คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2548 และแนวโน้มปี 2548 ดังนี้
1. เศรษฐกิจในไตรมาสที่สองและครึ่งแรกของปี 2548
1.1 เศรษฐกิจไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 4.4 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.3 ใน
ไตรมาสแรก โดยผลกระทบจากภัยแล้งต่อผลผลิตทางการเกษตรบรรเทาความรุนแรงลง ภาวะการท่องเที่ยว
ปรับตัวดีขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มขยายตัว และการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีขึ้นจากการที่ภาวะ
การส่งออกปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอิเล็กทอร์นิกส์
2548 Q1 Q2 H1
เกษตร -7.9 -2.3 -5.4
นอกภาคเกษตร 4.6 5.0 4.8
อุตสาหกรรม 3.5 6.4 5.0
โรงแรมและภัตตาคาร -2.0 2.9 0.5
(จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ) -9.2 1.9 -4.1
บริการและอื่น ๆ 7.4 4.1 5.0
GDP 3.3 4.4 3.9
1.2 โดยรวมในครึ่งแรกปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ซึ่งดีกว่าการประมาณ
การจากแหล่งต่าง ๆ แม้เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาก (ราคาน้ำมันดิบดูไบครึ่งแรกของ
ปี 2547 เฉลี่ย 31.4 ดอลลาร์ต่อบาเรล เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 44.6 ดอลลาร์ต่อบาเรลครึ่งแรกปี 2548)
นอกจากนั้นยังมีภัยแล้ง ธรณีพิบัติภัยและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจ
1.3 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงเป็นร้อยละ 3.3 ในครึ่งแรกของปี โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8
ในไตรมาสแรกและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่สอง ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1,500 ล้านดอลลาร์
สรอ. ในไตรมาสแรกและขาดดุลมากขึ้นเป็น 4,710 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตามอัตรา
การว่างงานเฉลี่ย 6 เดือนยังอยู่ในระดับต่ำเท่ากับร้อยละ 2.3 และรายได้โดยรวมยังเพิ่มสูงขึ้น โดย GDP
ณ ราคาปีปัจจุบันในไตรมาสที่สองเท่ากับ 1,718 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จาก 1,597 ล้านล้านบาท
ในไตรมาสที่สองของปี 2547
1.4 อุปสงค์ภายในประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งแรก
โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ในไตรมาสแรกมีการ
ใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และ 11.7 ตามลำดับ และในไตรมาสที่สองการขยายตัว
ทรงตัวที่ร้อยละ 4.7 และ 12.3 ตามลำดับ
1.5 การส่งออกแสดงแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ากุ้งและไก่ที่ปัญหา
คลี่คลายลง ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นมาก เช่น ราคายางดิบชั้น 3 (F.O.B.) ซึ่งมีราคาเฉลี่ย 69.85 บาท
ต่อกก. ในเดือน ก.ค. และ 66.72 บาท ในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 32.8
และ 29.2 ตามลำดับ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาขยายตัวได้มากขึ้นจากการส่งออกในกลุ่ม disk
drive และ hard disk ในครึ่งแรกมูลค่าการส่งออกรวมในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 31.2 จากการนำเข้าสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 สินค้าทุน
ร้อยละ 20.2 และหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.0
2. แนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2548
2.1 การขยายตัวของเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสแรก และมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้นใน
ครึ่งปีหลัง เนื่องจาก
