ทำเนียบรัฐบาล--26 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบการอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (กกอ.) เสนอ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบการอาชีพงานอื่นกับทางราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 เพื่อการแก้ไขปัญหาข้างต้นโดยเร่งด่วน เนื่องจากมีเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ และให้หน่วยงานต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป รวม 12 แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ "นิติสัมพันธ์"
1.1 "นิติสัมพันธ์" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึงกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณีที่เกิดขึ้น ณ วันที่2 กรกฎาคม 2540 ดังต่อไปนี้
1) กรณีที่ยังไม่มีการส่งมอบงาน
2) กรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง/ตรวจรับยังไม่ตรวจรับงาน
1.2 กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการคู่สัญญาได้บอกเลิกสัญญาไปแล้วก่อนการยื่นขอขยายเวลา ให้ถือว่าไม่มีนิติสัมพันธ์กันตามความหมายนี้
1.3 กรณีที่อยู่ในช่วงรับประกันความชำรุดบกพร่อง หรือรับประกันผลงาน ให้ถือว่าไม่มีนิติสัมพันธ์กันตามความหมายนี้
2. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขยายเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี (ว 70)
2.1 กรณีสัญญาที่ได้มีการขยายเวลาไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม (ว 200) เต็มตามจำนวน 180 หรือ 120 วันไม่มีสิทธิขอขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีใหม่ (ว 70) อีก
2.2 กรณีผู้รับจ้างขอขยายเวลาเต็มจำนวน 180 หรือ 120 วัน และได้รับอนุมัติไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม(ว 200) ไม่เต็มตามจำนวนวัน 180 หรือ 120 วัน ไม่มีสิทธิขอขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีใหม่ (ว 70) ให้ครบ 180 หรือ 120 วัน อีก
2.3 กรณีผู้รับจ้างมีสิทธิขอขยายเวลาได้ 180 หรือ 120 วัน แต่ขยายระยะเวลามาไม่ครบ 180 หรือ 120 วัน ให้อนุมัติเท่าจำนวนวันที่ผู้รับจ้างขอ โดยไม่ตัดสิทธิที่จะขอเพิ่มเติมให้ครบ 180 หรือ 120 วัน
2.4 กรณีสัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาเดียว แต่ในสัญญานั้นกำหนดเวลาแล้วเสร็จแยกปรับในแต่ละประเภทของงานออกจากกัน การขยายระยะเวลาสัญญาให้มีผลในงานแต่ละประเภทแยกกันเป็นเอกเทศเสมือนสัญญาคนละฉบับตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้
2.5 "อายุสัญญาเดิม" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ให้หมายความถึง อายุสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาที่ยังไม่มีการแก้ไข
2.6 กรณีการขยายอายุสัญญาสำหรับอายุสัญญาเดิมที่มีอายุไม่เกิน 180 หรือ 120 วัน หากมีการขยายอายุสัญญาด้วยเหตุตามระเบียบ หรือข้อกำหนดอื่นด้วย ระยะเวลาที่ขยายอายุสัญญาให้ตามระเบียบ หรือข้อกำหนดอื่นจะนำมาคำนวณรวมเป็นอายุสัญญาเดิมไม่ได้ ยกเว้น การแก้ไขสัญญาดังกล่าวเป็นการแก้ไขที่ทำให้มีการเพิ่ม หรือลดเนื้องานตามสัญญาเดิม ก็ให้นำรวม หรือลบออกจากอายุสัญญาเดิมได้ และให้มีความหมายเป็นอายุสัญญาเดิมตามข้อ 2.5
3. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนับเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี
3.1 กรณีเรื่องใหม่ผู้รับจ้างต้องยื่นขอขยายเวลาเป็นหนังสือภายใน 30 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติผู้รับจ้างต้องยื่นหนังสือขอขยายเวลาภายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2541
3.2 การอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี กรณีที่ได้มีการยื่นเรื่องไว้แล้วภายในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ คือ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2541 ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ผู้มีอำนาจอนุมัติต้องอนุมัติภายในวันที่17 มิถุนายน 2541
กรณีที่ได้มีการยื่นเรื่องใหม่ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ผู้มีอำนาจอนุมัติต้องอนุมัติภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541
ทั้งนี้ คำว่า "เสร็จสิ้น" ให้หมายความถึง วันที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (ผู้อนุมัติ) ลงนามอนุมัติ
4. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนิรโทษ
4.1 การนิรโทษตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ในข้อ 2 ผู้เสนอราคาไว้กับทางราชการภายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และผู้เสนอราคาได้แจ้งความประสงค์ที่จะถอนการเสนอราคา หรือยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือต่อคู่สัญญาทราบภายใน 60 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ คือ ต้องแจ้งภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541 ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้รับจ้างรายใดได้รับเงินล่วงหน้า ก็ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขให้คืนเงินดังกล่าวกับทางราชการก่อนบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องนี้
4.2 ความหมายของคำว่า "ยังไม่ได้ทำงาน" ให้หมายความถึงกรณีที่ยังไม่ได้ทำงานใด ๆ ที่ระบุไว้ในสัญญา และให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
1) การเตรียมการเพื่อการก่อสร้างในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับเนื้องานตามสัญญา
2) การสำรวจออกแบบ
3) การจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้างทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงกรณีทีได้ดำเนินการแล้วโดยที่ทางราชการยังมิได้มีการจ่ายเงินค่าจ้าง และผู้รับจ้างยินยอมที่จะไม่เบิกเงินค่างานที่ได้ดำเนินการไปแล้วกับทางราชการ ก็ให้ถือเสมือนว่ายังไม่ได้ลงมือทำงาน (เฉพาะกรณีที่ผู้รับจ้างยื่นคำร้องขอยกเลิกสัญญาไว้กับทางราชการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
4.3 กรณีสัญญาอื่น ๆ เช่น ซื้อขายวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ คำว่า "ยังไม่ได้ทำงาน" ให้หมายความถึง กรณีที่ยังไม่มีการส่งมอบวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ตามสัญญาทั้งหมด หรือบางส่วน
4.4 สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้รับจ้างขอยกเลิกตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ข้อ 2 จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทางราชการ
ความหมายคำว่า "ความเสียหายอย่างร้ายแรง" ให้หมายความถึง การยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับทางราชการ ดังนี้
1) มีผลกระทบต่องาน แผนงาน หรือโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาล
2) มีผลกระทบต่องาน แผนงาน หรือโครงการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
3) มีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของสาธารณชนโดยส่วนรวม ที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น
4) มีผลกระทบต่องานต่อเนื่องส่วนอื่น ทำให้งานนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
5. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับและแหล่งที่มาของเงิน
5.1 กรณีค่าปรับได้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว ให้หน่วยงานคู่สัญญาดำเนินการตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 69125/2497 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2497 เรื่อง ระเบียบการหักรายรับ จ่ายขาด และการถอนคืนรายรับ ซึ่งจะให้ถอนคืนเป็น 2 กรณี
1) การขอถอนคืน และกระทรวงการคลังอนุมัติให้ถอนคืนภายในปีงบประมาณที่นำส่งคลัง
2) การขอถอนคืนเมื่อพ้นปีงบประมาณที่นำส่งคลัง ให้ถอนคืนจากเงินงบประมาณของเจ้าของรายรับ คือ คู่สัญญา
5.2 กรณีค่าปรับยังไม่ได้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หน่วยงานคู่สัญญาปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานนั้น ๆ
6. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ไม่มีผลย้อนหลัง"
6.1 "ไม่มีผลย้อนหลัง" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึงกรณีที่ได้มีการอนุมัติ หรือเห็นชอบให้มีการขยายระยะเวลา การคืนเงินค่าปรับ การงดเว้นค่าปรับ และการยกเลิกสัญญา ไปก่อนวันที่ 8 เมษายน 2541 (วันถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติตาม ว 70) แล้ว ให้ถือว่าการอนุมัติ หรือเห็นชอบดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ ตาม ว 200
6.2 การอนุมัติ หรือเห็นชอบตามคำขอใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี ว 200 ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะไม่ได้รับการยกเว้นจากคำว่า "ไม่มีผลย้อนหลัง" ตามข้อ 6.1
7. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ให้อนุโลมใช้เช่นเดียวกับสัญญาก่อสร้าง"
7.1 "ให้อนุโลมใช้เช่นเดียวกับสัญญาก่อสร้าง" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายควาถึง การอนุโลมใช้เฉพาะในเรื่องการขยายระยะเวลา การถอนการเสนอราคา การยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง การคืนค่าปรับ การงดเว้นค่าปรับ
