ทำเนียบรัฐบาล--6 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า เนื่องจากระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2535 มิได้แยกประเภทการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศไว้อย่างชัดเจนทำให้ไม่สามารถใช้บังคับกับองค์การเอกชนต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินงานได้อย่างทั่วถึง และมิได้กำหนดให้องค์การเอกชนที่ประสงค์จะเข้ามาดำเนินงานจัดประชุมสัมมนา หรือมิได้จัดประชุมสัมมนาเองแต่ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรืออื่น ๆ ในการจัดประชุมสัมมนายื่นขออนุญาตในการเข้ามาดำเนินงานดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อความมั่นคงภายในประเทศ จึงควรปรับปรุงแก้ไขโดยแยกประเภทของการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดให้มีการยื่นขออนุญาตเพื่อการดำเนินงานจัดประชุมสัมมนาขององค์การเอกชนต่างประเทศ และโดยที่ได้มีการโอนงานควบคุมการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศมาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงสมควรเปลี่ยนชื่อระเบียบและหน่วยงานที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกันด้วย
ร่างระเบียบดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ
1. ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2535
2. ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือรองปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ผู้ได้รับมอบหมายเป็นประธาน มีหน้าที่พิจารณาอนุญาตการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ และพิจารณาอนุญาตให้องค์การเอกชนต่างประเทศตั้งสำนักงานในประเทศไทย รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ
3. แยกประเภทการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศให้เกิดความชัดเจนขึ้น และกำหนดให้กรณีที่องค์การเอกชนต่างประเทศที่ประสงค์จะขอเข้ามาดำเนินงานจัดประชุมสัมมนา หรือไม่ได้จัดประชุมสัมมนาเองแต่ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรืออื่น ๆ ในการจัดประชุมสัมมนา ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ
4. กำหนดให้องค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานตามระเบียบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข หรือข้อปฏิบัติที่คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศกำหนด
5. คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานให้กับองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการฯ แล้ว ต้องได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวก่อนจึงจะทำได้6. กรณีที่องค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงาน กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือมีการดำเนินงานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ คณะกรรมการฯ อาจมีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดไว้เสียก่อนก็ได้ หากยังไม่ดำเนินการให้ถูกต้องคณะกรรมการฯ มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินงาน หรือเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งให้คนต่างด้าวที่เข้ามาดำเนินงานให้กับองค์การเอกชนต่างประเทศออกจากประเทศไทยหรือยุติการดำเนินงานใด ๆ ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า เนื่องจากระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2535 มิได้แยกประเภทการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศไว้อย่างชัดเจนทำให้ไม่สามารถใช้บังคับกับองค์การเอกชนต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินงานได้อย่างทั่วถึง และมิได้กำหนดให้องค์การเอกชนที่ประสงค์จะเข้ามาดำเนินงานจัดประชุมสัมมนา หรือมิได้จัดประชุมสัมมนาเองแต่ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรืออื่น ๆ ในการจัดประชุมสัมมนายื่นขออนุญาตในการเข้ามาดำเนินงานดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อความมั่นคงภายในประเทศ จึงควรปรับปรุงแก้ไขโดยแยกประเภทของการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดให้มีการยื่นขออนุญาตเพื่อการดำเนินงานจัดประชุมสัมมนาขององค์การเอกชนต่างประเทศ และโดยที่ได้มีการโอนงานควบคุมการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศมาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงสมควรเปลี่ยนชื่อระเบียบและหน่วยงานที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกันด้วย
ร่างระเบียบดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ
1. ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2535
2. ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือรองปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ผู้ได้รับมอบหมายเป็นประธาน มีหน้าที่พิจารณาอนุญาตการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ และพิจารณาอนุญาตให้องค์การเอกชนต่างประเทศตั้งสำนักงานในประเทศไทย รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ
3. แยกประเภทการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศให้เกิดความชัดเจนขึ้น และกำหนดให้กรณีที่องค์การเอกชนต่างประเทศที่ประสงค์จะขอเข้ามาดำเนินงานจัดประชุมสัมมนา หรือไม่ได้จัดประชุมสัมมนาเองแต่ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรืออื่น ๆ ในการจัดประชุมสัมมนา ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ
4. กำหนดให้องค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานตามระเบียบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข หรือข้อปฏิบัติที่คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศกำหนด
5. คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานให้กับองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการฯ แล้ว ต้องได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวก่อนจึงจะทำได้6. กรณีที่องค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงาน กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือมีการดำเนินงานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ คณะกรรมการฯ อาจมีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดไว้เสียก่อนก็ได้ หากยังไม่ดำเนินการให้ถูกต้องคณะกรรมการฯ มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินงาน หรือเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งให้คนต่างด้าวที่เข้ามาดำเนินงานให้กับองค์การเอกชนต่างประเทศออกจากประเทศไทยหรือยุติการดำเนินงานใด ๆ ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 พฤษภาคม 2541--