ทำเนียบรัฐบาล--15 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้ง ที่ 17 ซึ่ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ไทยเข้าร่วมการประชุมในระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2538 ณ ประเทศสิงคโปร์ ตามที่กระทรวง เกษตรและสหกรณ์เสนอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในการรวมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป รวม 1,304 รายการ เข้า ในรายการลดภาษีโดยทันที ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มกราคม 2539 โดยประเทศไทยได้เสนอ สินค้าในรายการนี้ถึง 476 รายการ คิดเป็นร้อยละ 90 ของรายการสินค้าเกษตรไม่แปรรูปของประ เทศไทย
2. ที่ประชุมเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกจัดส่งรายการขอยกเว้นการลดภาษีชั่วคราว (Temporary ExclusionList) ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนภายในเดือนกันยายนศกนี้ ก่อนที่จะมี การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และมอบหมายให้สำนักเลขาธิ การอาเซียนศึกษาทางเลือกในการพิจารณากลไกพิเศษ (Special Arrangement)
สำหรับสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Products) เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของบางประเทศที่มี ปัญหาให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาต่อไป
3. ที่ประชุมรับทราบว่าประเทศอาเซียนได้ร่วมกันเจรจาต่อรองในการเปิดตลาดสินค้า เกษตร รวมทั้งมาตรฐานด้านอนามัยและสุขอนามัย มาตรการด้านภาษี และกฎระเบียบด้านมาตรฐาน สินค้า เป็นต้น ซึ่งภาคเอกชนได้ให้ความสนใจและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับภาครัฐบาลในการวางแผน การเปิดตลาด มาตรการภาษีและการส่งเสริมการตลาดส่งออก
4. ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าของคณะกรรมการด้านวิชาการในสาขาต่าง ๆ คือ สาขา ประมง ปศุสัตว์ พืช ป่าไม้ การส่งเสริมการเกษตรและฝึกอบรม และด้านสหกรณ์การเกษตร และได้เห็น พ้องกันว่า ในปัจจุบันผลกระทบจากนโยบายการค้าเสรีภายหลังการเจรจารอบอุรุกวัย การรวมตัว ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิค (APEC) และข้อตกลงด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งปรับ ตัวเพื่อรองรับสถานการณ์
5. ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหัวข้อในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ณ กรุง เทพมหานคร ในเดือนธันวาคม ศกนี้ ดังนี้
"Towards global competitiveness through modernisation and sustainable development of agriculture and forestry."
6. ที่ประชุมเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ควรหันหน้าเข้าหากัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการ ผลิตทางการเกษตรและป่าไม้ การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และร่วมมือกันวางแผนงานเพื่อ ลดการแข่งขันการผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ในขณะเดียวกัน ควรร่วมกับภาคเอกชนในการเจรจาต่อ รองกับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ในตลาดต่างประเทศ
โดยให้มีกลไกเพื่อร่วมมือกันในการกำหนดนโยบายร่วมด้านเศรษฐกิจการเกษตรในประ เทศอาเซียน และกำหนดท่าทีร่วมของกลุ่ม เพื่อเน้นบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก
7. ที่ประชุมได้พิจารณาระเบียบของสภาประชาคมยุโรป (EC Council Directive) เกี่ยวกับสุขอนามัยของอาหารสัตว์ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 14 ธันวาคม 2538 ซึ่งกำหนดให้การขนส่ง อาหารสัตว์ต้องใช้พาหนะสำหรับขนส่งอาหารสัตว์โดยเฉพาะว่า จะส่งผลกระทบถึงการส่งออกน้ำมันพืช ของอาเซียน อาทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ของอาเซียนไปสู่ประชาคมยุโรป ซึ่งจะต้องมีการหารือกับผู้มีอำนาจของประชาคมยุโรปต่อไป
8. ที่ประชุมได้แสดงความกังวลกับการที่ประเทศประชาคมยุโรปบางประเทศเข้มงวดกับ การใช้ไม้ในเขตร้อน รวมทั้งการออกใบรับรอง และการติดป้ายไม้เขตร้อนและผลิตผลป่าไม้ โดยเห็นว่า ควรใช้มาตรการที่เป็นสากลกับไม้ทุกชนิด และมาตรการนี้ควรเริ่มบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
9. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ครั้งต่อไป จะจัดขึ้น ณ ประเทศ ฟิลิปปินส์ ในเดือนสิงหาคม 2539
