ทำเนียบรัฐบาล--12 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขจากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป สรุปได้ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้วมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการให้คงหลักการเดิมของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคา พ.ศ. .... แต่ให้ปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าหลักการเดิมของร่างพระราชบัญญัติการสมยอมในการเสนอราคา พ.ศ. .... นอกจากจะมีบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะการกระทำผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาแล้ว ยังได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจสอบสวนการกระทำความผิดในกรณีนี้ด้วย แต่เนื่องจากผู้กระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้อาจเป็นได้ทั้งการกระทำความผิดของเอกชน และการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในส่วนของการกระทำความผิดของเอกชนนั้น หากให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินการสอบสวนด้วย จะมีผลทำให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการกับบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นการบัญญัติกฎหมายที่ให้อำนาจคณะกรรมการเกินกว่าขอบเขตความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญในการจัดให้มีองค์กรดังกล่าว ฉะนั้น การกระทำของเอกชนในส่วนนี้จึงต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติเช่นเดียวกับการกระทำความผิดในกรณีอื่น ๆ ในส่วนของการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่แล้วตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยไม่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการไว้เป็นการเฉพาะอีก ฉะนั้น การที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จึงตรงกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีประสงค์แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดทำเป็นกฎหมายเอกเทศขึ้น โดยเฉพาะตามแนวทางเดิมของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดในการสมยอมในการเสนอราคา พ.ศ. .... สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้ดำเนินการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติตามความประสงค์ของคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ชื่อร่างพระราชบัญญัติ ได้ใช้ชื่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....
2. การกำหนดความผิดเกี่ยวกับการกระทำในการเสนอราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับที่ได้เคยเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แต่สำหรับอัตราโทษในการกระทำความผิดกรณีต่าง ๆ นั้น ได้ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับความเสียหายที่รัฐต้องได้รับจากการกระทำความผิดนั้น อันจะเป็นการปรามมิให้มีการกระทำเช่นนั้นให้เป็นผลยิ่งขึ้น โดยกำหนดโทษปรับเป็นร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากัน
3. การกำหนดความผิดสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง โดยที่ตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เดิมที่เคยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นการกำหนดความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงเป็นการกำหนดความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมีหลักการกำหนดให้ตรากฎหมายขึ้นพิเศษโดยเฉพาะต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีนี้ให้เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ เมื่อมีหลักการให้ตราเป็นกฎหมายพิเศษโดยเฉพาะ จึงสมควรกำหนดลักษณะการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ครอบคลุมการกระทำทุกกรณีที่อาจมีผลทำให้เป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา
4. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้เมื่อมีพฤติการณ์ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการรีบดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยเร็ว ซึ่งในกรณีนี้ย่อมสามารถดำเนินการได้ทั้งผู้กระทำความผิดที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว อาจพบพฤติการณ์ของเอกชนผู้เสนอราคาว่ามีการกระทำอันเป็นความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้อยู่ด้วย ซึ่งแม้ว่าคณะกรรมการจะไม่มีอำนาจดำเนินการโดยตรง แต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดต่อไป จึงให้คณะกรรมการแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปด้วย อันเป็นมาตรการเสริมให้การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในเรื่องนี้บรรลุผลยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มกราคม 2542--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขจากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป สรุปได้ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้วมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการให้คงหลักการเดิมของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคา พ.ศ. .... แต่ให้ปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าหลักการเดิมของร่างพระราชบัญญัติการสมยอมในการเสนอราคา พ.ศ. .... นอกจากจะมีบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะการกระทำผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาแล้ว ยังได้กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจสอบสวนการกระทำความผิดในกรณีนี้ด้วย แต่เนื่องจากผู้กระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้อาจเป็นได้ทั้งการกระทำความผิดของเอกชน และการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในส่วนของการกระทำความผิดของเอกชนนั้น หากให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินการสอบสวนด้วย จะมีผลทำให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการกับบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นการบัญญัติกฎหมายที่ให้อำนาจคณะกรรมการเกินกว่าขอบเขตความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญในการจัดให้มีองค์กรดังกล่าว ฉะนั้น การกระทำของเอกชนในส่วนนี้จึงต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติเช่นเดียวกับการกระทำความผิดในกรณีอื่น ๆ ในส่วนของการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่แล้วตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยไม่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการไว้เป็นการเฉพาะอีก ฉะนั้น การที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จึงตรงกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีประสงค์แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดทำเป็นกฎหมายเอกเทศขึ้น โดยเฉพาะตามแนวทางเดิมของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดในการสมยอมในการเสนอราคา พ.ศ. .... สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้ดำเนินการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติตามความประสงค์ของคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ชื่อร่างพระราชบัญญัติ ได้ใช้ชื่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ....
2. การกำหนดความผิดเกี่ยวกับการกระทำในการเสนอราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับที่ได้เคยเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แต่สำหรับอัตราโทษในการกระทำความผิดกรณีต่าง ๆ นั้น ได้ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับความเสียหายที่รัฐต้องได้รับจากการกระทำความผิดนั้น อันจะเป็นการปรามมิให้มีการกระทำเช่นนั้นให้เป็นผลยิ่งขึ้น โดยกำหนดโทษปรับเป็นร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากัน
3. การกำหนดความผิดสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง โดยที่ตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เดิมที่เคยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นการกำหนดความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงเป็นการกำหนดความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมีหลักการกำหนดให้ตรากฎหมายขึ้นพิเศษโดยเฉพาะต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีนี้ให้เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ เมื่อมีหลักการให้ตราเป็นกฎหมายพิเศษโดยเฉพาะ จึงสมควรกำหนดลักษณะการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ครอบคลุมการกระทำทุกกรณีที่อาจมีผลทำให้เป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา
4. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้เมื่อมีพฤติการณ์ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการรีบดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยเร็ว ซึ่งในกรณีนี้ย่อมสามารถดำเนินการได้ทั้งผู้กระทำความผิดที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว อาจพบพฤติการณ์ของเอกชนผู้เสนอราคาว่ามีการกระทำอันเป็นความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้อยู่ด้วย ซึ่งแม้ว่าคณะกรรมการจะไม่มีอำนาจดำเนินการโดยตรง แต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดต่อไป จึงให้คณะกรรมการแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปด้วย อันเป็นมาตรการเสริมให้การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในเรื่องนี้บรรลุผลยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มกราคม 2542--