(1) การส่งออกที่มีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกในกลุ่มอาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยางพารา และสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ประเภทของใช้ในบ้าน สบู่ และเครื่องสำอาง (2) การบริหารการนำเข้าที่
ประสิทธิภาพส่งผลให้การนำเข้าชะลอตัว ซึ่งในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ
(3) การท่องเที่ยวฟื้นตัวมากขึ้นและทำให้ดุลบริการมีการเกินดุลต่อเนื่อง
2.2 นอกจากนั้นยังมีการดำเนินมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี
ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งหลัง ที่สำคัญได้แก่ (1) การเร่งรัดการเบิกจ่าย
งบรัฐบาล (2) กองทุน SML (3) การเพิ่มค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนข้าราชการ (4)การสนับสนุนการใช้
NGV การปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล และ (5)จัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) จำนวน
2,000 หมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยประหยัดรายจ่ายการนำเข้า
2.3 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยง/ข้อจำกัดต่อเศรษฐกิจไทยที่ต้องระมัดระวังในช่วงครึ่งหลัง
ของปีได้แก่
(1) เศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว โดยมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการ
คลังของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาวะร้อนแรงอยู่ในปัจจุบันในหลายประเทศที่อาจจะมีการ
ปรับตัวอย่างรุนแรงในช่งปลายปีได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจะทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้เพียง
ประมาณร้อยละ 15
(2) ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมากโดยเฉพาะภายหลังจากที่เฮอร์ริเคนแคทรินาได้สร้างความ
เสียหายแก่แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก โรงกลั่น และท่าเรือที่จะกระทบต่อการขนถ่ายน้ำมัน แม้ว่ารัฐบาล
สหรัฐฯ จะสามารถให้โรงกลั่นยืมน้ำมันดิบจากคลังสำรองยุทธศาสตร์มาใช้ได้บ้างก็ตาม ดังนั้น สศช. จึงปรับ
สมมติฐานน้ำมันดิบดูไบในช่วง 4 เดือนหลังของปีเป็น 60 ดอลลาร์ต่อบาเรล หรือราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วง
50 - 55 ดอลลาร์ต่อบาเรล
(3) การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี จะทำให้แรงกระตุ้นของอัตรา
ดอกเบี้ยต่อการใช้จ่ายและการลงทุนลดลงกว่าครึ่งปีแรก
(4) น้ำแล้ง อาจจะมีผลกระทบไม่เฉพาะการผลิตภาคเกษตร แต่จะกระทบถึงภาค
อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกด้วย
(5) การสะสมสินค้าคงคลัง ในครึ่งปีแรกมีมูลค่าสูงถึง 191,771 ล้านบาท หรือร้อยละ
5.6 ของ GDP ซึ่งในส่วนของการสะสมวัตถุดิบจะช่วยให้การนำเข้าชะลอตัวในครึ่งหลังของปี แต่การสะสมสินค้า
คงคลังในกลุ่มสินค้าสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปซึ่งคาดว่าประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดจะทำให้
กิจกรรมการผลิตไม่ขยายตัวมากเท่ากับการใช้จ่ายที่คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นในครึ่งหลังของปี
2.4. จากการทบทวนเงื่อนไขทางเศรษฐกิจทั้งที่เป็นบวกและลบ สสช. จึงปรับประมาณการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2548 จาก ร้อยละ 4.5-5.5 เป็นร้อยละ 3.8-4.3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง
ร้อยละ 4.0-4.4 และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณร้อยละ 1.9-2.4 ของ GDP
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548 ณ วันที่
2546 2547 7 มี.ค. 6 มิ.ย. 5 ก.ย.