7.2 ไม่ให้มีการนำสัญญาแบบปรับราคาได้มาใช้กับสัญญาอื่น ๆ นอกเหนือจากสัญญาก่อสร้าง
8. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "หัวหน้าส่วนราชการ"
8.1 "หัวหน้าส่วนรากชารเป็นผู้พิจารณานำเสนอขออนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ให้หมายความถึง อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หัวหน้าส่วนราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หมายความถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้พิจารณาโดยเสนอผ่านปลัดกระทรวง หรือปลัดทบวงเพื่อนำเสนอขออนุมัติรัฐมนตรีเจ้าสังกัดต่อไป
8.2 เนื่องจากการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีมีข้อจำกัดทางด้านระยะเวลา ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และเป็นไปโดยรวดเร็ว ให้มีการมอบอำนาจกันได้ในทุกขั้นตอน
9. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา"
9.1 คำว่า "ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึง กรณีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราโดยตรง หรือกรณีทีได้รับผลกระทบโดยอ้อม เช่น วิกฤติการณ์ทางด้านสถาบันการเงิน
9.2 กรณีของสัญญาอื่น ๆ นอกเหนือจากสัญญาก่อสร้าง เช่น การซื้อขายวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ให้ส่วนราชการพิจารณาผลกระทบโดยดูจากสภาพว่าเป็นสิ่งของที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด หรือบางส่วนหรือไม่
10. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษา
10.1 "ค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษา" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึง ค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษาที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ไม่รวมถึงการควบคุมงานที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจควบคุมงานเอง หรือควบคุมงานโดยส่วนราชการอื่นที่ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างเป็นค่าควบคุมงาน
10.2 การให้ผู้รับจ้างยินยอมให้หักค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้ผู้รับจ้างทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมไว้ ยกเว้นกรณีที่มีคำขอขยายระยะเวลาไว้ก่อนการเวียนแนวทางปฏิบัติฯ ฉบับนี้ ก็ให้ระบุเป็นเงื่อนไขไว้ในการอนุมัติ
10.3 ให้ผู้ว่าจ้างหักค่าควบคุมงานจากเงินค่างานของผู้รับจ้าง ทั้งนี้ ค่าจ้างจะต้องมีการคำนวณใหม่ตามความเป็นจริง
11. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ผู้ประกอบการคนไทย" และ "กิจการร่วมค้านิติบุคคลสัญชาติไทย"
11.1 "ผู้ประกอบการคนไทย" หมายความถึง บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลสัญชาติไทยที่มีคนไทยถือหุ้นหรือมีส่วนของความเป็นเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50
11.2 "กิจการร่วมค้านิติบุคคลสัญชาติไทย" หมายความถึง กิจการร่วมค้าที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทย โดยนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมีคนไทยถือหุ้น หรือมีส่วนของความเป็นเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสัญชาติไทยแต่มีคนไทยถือหุ้นหรือมีส่วนของความเป็นเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50 ด้วย
12. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิ Escalation Factor (K)
12.1 การใช้สิทธิ Escalation Factor (K) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม2532 กล่าวคือ สัญญาที่จะขอสิทธิใช้ Escalation Factor (K) ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งประกาศให้ผู้รับจ้างทราบ เช่น ในประกาศประกวดราคาฯและต้องระบุในสัญญาจ้างด้วยว่างานจ้างนั้น ๆ จะใช้สัญญาแบบปรับราคาได้พร้อมทั้งกำหนดประเภทของงานก่อสร้าง สูตรและวิธีคำนวณที่ให้มีการปรับเพิ่มหรือลดค่างานไว้ให้ชัดเจน ในกรณีที่มีงานก่อสร้างหลายประเภทในงานจ้างคราวเดียวกัน จะต้องแยกประเภทงานก่อสร้างแต่ละประเภทให้ชัดเจนตามลักษณะของงานก่อสร้างนั้น ๆ และให้สอดคล้องกับสูตรที่กำหนดไว้