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้ง ที่ 17 ซึ่ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ไทยเข้าร่วมการประชุมในระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2538 ณ ประเทศสิงคโปร์ ตามที่กระทรวง เกษตรและสหกรณ์เสนอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในการรวมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป รวม 1,304 รายการ เข้า ในรายการลดภาษีโดยทันที ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มกราคม 2539 โดยประเทศไทยได้เสนอ สินค้าในรายการนี้ถึง 476 รายการ คิดเป็นร้อยละ 90 ของรายการสินค้าเกษตรไม่แปรรูปของประ เทศไทย
2. ที่ประชุมเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกจัดส่งรายการขอยกเว้นการลดภาษีชั่วคราว (Temporary ExclusionList) ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนภายในเดือนกันยายนศกนี้ ก่อนที่จะมี การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และมอบหมายให้สำนักเลขาธิ การอาเซียนศึกษาทางเลือกในการพิจารณากลไกพิเศษ (Special Arrangement)
สำหรับสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Products) เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของบางประเทศที่มี ปัญหาให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาต่อไป
3. ที่ประชุมรับทราบว่าประเทศอาเซียนได้ร่วมกันเจรจาต่อรองในการเปิดตลาดสินค้า เกษตร รวมทั้งมาตรฐานด้านอนามัยและสุขอนามัย มาตรการด้านภาษี และกฎระเบียบด้านมาตรฐาน สินค้า เป็นต้น ซึ่งภาคเอกชนได้ให้ความสนใจและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับภาครัฐบาลในการวางแผน การเปิดตลาด มาตรการภาษีและการส่งเสริมการตลาดส่งออก
4. ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าของคณะกรรมการด้านวิชาการในสาขาต่าง ๆ คือ สาขา ประมง ปศุสัตว์ พืช ป่าไม้ การส่งเสริมการเกษตรและฝึกอบรม และด้านสหกรณ์การเกษตร และได้เห็น พ้องกันว่า ในปัจจุบันผลกระทบจากนโยบายการค้าเสรีภายหลังการเจรจารอบอุรุกวัย การรวมตัว ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิค (APEC) และข้อตกลงด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งปรับ ตัวเพื่อรองรับสถานการณ์
5. ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหัวข้อในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ณ กรุง เทพมหานคร ในเดือนธันวาคม ศกนี้ ดังนี้
"Towards global competitiveness through modernisation and sustainable development of agriculture and forestry."
6. ที่ประชุมเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ควรหันหน้าเข้าหากัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการ ผลิตทางการเกษตรและป่าไม้ การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และร่วมมือกันวางแผนงานเพื่อ ลดการแข่งขันการผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ในขณะเดียวกัน ควรร่วมกับภาคเอกชนในการเจรจาต่อ รองกับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ในตลาดต่างประเทศ
โดยให้มีกลไกเพื่อร่วมมือกันในการกำหนดนโยบายร่วมด้านเศรษฐกิจการเกษตรในประ เทศอาเซียน และกำหนดท่าทีร่วมของกลุ่ม เพื่อเน้นบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก
7. ที่ประชุมได้พิจารณาระเบียบของสภาประชาคมยุโรป (EC Council Directive) เกี่ยวกับสุขอนามัยของอาหารสัตว์ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 14 ธันวาคม 2538 ซึ่งกำหนดให้การขนส่ง อาหารสัตว์ต้องใช้พาหนะสำหรับขนส่งอาหารสัตว์โดยเฉพาะว่า จะส่งผลกระทบถึงการส่งออกน้ำมันพืช ของอาเซียน อาทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ของอาเซียนไปสู่ประชาคมยุโรป ซึ่งจะต้องมีการหารือกับผู้มีอำนาจของประชาคมยุโรปต่อไป
8. ที่ประชุมได้แสดงความกังวลกับการที่ประเทศประชาคมยุโรปบางประเทศเข้มงวดกับ การใช้ไม้ในเขตร้อน รวมทั้งการออกใบรับรอง และการติดป้ายไม้เขตร้อนและผลิตผลป่าไม้ โดยเห็นว่า ควรใช้มาตรการที่เป็นสากลกับไม้ทุกชนิด และมาตรการนี้ควรเริ่มบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
9. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ครั้งต่อไป จะจัดขึ้น ณ ประเทศ ฟิลิปปินส์ ในเดือนสิงหาคม 2539
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538--