ทำเนียบรัฐบาล--3 ก.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้าง ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาวินิจฉัยและให้ความเห็นแล้ว ตามที่ประธานกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาแก้ไขปัญหาการก่อสร้าง (พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์) เสนอ ดังนี้
1. จากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 มาตรการฯ ในข้อ 1 คือ “ให้ถือว่าระยะเวลาที่จะได้รับสิทธิในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างจากกรณีการเกิดอุทกภัยและปูนซีเมนต์ขาดแคลนในภาคใต้ จะต้องเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นและปฏิบัติงานก่อสร้างอยู่ในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 นอกเหนือจากนี้ ผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้างที่เป็นผู้รับจ้างไม่มีสิทธิในการร้องขอต่ออายุสัญญาใด ๆ อีก” หมายถึง สัญญาที่ลงนามก่อนหรือระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ก็ได้ แต่สัญญาดังกล่าวจะต้องระบุระยะเวลาการปฏิบัติงานอยู่ในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538
2. จากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 มาตรการฯ ในข้อ 3 คือ งานก่อสร้างที่หมดอายุสัญญาก่อนเกิดอุทกภัย (หมายถึงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538) แต่ผู้ว่าจ้างไม่ได้ยกเลิกสัญญานั้น หากอายุสัญญาได้สิ้นสุดลงผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบตามสัญญาอยู่แล้ว เว้นแต่เมื่อครบอายุสัญญาแล้ว ผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้างที่เป็นผู้รับจ้างยังทำงานไม่แล้วเสร็จ โดยผู้รับจ้างคงดำเนินการก่อสร้างต่อไป และเกิดอุทกภัยในระยะนั้น ให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และ 2 มาใช้โดยอนุโลม” หมายถึง
2.1 กรณีสัญญาเกิดขึ้นและสิ้นสุดก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 แต่ผู้รับจ้างยังคงปฏิบัติงานต่อไป โดยระยะเวลาการปฏิบัติงานคาบเกี่ยวไปในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ส่วนราชการผู้ว่าจ้างจะต้องขยายระยะเวลาการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 3
2.2 กรณีสัญญาเกิดขึ้นก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานตามสัญญาคาบเกี่ยวไปในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ส่วนราชการผู้ว่าจ้างสามารถขยายระยะเวลาการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1
2.3 กรณีที่สัญญาได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 โดยไม่มีการปฏิบัติงานคาบเกี่ยวในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 อีก ถือว่านิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว ผู้รับจ้างจึงไม่ได้รับสิทธิในการขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 3
2.4 กรณีสัญญาเกิดขึ้นและสิ้นสุดก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 แต่ผู้รับจ้างยังคงปฏิบัติงานต่อไปและได้ส่งมอบงานเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 เป็นกรณีที่ส่วนราชการผู้ว่าจ้างต้องขยายระยะเวลาการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 3
3. จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 มาตรการฯ ในข้อ 4 คือ “งานก่อสร้างที่ประมูลราคาไว้ก่อนเกิดอุทกภัย แต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา หากไม่ประสงค์จะลงนามในสัญญาก็สามารถกระทำได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 แต่หากลงนามในสัญญาให้นับระยะเวลาของสัญญาเริ่มตั้งแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป และจะไม่มีการขยายเวลาให้” หมายถึง
3.1 กรณีที่มีการประมูลงานก่อสร้างไว้ก่อนเกิดอุทกภัย หรือในช่วงเกิดอุทกภัย แต่ผู้ประมูลงานได้ยังไม่มาลงนามในสัญญาในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้ (วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539) ส่วนราชการสามารถเรียกผู้ประมูลงานได้มาลงนามในสัญญาโดยไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงานได้ แต่จะไม่มีการขยายระยะเวลาให้ตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 4 เนื่องจากล่วงเลยช่วงเวลาที่มติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิขยายระยะเวลา ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 แล้ว
3.2 กรณีการประมูลงานก่อสร้างไว้ก่อนเกิดอุทกภัย หรือในช่วงเกิดอุทกภัย และผู้ประมูลงานได้มาลงนามในสัญญาภายหลังวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ผู้รับจ้างย่อมไม่ได้รับสิทธิขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 4
4. ตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 กำหนดให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้าง เฉพาะกรณีที่เกิดอุทกภัยและปูนซีเมนต์ขาดแคลนในภาคใต้ในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 นอกเหนือจากนี้ ผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้างที่เป็นผู้รับจ้างไม่มีสิทธิในการร้องขอต่ออายุสัญญาใด ๆ อีก กรณีที่สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยอ้างว่า ในจังหวัดภาคใต้ (รวมถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ประสบปัญหาปูนซีเมนต์ขาดแคลนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 เป็นต้นมา ซึ่งมีผลกระทบต่องานก่อสร้างนั้น จึงเป็นการนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 2 กรกฏาคม 2539--
คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้าง ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาวินิจฉัยและให้ความเห็นแล้ว ตามที่ประธานกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาแก้ไขปัญหาการก่อสร้าง (พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์) เสนอ ดังนี้
1. จากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 มาตรการฯ ในข้อ 1 คือ “ให้ถือว่าระยะเวลาที่จะได้รับสิทธิในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างจากกรณีการเกิดอุทกภัยและปูนซีเมนต์ขาดแคลนในภาคใต้ จะต้องเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นและปฏิบัติงานก่อสร้างอยู่ในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 นอกเหนือจากนี้ ผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้างที่เป็นผู้รับจ้างไม่มีสิทธิในการร้องขอต่ออายุสัญญาใด ๆ อีก” หมายถึง สัญญาที่ลงนามก่อนหรือระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ก็ได้ แต่สัญญาดังกล่าวจะต้องระบุระยะเวลาการปฏิบัติงานอยู่ในระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538
2. จากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 มาตรการฯ ในข้อ 3 คือ งานก่อสร้างที่หมดอายุสัญญาก่อนเกิดอุทกภัย (หมายถึงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538) แต่ผู้ว่าจ้างไม่ได้ยกเลิกสัญญานั้น หากอายุสัญญาได้สิ้นสุดลงผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบตามสัญญาอยู่แล้ว เว้นแต่เมื่อครบอายุสัญญาแล้ว ผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้างที่เป็นผู้รับจ้างยังทำงานไม่แล้วเสร็จ โดยผู้รับจ้างคงดำเนินการก่อสร้างต่อไป และเกิดอุทกภัยในระยะนั้น ให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และ 2 มาใช้โดยอนุโลม” หมายถึง
2.1 กรณีสัญญาเกิดขึ้นและสิ้นสุดก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 แต่ผู้รับจ้างยังคงปฏิบัติงานต่อไป โดยระยะเวลาการปฏิบัติงานคาบเกี่ยวไปในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ส่วนราชการผู้ว่าจ้างจะต้องขยายระยะเวลาการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 3
2.2 กรณีสัญญาเกิดขึ้นก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานตามสัญญาคาบเกี่ยวไปในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ส่วนราชการผู้ว่าจ้างสามารถขยายระยะเวลาการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1
2.3 กรณีที่สัญญาได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 โดยไม่มีการปฏิบัติงานคาบเกี่ยวในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 อีก ถือว่านิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว ผู้รับจ้างจึงไม่ได้รับสิทธิในการขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 3
2.4 กรณีสัญญาเกิดขึ้นและสิ้นสุดก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 แต่ผู้รับจ้างยังคงปฏิบัติงานต่อไปและได้ส่งมอบงานเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 เป็นกรณีที่ส่วนราชการผู้ว่าจ้างต้องขยายระยะเวลาการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 3
3. จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 มาตรการฯ ในข้อ 4 คือ “งานก่อสร้างที่ประมูลราคาไว้ก่อนเกิดอุทกภัย แต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา หากไม่ประสงค์จะลงนามในสัญญาก็สามารถกระทำได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 แต่หากลงนามในสัญญาให้นับระยะเวลาของสัญญาเริ่มตั้งแต่วันลงนามในสัญญาเป็นต้นไป และจะไม่มีการขยายเวลาให้” หมายถึง
3.1 กรณีที่มีการประมูลงานก่อสร้างไว้ก่อนเกิดอุทกภัย หรือในช่วงเกิดอุทกภัย แต่ผู้ประมูลงานได้ยังไม่มาลงนามในสัญญาในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องนี้ (วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539) ส่วนราชการสามารถเรียกผู้ประมูลงานได้มาลงนามในสัญญาโดยไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงานได้ แต่จะไม่มีการขยายระยะเวลาให้ตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 4 เนื่องจากล่วงเลยช่วงเวลาที่มติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิขยายระยะเวลา ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 แล้ว
3.2 กรณีการประมูลงานก่อสร้างไว้ก่อนเกิดอุทกภัย หรือในช่วงเกิดอุทกภัย และผู้ประมูลงานได้มาลงนามในสัญญาภายหลังวันที่ 25 ธันวาคม 2538 ผู้รับจ้างย่อมไม่ได้รับสิทธิขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 4
4. ตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 กำหนดให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้าง เฉพาะกรณีที่เกิดอุทกภัยและปูนซีเมนต์ขาดแคลนในภาคใต้ในช่วงระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2538 นอกเหนือจากนี้ ผู้ประกอบอาชีพการก่อสร้างที่เป็นผู้รับจ้างไม่มีสิทธิในการร้องขอต่ออายุสัญญาใด ๆ อีก กรณีที่สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยอ้างว่า ในจังหวัดภาคใต้ (รวมถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ประสบปัญหาปูนซีเมนต์ขาดแคลนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 เป็นต้นมา ซึ่งมีผลกระทบต่องานก่อสร้างนั้น จึงเป็นการนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 2 กรกฏาคม 2539--