GDP (ณ ราคาประจำปี : พันล้านบาท) 5,930.40 6,576.80 7,198.80 7,195.00 7,142.40
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคา 6.9 6.1 5.5-6.5 4.5 — 5.5 3.8 — 4.3
คงที่, %)
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่ , %) 11.9 14.4 15.6 11.9 11
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่,%) 5.8 5.4 5.7 5.1 4.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 110.3 111.1 105.5
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23 14.8 15.7 15.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 94.4 113.4 116.1 118.2
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.9 20.2 23 25.2
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.7 -3.2 -4.9 -7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 7.3 1.9 0.1 -3.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.5 1.0 0.1 -1.9
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 3.1 3.6 4.1
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 กันยายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2548 และแนวโน้มปี 2548 ดังนี้
1. เศรษฐกิจในไตรมาสที่สองและครึ่งแรกของปี 2548
1.1 เศรษฐกิจไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 4.4 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.3 ใน
ไตรมาสแรก โดยผลกระทบจากภัยแล้งต่อผลผลิตทางการเกษตรบรรเทาความรุนแรงลง ภาวะการท่องเที่ยว
ปรับตัวดีขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มขยายตัว และการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีขึ้นจากการที่ภาวะ
การส่งออกปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอิเล็กทอร์นิกส์
2548 Q1 Q2 H1
เกษตร -7.9 -2.3 -5.4
นอกภาคเกษตร 4.6 5.0 4.8
อุตสาหกรรม 3.5 6.4 5.0
โรงแรมและภัตตาคาร -2.0 2.9 0.5
(จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ) -9.2 1.9 -4.1
บริการและอื่น ๆ 7.4 4.1 5.0
GDP 3.3 4.4 3.9
1.2 โดยรวมในครึ่งแรกปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ซึ่งดีกว่าการประมาณ
การจากแหล่งต่าง ๆ แม้เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาก (ราคาน้ำมันดิบดูไบครึ่งแรกของ
ปี 2547 เฉลี่ย 31.4 ดอลลาร์ต่อบาเรล เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 44.6 ดอลลาร์ต่อบาเรลครึ่งแรกปี 2548)
นอกจากนั้นยังมีภัยแล้ง ธรณีพิบัติภัยและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจ
1.3 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงเป็นร้อยละ 3.3 ในครึ่งแรกของปี โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8
ในไตรมาสแรกและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.7 ในไตรมาสที่สอง ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1,500 ล้านดอลลาร์
สรอ. ในไตรมาสแรกและขาดดุลมากขึ้นเป็น 4,710 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตามอัตรา
การว่างงานเฉลี่ย 6 เดือนยังอยู่ในระดับต่ำเท่ากับร้อยละ 2.3 และรายได้โดยรวมยังเพิ่มสูงขึ้น โดย GDP
ณ ราคาปีปัจจุบันในไตรมาสที่สองเท่ากับ 1,718 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จาก 1,597 ล้านล้านบาท
ในไตรมาสที่สองของปี 2547
1.4 อุปสงค์ภายในประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งแรก
โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ในไตรมาสแรกมีการ
ใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และ 11.7 ตามลำดับ และในไตรมาสที่สองการขยายตัว
ทรงตัวที่ร้อยละ 4.7 และ 12.3 ตามลำดับ
1.5 การส่งออกแสดงแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ากุ้งและไก่ที่ปัญหา
คลี่คลายลง ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นมาก เช่น ราคายางดิบชั้น 3 (F.O.B.) ซึ่งมีราคาเฉลี่ย 69.85 บาท
ต่อกก. ในเดือน ก.ค. และ 66.72 บาท ในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 32.8
และ 29.2 ตามลำดับ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กลับมาขยายตัวได้มากขึ้นจากการส่งออกในกลุ่ม disk
drive และ hard disk ในครึ่งแรกมูลค่าการส่งออกรวมในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 31.2 จากการนำเข้าสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 สินค้าทุน
ร้อยละ 20.2 และหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.0
2. แนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2548
2.1 การขยายตัวของเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสแรก และมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้นใน
ครึ่งปีหลัง เนื่องจาก
