ทำเนียบรัฐบาล--21 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคมให้ความเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในมาตราต่าง ๆ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้
1.1 เพิ่มมาตรา 1 (14) นิยามคำว่า "การกระทำชำเรา" โดยขยายขอบเขตของการกระทำชำเราให้กว้างขึ้นโดยจะครอบคลุมทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย
1.2 แก้ไขปรับปรุงมาตรา 276 และมาตรา 277 กรณีข่มขืนกระทำชำเรา โดยขยายขอบเขตของฐานความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และกระทำชำเราให้มีความหมายรวมถึงการกระทำแก่ชาย หรือแก่เด็กชายด้วย
1.3 เพิ่มมาตรา 287 ทวิ โดยให้ผู้กระทำให้ปรากฏภาพหรือเสียงของเด็กลงในวัตถุหรือสิ่งของลามกต้องรับโทษหนักขึ้น ตลอดจนให้มีการลงโทษผู้มีวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวในความครอบครอง
2. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้
2.1 เพิ่มมาตรา 133 ทวิ และมาตรา 172 ตรี เพื่อให้มีวิธีสอบปากคำในชั้นสอบสวน และการสืบพยานในชั้นศาลที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 2.2 แก้ไขมาตรา 237 ทวิ โดยขยายขอบเขตการสืบพยานหลักฐานไว้ก่อน กรณีที่พยานเป็นเด็กที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือมีเหตุจำเป็นจนอาจไม่ได้เด็กนั้นมาสืบพยานในชั้นศาล โดยที่กรณีเด็กเป็นผู้เสียหายหรือพยานมักถูกข่มขู่จากผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีอิทธิพล หรือเป็นเด็กเร่ร่อนไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน หรือเป็นเด็กชาวเขา เด็กซึ่งมีที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทยหรือผู้ปกครองได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนไม่ติดใจเอาความต่อไปทำให้ยากแก่การที่จะนำตัวมาสืบพยานต่อหน้าศาลในชั้นพิจารณา
ทั้งนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพิจารณาคดีความผิดทางเพศยังมีวิธีการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ได้กำหนดกระบวนการหรือวิธีการไว้แล้ว หรือต้องประสบกับปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยคณะทำงานศึกษาและเสนอแนะการดำเนินงานเกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีความผิดทางเพศ มีหน้าที่ศึกษาข้อเท็จจริงที่เป็นสภาพปัญหาของกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีความผิดทางเพศ แล้วนำมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาปรับปรุง กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติให้ชัดเจน รัดกุมยิ่งขึ้นดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 19 พฤษภาคม 2540--
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคมให้ความเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในมาตราต่าง ๆ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้
1.1 เพิ่มมาตรา 1 (14) นิยามคำว่า "การกระทำชำเรา" โดยขยายขอบเขตของการกระทำชำเราให้กว้างขึ้นโดยจะครอบคลุมทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย
1.2 แก้ไขปรับปรุงมาตรา 276 และมาตรา 277 กรณีข่มขืนกระทำชำเรา โดยขยายขอบเขตของฐานความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และกระทำชำเราให้มีความหมายรวมถึงการกระทำแก่ชาย หรือแก่เด็กชายด้วย
1.3 เพิ่มมาตรา 287 ทวิ โดยให้ผู้กระทำให้ปรากฏภาพหรือเสียงของเด็กลงในวัตถุหรือสิ่งของลามกต้องรับโทษหนักขึ้น ตลอดจนให้มีการลงโทษผู้มีวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวในความครอบครอง
2. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้
2.1 เพิ่มมาตรา 133 ทวิ และมาตรา 172 ตรี เพื่อให้มีวิธีสอบปากคำในชั้นสอบสวน และการสืบพยานในชั้นศาลที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 2.2 แก้ไขมาตรา 237 ทวิ โดยขยายขอบเขตการสืบพยานหลักฐานไว้ก่อน กรณีที่พยานเป็นเด็กที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือมีเหตุจำเป็นจนอาจไม่ได้เด็กนั้นมาสืบพยานในชั้นศาล โดยที่กรณีเด็กเป็นผู้เสียหายหรือพยานมักถูกข่มขู่จากผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีอิทธิพล หรือเป็นเด็กเร่ร่อนไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน หรือเป็นเด็กชาวเขา เด็กซึ่งมีที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทยหรือผู้ปกครองได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนไม่ติดใจเอาความต่อไปทำให้ยากแก่การที่จะนำตัวมาสืบพยานต่อหน้าศาลในชั้นพิจารณา
ทั้งนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพิจารณาคดีความผิดทางเพศยังมีวิธีการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ได้กำหนดกระบวนการหรือวิธีการไว้แล้ว หรือต้องประสบกับปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยคณะทำงานศึกษาและเสนอแนะการดำเนินงานเกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีความผิดทางเพศ มีหน้าที่ศึกษาข้อเท็จจริงที่เป็นสภาพปัญหาของกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีความผิดทางเพศ แล้วนำมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาปรับปรุง กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติให้ชัดเจน รัดกุมยิ่งขึ้นดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 19 พฤษภาคม 2540--