ทำเนียบรัฐบาล--28 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ดำเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศและหอบังคับการบิน พร้อมอาคารสำนักงาน ณ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 วงเงินลงทุน รวมเท่ากับ 1,851.90 ล้านบาท โดยจะพิจารณาใช้เงินกู้ภายในประเทศให้มากที่สุด และใช้เงินกู้จากต่างประเทศเท่าที่จำเป็น โดยกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาผ่อนชำระคืนยาวพอสมควร และค้ำประกันเงินกู้ (ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องค้ำประกัน หากฐานะของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ในขณะนั้น ยังดีอยู่เช่นในปัจจุบัน) ควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ของโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป้าหมาย ก่อสร้างหอบังคับการบินและอาคารสถานที่ทำงาน (ATC Complex) จัดหาและติดตั้งระบบ/อุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศ
2. ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 4 ปี (ปีงบประมาณ 2543 - 2546)
3. เงินลงทุนของโครงการ โครงการนี้จะใช้เงินกู้จากต่างประเทศประมาณร้อยละ 85 หรือจำนวน 1,558.033 ล้านบาทและเงินกู้ภายในประเทศอีกประมาณร้อยละ 15 หรือ 274.947 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,832.98 ล้านบาท โดยมีแผนการจ่ายเงินปี 2543 109.760 ล้านบาท ปี 2544 357.320 ล้านบาท ปี 2545 931.400 ล้านบาท และปี 2546 434.500 ล้านบาท
4. ผลตอบแทนการลงทุน การดำเนินโครงการดังกล่าวจะมีผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) อยู่ในระดับ 13.37% ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ การดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในอันที่จะพัฒนาการขนส่งทางอากาศให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคนี้ และโครงการดังกล่าวมีแผนที่จะนำอุปกรณ์บางส่วนของระบบ CNS/ATM เข้าติดตั้งใช้งานควบคู่กับระบบควบคุมการจราจรทางอากาศในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
นอกจากวงเงินลงทุนจำนวน 1,832.98 ล้านบาท แล้ว โครงการดังกล่าวยังได้รับงบลงทุนประจำปี 2541 - 2542 จากการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นค่าสำรองสำหรับค่าสำรวจออกแบบอาคาร ATCComplex ณ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 รวมเป็นเงิน 18.92 ล้านบาท โดยแยกเป็นปี 2541 เป็นเงิน 2.64 ล้านบาท และในปี2542 เป็นเงิน 16.28 ล้านบาท ดังนั้น วงเงินลงทุนของโครงการโดยรวมที่ขออนุมัติเท่ากับ 1,851.90 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ธันวาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ดำเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศและหอบังคับการบิน พร้อมอาคารสำนักงาน ณ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 วงเงินลงทุน รวมเท่ากับ 1,851.90 ล้านบาท โดยจะพิจารณาใช้เงินกู้ภายในประเทศให้มากที่สุด และใช้เงินกู้จากต่างประเทศเท่าที่จำเป็น โดยกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาผ่อนชำระคืนยาวพอสมควร และค้ำประกันเงินกู้ (ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องค้ำประกัน หากฐานะของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ในขณะนั้น ยังดีอยู่เช่นในปัจจุบัน) ควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ของโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (หนองงูเห่า) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป้าหมาย ก่อสร้างหอบังคับการบินและอาคารสถานที่ทำงาน (ATC Complex) จัดหาและติดตั้งระบบ/อุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศ
2. ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 4 ปี (ปีงบประมาณ 2543 - 2546)
3. เงินลงทุนของโครงการ โครงการนี้จะใช้เงินกู้จากต่างประเทศประมาณร้อยละ 85 หรือจำนวน 1,558.033 ล้านบาทและเงินกู้ภายในประเทศอีกประมาณร้อยละ 15 หรือ 274.947 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,832.98 ล้านบาท โดยมีแผนการจ่ายเงินปี 2543 109.760 ล้านบาท ปี 2544 357.320 ล้านบาท ปี 2545 931.400 ล้านบาท และปี 2546 434.500 ล้านบาท
4. ผลตอบแทนการลงทุน การดำเนินโครงการดังกล่าวจะมีผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) อยู่ในระดับ 13.37% ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ การดำเนินการตามโครงการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ในอันที่จะพัฒนาการขนส่งทางอากาศให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคนี้ และโครงการดังกล่าวมีแผนที่จะนำอุปกรณ์บางส่วนของระบบ CNS/ATM เข้าติดตั้งใช้งานควบคู่กับระบบควบคุมการจราจรทางอากาศในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
นอกจากวงเงินลงทุนจำนวน 1,832.98 ล้านบาท แล้ว โครงการดังกล่าวยังได้รับงบลงทุนประจำปี 2541 - 2542 จากการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นค่าสำรองสำหรับค่าสำรวจออกแบบอาคาร ATCComplex ณ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 รวมเป็นเงิน 18.92 ล้านบาท โดยแยกเป็นปี 2541 เป็นเงิน 2.64 ล้านบาท และในปี2542 เป็นเงิน 16.28 ล้านบาท ดังนั้น วงเงินลงทุนของโครงการโดยรวมที่ขออนุมัติเท่ากับ 1,851.90 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ธันวาคม 2542--