คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย รายงานการจัดตั้งวิทยาเขต วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 โดยได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครและประชาชนมาอย่างต่อเนื่องในหลายหลักสูตร และเนื่องจากแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้พยายามพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติ โดยขอความร่วมมือกับองค์กรหรือสถาบันที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
1. ประเทศญี่ปุ่น จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือมาช่วยค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจรัฐบาลญี่ปุ่นได้ฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการค้นหาและกู้ภัยให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและได้มอบเครื่องมือ อุปกรณ์ในการค้าหาและกู้ภัยให้วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้ใช้ฝึกอบรมทีมค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดต่าง ๆ หลังจากนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีโอกาสต้อนรับปลัดทบวงการบริหารอัคคีภัยและสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารของญี่ปุ่น (Fire and Disaster Management Agency, Ministry of Internal Affairs and Communication : FDMA) โดยได้ลงนามร่วมกับอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการที่จะสนับสนุนทางวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาในการจัดทำหลักสูตร คู่มือการฝึกอบรม และจัดส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมในการฝึกอบรมประจำอยู่ที่วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2. ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี ได้มีการประสานความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของประเทศเยอรมนี (Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit : GTZ) ให้การสนับสนุนเสริมสร้างสมรรถนะการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยจะขอรับการสนับสนุนการพัฒนาด้านหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติขนาดใหญ่และการผลิตวิทยากร รวมทั้งคู่มือในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ และดินโคลนถล่ม เป็นต้น
3. ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center : ADPC) ในการสนับสนุนทางวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยจัดฝึกอบรมวิทยากรและสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมให้กับวิทยาลัป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชี้แจงว่าในปัจจุบันภัยพิบัติประเภทต่าง ๆนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการให้บริการทางวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครและประชาชน รวมทั้งเป็นหน่วยงานบูรณาการเชื่อมโยงองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ได้ครอบคลุมกว้างขวางยิ่งขึ้น จึงดำเนินการจัดตั้งวิทยาเขต วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ จำวน 6 แห่ง ดังนี้
1. วิทยาเขตปราจีนบุรี ให้การฝึกอบรมเน้นหลักสูตรการระงับอัคคีภัย การกู้ภัย อาคารถล่ม การป้องกันและบรรเทาภัยจาการเคมีและวัตถุอันตราย
2. วิทยาเขตเชียงใหม่ ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการเตรียมความพร้อมความจากประชาชนภัยแผ่นดินไหว อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม
3. วิทยาเขตขอนแก่น ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการจัดการอุทกภยและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภาวะความแห้งแล้ง
4. วิทยาเขตสงขลา ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการเตรียมความพร้อมประชาชนจากอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม และการกู้ภัยทางน้ำ
5. วิทยาเขตภูเก็ต ให้การฝึกอบรมเน้นหนักการเตรียมความพร้อมประชาชนจากภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ
6. วิทยาเขตพิษณุโลก ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการเตรียมความพร้อมประชาชนจากอุทกภัย วาตภัยและโคนถล่ม
ทั้งนี้ วิทยาเขตทั้ง 6 แห่งดังกล่าวข้างต้น จะจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการระงับอัคคีภัย หลักสูตรการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย และหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน เป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัคร และประชาชน โดยจะเชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิเช่น ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ และสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็นต้น ไปบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยคาดหวังว่า ประชาชนจะได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเตรียมความพร้อมในการป้องกันตนเอง และช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเป็นระบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--
1. ประเทศญี่ปุ่น จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือมาช่วยค้นหาและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจรัฐบาลญี่ปุ่นได้ฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการค้นหาและกู้ภัยให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและได้มอบเครื่องมือ อุปกรณ์ในการค้าหาและกู้ภัยให้วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้ใช้ฝึกอบรมทีมค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดต่าง ๆ หลังจากนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีโอกาสต้อนรับปลัดทบวงการบริหารอัคคีภัยและสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารของญี่ปุ่น (Fire and Disaster Management Agency, Ministry of Internal Affairs and Communication : FDMA) โดยได้ลงนามร่วมกับอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการที่จะสนับสนุนทางวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาในการจัดทำหลักสูตร คู่มือการฝึกอบรม และจัดส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมในการฝึกอบรมประจำอยู่ที่วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2. ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี ได้มีการประสานความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของประเทศเยอรมนี (Gesellschaft fur Technische Zusammenarbeit : GTZ) ให้การสนับสนุนเสริมสร้างสมรรถนะการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยจะขอรับการสนับสนุนการพัฒนาด้านหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติขนาดใหญ่และการผลิตวิทยากร รวมทั้งคู่มือในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ และดินโคลนถล่ม เป็นต้น
3. ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center : ADPC) ในการสนับสนุนทางวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยจัดฝึกอบรมวิทยากรและสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมให้กับวิทยาลัป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชี้แจงว่าในปัจจุบันภัยพิบัติประเภทต่าง ๆนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการให้บริการทางวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครและประชาชน รวมทั้งเป็นหน่วยงานบูรณาการเชื่อมโยงองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ได้ครอบคลุมกว้างขวางยิ่งขึ้น จึงดำเนินการจัดตั้งวิทยาเขต วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ จำวน 6 แห่ง ดังนี้
1. วิทยาเขตปราจีนบุรี ให้การฝึกอบรมเน้นหลักสูตรการระงับอัคคีภัย การกู้ภัย อาคารถล่ม การป้องกันและบรรเทาภัยจาการเคมีและวัตถุอันตราย
2. วิทยาเขตเชียงใหม่ ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการเตรียมความพร้อมความจากประชาชนภัยแผ่นดินไหว อุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม
3. วิทยาเขตขอนแก่น ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการจัดการอุทกภยและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภาวะความแห้งแล้ง
4. วิทยาเขตสงขลา ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการเตรียมความพร้อมประชาชนจากอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม และการกู้ภัยทางน้ำ
5. วิทยาเขตภูเก็ต ให้การฝึกอบรมเน้นหนักการเตรียมความพร้อมประชาชนจากภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ
6. วิทยาเขตพิษณุโลก ให้การฝึกอบรมเน้นหนักหลักสูตรการเตรียมความพร้อมประชาชนจากอุทกภัย วาตภัยและโคนถล่ม
ทั้งนี้ วิทยาเขตทั้ง 6 แห่งดังกล่าวข้างต้น จะจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการระงับอัคคีภัย หลักสูตรการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย และหลักสูตรการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน เป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัคร และประชาชน โดยจะเชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความชำนาญเฉพาะด้าน อาทิเช่น ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ และสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็นต้น ไปบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยคาดหวังว่า ประชาชนจะได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเตรียมความพร้อมในการป้องกันตนเอง และช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเป็นระบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กันยายน 2548--จบ--