ทำเนียบรัฐบาล--1 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. กระทรวงการคลังจะกู้เงิน โดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทที่เรียกว่า "พันธบัตรตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 2" มีจำนวน 3,000,000,000 บาท (สามพันล้านบาทถ้วน)
2. พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกให้ในนามผู้ทรงพันธบัตร และจดทะเบียนออกจำหน่ายตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละ 1,000,000 บาท
3. พันธบัตรรัฐบาลนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542
4. พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนเมื่อครบ 10 ปี นับแต่วันออกพันธบัตรซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2552หากวันที่ชำระคืนต้นเงินตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรเป็นวันเปิดทำการถัดไป
ในกรณีที่กระทรวงการคลังขายหุ้นบุริมสิทธิ์หรือหุ้นสามัญที่ได้แปลงสภาพมาจากหุ้นบุริมสิทธิ์ให้กับเอกชน กระทรวงการคลังมีสิทธิขอไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลก่อนครบกำหนดเป็นจำนวนเท่ากัน หากผู้เข้าร่วมโครงการได้ขยายพันธบัตรรัฐบาลที่ได้รับตามโครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไปแล้ว กระทรวงการคลังจะขอซื้อพันธบัตรจำนวนดังกล่าวคืนจากผู้ถือโดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.00 ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร การชำระดอกเบี้ยจะจ่ายชำระปีละ 1 ครั้ง ทุก ๆ วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี ตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ แต่การชำระดอกเบี้ยงวดแรกให้คำนวณตั้งแต่วันที่จำหน่ายพันธบัตรได้ จนถึงวันก่อนวันชำระดอกเบี้ยงวดแรกหนึ่งวัน สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป
การนับเวลาเพื่อคำนวณดอกเบี้ย ถ้ามีเศษของงวดให้คำนวณตามจำนวนวัน และให้ถือว่าปีหนึ่งมีสามร้อยหกสิบห้าวัน
6. พันธบัตรรัฐบาลนี้ให้จำหน่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งจำนวน แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่รับซื้อคืนเมื่อได้จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลนี้ให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไปแล้ว
7. พันธบัตรรัฐบาลนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว
8. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนพันธบัตรรัฐบาล และตัวแทนการจ่ายเงิน ตลอดจนจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้
9. การโอนกรรมสิทธิ์ หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลนี้จะต้องไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ หรือการจำนำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
10. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร
11. เงินกู้ที่ได้รับจากการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ให้นำไปใช้ในโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1
12. พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่กระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 มิถุนายน 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. กระทรวงการคลังจะกู้เงิน โดยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลประเภทที่เรียกว่า "พันธบัตรตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 2" มีจำนวน 3,000,000,000 บาท (สามพันล้านบาทถ้วน)
2. พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้เป็นพันธบัตรชนิดออกให้ในนามผู้ทรงพันธบัตร และจดทะเบียนออกจำหน่ายตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละ 1,000,000 บาท
3. พันธบัตรรัฐบาลนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542
4. พันธบัตรรัฐบาลนี้มีกำหนดไถ่ถอนเมื่อครบ 10 ปี นับแต่วันออกพันธบัตรซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2552หากวันที่ชำระคืนต้นเงินตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้เลื่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรเป็นวันเปิดทำการถัดไป
ในกรณีที่กระทรวงการคลังขายหุ้นบุริมสิทธิ์หรือหุ้นสามัญที่ได้แปลงสภาพมาจากหุ้นบุริมสิทธิ์ให้กับเอกชน กระทรวงการคลังมีสิทธิขอไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลก่อนครบกำหนดเป็นจำนวนเท่ากัน หากผู้เข้าร่วมโครงการได้ขยายพันธบัตรรัฐบาลที่ได้รับตามโครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไปแล้ว กระทรวงการคลังจะขอซื้อพันธบัตรจำนวนดังกล่าวคืนจากผู้ถือโดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.00 ต่อปี คำนวณจากมูลค่าของพันธบัตร การชำระดอกเบี้ยจะจ่ายชำระปีละ 1 ครั้ง ทุก ๆ วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี ตลอดเวลาที่พันธบัตรยังมีอายุอยู่ แต่การชำระดอกเบี้ยงวดแรกให้คำนวณตั้งแต่วันที่จำหน่ายพันธบัตรได้ จนถึงวันก่อนวันชำระดอกเบี้ยงวดแรกหนึ่งวัน สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมกับต้นเงินของพันธบัตรในวันที่ไถ่ถอน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำการถัดไป
การนับเวลาเพื่อคำนวณดอกเบี้ย ถ้ามีเศษของงวดให้คำนวณตามจำนวนวัน และให้ถือว่าปีหนึ่งมีสามร้อยหกสิบห้าวัน
6. พันธบัตรรัฐบาลนี้ให้จำหน่ายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งจำนวน แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่รับซื้อคืนเมื่อได้จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลนี้ให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไปแล้ว
7. พันธบัตรรัฐบาลนี้มิให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรฉบับนั้นแล้ว
8. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนพันธบัตรรัฐบาล และตัวแทนการจ่ายเงิน ตลอดจนจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้
9. การโอนกรรมสิทธิ์ หรือการจำนำพันธบัตรรัฐบาลนี้จะต้องไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ หรือการจำนำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
10. การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับคืนพันธบัตร
11. เงินกู้ที่ได้รับจากการออกพันธบัตรรัฐบาลนี้ให้นำไปใช้ในโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1
12. พันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่กระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 มิถุนายน 2542--