(1) การส่งออกที่มีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกในกลุ่มอาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยางพารา และสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ประเภทของใช้ในบ้าน สบู่ และเครื่องสำอาง (2) การบริหารการนำเข้าที่
ประสิทธิภาพส่งผลให้การนำเข้าชะลอตัว ซึ่งในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ
(3) การท่องเที่ยวฟื้นตัวมากขึ้นและทำให้ดุลบริการมีการเกินดุลต่อเนื่อง
2.2 นอกจากนั้นยังมีการดำเนินมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี
ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งหลัง ที่สำคัญได้แก่ (1) การเร่งรัดการเบิกจ่าย
งบรัฐบาล (2) กองทุน SML (3) การเพิ่มค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนข้าราชการ (4)การสนับสนุนการใช้
NGV การปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล และ (5)จัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) จำนวน
2,000 หมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยประหยัดรายจ่ายการนำเข้า
2.3 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยง/ข้อจำกัดต่อเศรษฐกิจไทยที่ต้องระมัดระวังในช่วงครึ่งหลัง
ของปีได้แก่
(1) เศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว โดยมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการ
คลังของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาวะร้อนแรงอยู่ในปัจจุบันในหลายประเทศที่อาจจะมีการ
ปรับตัวอย่างรุนแรงในช่งปลายปีได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจะทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้เพียง
ประมาณร้อยละ 15
(2) ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมากโดยเฉพาะภายหลังจากที่เฮอร์ริเคนแคทรินาได้สร้างความ
เสียหายแก่แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก โรงกลั่น และท่าเรือที่จะกระทบต่อการขนถ่ายน้ำมัน แม้ว่ารัฐบาล
สหรัฐฯ จะสามารถให้โรงกลั่นยืมน้ำมันดิบจากคลังสำรองยุทธศาสตร์มาใช้ได้บ้างก็ตาม ดังนั้น สศช. จึงปรับ
สมมติฐานน้ำมันดิบดูไบในช่วง 4 เดือนหลังของปีเป็น 60 ดอลลาร์ต่อบาเรล หรือราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วง
50 - 55 ดอลลาร์ต่อบาเรล
(3) การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี จะทำให้แรงกระตุ้นของอัตรา
ดอกเบี้ยต่อการใช้จ่ายและการลงทุนลดลงกว่าครึ่งปีแรก
(4) น้ำแล้ง อาจจะมีผลกระทบไม่เฉพาะการผลิตภาคเกษตร แต่จะกระทบถึงภาค
อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกด้วย
(5) การสะสมสินค้าคงคลัง ในครึ่งปีแรกมีมูลค่าสูงถึง 191,771 ล้านบาท หรือร้อยละ
5.6 ของ GDP ซึ่งในส่วนของการสะสมวัตถุดิบจะช่วยให้การนำเข้าชะลอตัวในครึ่งหลังของปี แต่การสะสมสินค้า
คงคลังในกลุ่มสินค้าสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปซึ่งคาดว่าประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดจะทำให้
กิจกรรมการผลิตไม่ขยายตัวมากเท่ากับการใช้จ่ายที่คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นในครึ่งหลังของปี
2.4. จากการทบทวนเงื่อนไขทางเศรษฐกิจทั้งที่เป็นบวกและลบ สสช. จึงปรับประมาณการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2548 จาก ร้อยละ 4.5-5.5 เป็นร้อยละ 3.8-4.3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง
ร้อยละ 4.0-4.4 และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณร้อยละ 1.9-2.4 ของ GDP
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ปี 2548 ณ วันที่
2546 2547 7 มี.ค. 6 มิ.ย. 5 ก.ย.
GDP (ณ ราคาประจำปี : พันล้านบาท) 5,930.40 6,576.80 7,198.80 7,195.00 7,142.40
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคา 6.9 6.1 5.5-6.5 4.5 — 5.5 3.8 — 4.3
คงที่, %)
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่ , %) 11.9 14.4 15.6 11.9 11
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่,%) 5.8 5.4 5.7 5.1 4.9
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 96.1 110.3 111.1 105.5
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 23 14.8 15.7 15.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 94.4 113.4 116.1 118.2
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.9 20.2 23 25.2
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.7 -3.2 -4.9 -7.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 7.3 1.9 0.1 -3.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.5 1.0 0.1 -1.9
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 3.1 3.6 4.1
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 กันยายน 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--