังประชาชนและสื่อมวลชนที่เป็นกลางให้เป็นพลังในการต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น โดยมีบทบาทในการเฝ้าติดตาม ศึกษา เปิดเผยข้อมูลหน่วยงานที่มีการร้องเรียนเป็นพิเศษ และรณรงค์ต่อต้านปัจเจกชนและเอกชนที่มีส่วนร่วมในการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นการกำหนดบทลงโทษทางสังคม
2) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคอรัปชั่นและค้นหาวิธีป้องกันและปราบปรามที่ได้ผลอย่างจริงจัง
3) การกำหนดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งกรรมการพิเศษในการสอบสวนการทุจริตคอรัปชั่นกรณีที่เป็นเรื่องอื้อฉาวและประชาชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง
7. ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน ส่งเสริม สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยอาศัยกลไกตลาด และกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค ป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งเสริมให้มีมาตรฐานที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดกลไกการบริหารกิจการธุรกิจที่ดี ดังนี้
1) การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจให้ทันสมัย เป็นธรรม และมีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ
2) การกำหนดเงื่อนไขและกติกาเกี่ยวกับความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทมหาชนต่อผู้ถือหุ้นและต่อสังคม
3) การสนับสนุนองค์กรกลางอิสระและองค์กรวิชาชีพให้มีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันและยกระดับการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
4) การส่งเสริมพัฒนาองค์กรอิสระให้มีความเข้มแข็งและศักยภาพในอันที่จะทำหน้าที่พิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้ถือหุ้นรายย่อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 พฤษภาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวาระแห่งชาติสำหรับการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยให้หารือกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี คณะรัฐมนตรีเห็นควรกำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ โดยดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำความเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการของระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วมหลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า โดยให้
1) หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผน โครงการเพื่อปรับปรุงงานในความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว และรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรวมเป็นรายงานเสนอต่อรัฐสภาต่อไป โดยให้สำนักงาน ก.พ. ให้คำแนะนำ ประสานงานและติดตามประเมินผล
2) กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานกลางทำความเข้าใจ รณรงค์ สร้างความตระหนักให้คนไทยเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการประสานการทำงานร่วมกันของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนระบบบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของประเทศไทย
3) เร่งรัดให้มีการกำหนดแนวทาง วิธีการและขอบเขตการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องโครงการสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง
2. เร่งรัดการพิจารณาออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรสำคัญในการประสานความคิดและสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เพื่อช่วยกันสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป
3. ประกาศใช้แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ เพื่อพลิกฟื้นให้ภาครัฐเป็นพลังและอาวุธสำคัญในการนำชัยชนะมาสู่ประเทศ เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืนในเวทีโลก ตามวาระที่คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
4. เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเข้าถึงได้ง่าย
5. ส่งเสริมและกำกับให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดแผนการสร้างความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในระบบราชการ และรายงานผลการดำเนินการในรอบปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรวมเป็นรายงานเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
6. สนับสนุนคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องต่อไปนี้
1) การสร้างแนวร่วม โดยให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องต่อประชาชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมพลังประชาชนและสื่อมวลชนที่เป็นกลางให้เป็นพลังในการต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น โดยมีบทบาทในการเฝ้าติดตาม ศึกษา เปิดเผยข้อมูลหน่วยงานที่มีการร้องเรียนเป็นพิเศษ และรณรงค์ต่อต้านปัจเจกชนและเอกชนที่มีส่วนร่วมในการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นการกำหนดบทลงโทษทางสังคม
2) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคอรัปชั่นและค้นหาวิธีป้องกันและปราบปรามที่ได้ผลอย่างจริงจัง
3) การกำหนดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งกรรมการพิเศษในการสอบสวนการทุจริตคอรัปชั่นกรณีที่เป็นเรื่องอื้อฉาวและประชาชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง
7. ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน ส่งเสริม สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยอาศัยกลไกตลาด และกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค ป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งเสริมให้มีมาตรฐานที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดกลไกการบริหารกิจการธุรกิจที่ดี ดังนี้
1) การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจให้ทันสมัย เป็นธรรม และมีระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ
2) การกำหนดเงื่อนไขและกติกาเกี่ยวกับความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทมหาชนต่อผู้ถือหุ้นและต่อสังคม
3) การสนับสนุนองค์กรกลางอิสระและองค์กรวิชาชีพให้มีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันและยกระดับการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
4) การส่งเสริมพัฒนาองค์กรอิสระให้มีความเข้มแข็งและศักยภาพในอันที่จะทำหน้าที่พิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้ถือหุ้นรายย่อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 พฤษภาคม 2542--