12.2 ในกรณีให้มีการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ออกไป ไม่ถือว่าเป็นความผิดของผู้รับจ้าง เพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง ค่า K ตามสูตรต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการคำนวณค่างานให้ใช้ค่า K ของเดือนที่ส่งมอบงานจริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 พฤษภาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบการอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา (กกอ.) เสนอ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบการอาชีพงานอื่นกับทางราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 เพื่อการแก้ไขปัญหาข้างต้นโดยเร่งด่วน เนื่องจากมีเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ และให้หน่วยงานต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป รวม 12 แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ "นิติสัมพันธ์"
1.1 "นิติสัมพันธ์" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึงกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณีที่เกิดขึ้น ณ วันที่2 กรกฎาคม 2540 ดังต่อไปนี้
1) กรณีที่ยังไม่มีการส่งมอบงาน
2) กรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง/ตรวจรับยังไม่ตรวจรับงาน
1.2 กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการคู่สัญญาได้บอกเลิกสัญญาไปแล้วก่อนการยื่นขอขยายเวลา ให้ถือว่าไม่มีนิติสัมพันธ์กันตามความหมายนี้
1.3 กรณีที่อยู่ในช่วงรับประกันความชำรุดบกพร่อง หรือรับประกันผลงาน ให้ถือว่าไม่มีนิติสัมพันธ์กันตามความหมายนี้
2. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขยายเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี (ว 70)
2.1 กรณีสัญญาที่ได้มีการขยายเวลาไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม (ว 200) เต็มตามจำนวน 180 หรือ 120 วันไม่มีสิทธิขอขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีใหม่ (ว 70) อีก
2.2 กรณีผู้รับจ้างขอขยายเวลาเต็มจำนวน 180 หรือ 120 วัน และได้รับอนุมัติไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม(ว 200) ไม่เต็มตามจำนวนวัน 180 หรือ 120 วัน ไม่มีสิทธิขอขยายระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีใหม่ (ว 70) ให้ครบ 180 หรือ 120 วัน อีก
2.3 กรณีผู้รับจ้างมีสิทธิขอขยายเวลาได้ 180 หรือ 120 วัน แต่ขยายระยะเวลามาไม่ครบ 180 หรือ 120 วัน ให้อนุมัติเท่าจำนวนวันที่ผู้รับจ้างขอ โดยไม่ตัดสิทธิที่จะขอเพิ่มเติมให้ครบ 180 หรือ 120 วัน
2.4 กรณีสัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาเดียว แต่ในสัญญานั้นกำหนดเวลาแล้วเสร็จแยกปรับในแต่ละประเภทของงานออกจากกัน การขยายระยะเวลาสัญญาให้มีผลในงานแต่ละประเภทแยกกันเป็นเอกเทศเสมือนสัญญาคนละฉบับตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้
2.5 "อายุสัญญาเดิม" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ให้หมายความถึง อายุสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาที่ยังไม่มีการแก้ไข
2.6 กรณีการขยายอายุสัญญาสำหรับอายุสัญญาเดิมที่มีอายุไม่เกิน 180 หรือ 120 วัน หากมีการขยายอายุสัญญาด้วยเหตุตามระเบียบ หรือข้อกำหนดอื่นด้วย ระยะเวลาที่ขยายอายุสัญญาให้ตามระเบียบ หรือข้อกำหนดอื่นจะนำมาคำนวณรวมเป็นอายุสัญญาเดิมไม่ได้ ยกเว้น การแก้ไขสัญญาดังกล่าวเป็นการแก้ไขที่ทำให้มีการเพิ่ม หรือลดเนื้องานตามสัญญาเดิม ก็ให้นำรวม หรือลบออกจากอายุสัญญาเดิมได้ และให้มีความหมายเป็นอายุสัญญาเดิมตามข้อ 2.5
3. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนับเวลาตามมติคณะรัฐมนตรี
3.1 กรณีเรื่องใหม่ผู้รับจ้างต้องยื่นขอขยายเวลาเป็นหนังสือภายใน 30 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติผู้รับจ้างต้องยื่นหนังสือขอขยายเวลาภายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2541
3.2 การอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี กรณีที่ได้มีการยื่นเรื่องไว้แล้วภายในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ คือ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2541 ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ผู้มีอำนาจอนุมัติต้องอนุมัติภายในวันที่17 มิถุนายน 2541
กรณีที่ได้มีการยื่นเรื่องใหม่ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ผู้มีอำนาจอนุมัติต้องอนุมัติภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541
ทั้งนี้ คำว่า "เสร็จสิ้น" ให้หมายความถึง วันที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (ผู้อนุมัติ) ลงนามอนุมัติ
4. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนิรโทษ
4.1 การนิรโทษตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ในข้อ 2 ผู้เสนอราคาไว้กับทางราชการภายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และผู้เสนอราคาได้แจ้งความประสงค์ที่จะถอนการเสนอราคา หรือยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือต่อคู่สัญญาทราบภายใน 60 วันทำการ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ คือ ต้องแจ้งภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541 ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้รับจ้างรายใดได้รับเงินล่วงหน้า ก็ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขให้คืนเงินดังกล่าวกับทางราชการก่อนบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องนี้
4.2 ความหมายของคำว่า "ยังไม่ได้ทำงาน" ให้หมายความถึงกรณีที่ยังไม่ได้ทำงานใด ๆ ที่ระบุไว้ในสัญญา และให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
1) การเตรียมการเพื่อการก่อสร้างในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับเนื้องานตามสัญญา
2) การสำรวจออกแบบ
3) การจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้างทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงกรณีทีได้ดำเนินการแล้วโดยที่ทางราชการยังมิได้มีการจ่ายเงินค่าจ้าง และผู้รับจ้างยินยอมที่จะไม่เบิกเงินค่างานที่ได้ดำเนินการไปแล้วกับทางราชการ ก็ให้ถือเสมือนว่ายังไม่ได้ลงมือทำงาน (เฉพาะกรณีที่ผู้รับจ้างยื่นคำร้องขอยกเลิกสัญญาไว้กับทางราชการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
4.3 กรณีสัญญาอื่น ๆ เช่น ซื้อขายวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ คำว่า "ยังไม่ได้ทำงาน" ให้หมายความถึง กรณีที่ยังไม่มีการส่งมอบวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ตามสัญญาทั้งหมด หรือบางส่วน
4.4 สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้รับจ้างขอยกเลิกตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ข้อ 2 จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทางราชการ
ความหมายคำว่า "ความเสียหายอย่างร้ายแรง" ให้หมายความถึง การยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับทางราชการ ดังนี้
1) มีผลกระทบต่องาน แผนงาน หรือโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาล
2) มีผลกระทบต่องาน แผนงาน หรือโครงการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
3) มีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของสาธารณชนโดยส่วนรวม ที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น
4) มีผลกระทบต่องานต่อเนื่องส่วนอื่น ทำให้งานนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
5. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับและแหล่งที่มาของเงิน
5.1 กรณีค่าปรับได้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว ให้หน่วยงานคู่สัญญาดำเนินการตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 69125/2497 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2497 เรื่อง ระเบียบการหักรายรับ จ่ายขาด และการถอนคืนรายรับ ซึ่งจะให้ถอนคืนเป็น 2 กรณี
1) การขอถอนคืน และกระทรวงการคลังอนุมัติให้ถอนคืนภายในปีงบประมาณที่นำส่งคลัง
2) การขอถอนคืนเมื่อพ้นปีงบประมาณที่นำส่งคลัง ให้ถอนคืนจากเงินงบประมาณของเจ้าของรายรับ คือ คู่สัญญา
5.2 กรณีค่าปรับยังไม่ได้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หน่วยงานคู่สัญญาปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานนั้น ๆ
6. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ไม่มีผลย้อนหลัง"
6.1 "ไม่มีผลย้อนหลัง" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึงกรณีที่ได้มีการอนุมัติ หรือเห็นชอบให้มีการขยายระยะเวลา การคืนเงินค่าปรับ การงดเว้นค่าปรับ และการยกเลิกสัญญา ไปก่อนวันที่ 8 เมษายน 2541 (วันถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติตาม ว 70) แล้ว ให้ถือว่าการอนุมัติ หรือเห็นชอบดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ ตาม ว 200
6.2 การอนุมัติ หรือเห็นชอบตามคำขอใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี ว 200 ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะไม่ได้รับการยกเว้นจากคำว่า "ไม่มีผลย้อนหลัง" ตามข้อ 6.1
7. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ให้อนุโลมใช้เช่นเดียวกับสัญญาก่อสร้าง"
7.1 "ให้อนุโลมใช้เช่นเดียวกับสัญญาก่อสร้าง" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายควาถึง การอนุโลมใช้เฉพาะในเรื่องการขยายระยะเวลา การถอนการเสนอราคา การยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง การคืนค่าปรับ การงดเว้นค่าปรับ
7.2 ไม่ให้มีการนำสัญญาแบบปรับราคาได้มาใช้กับสัญญาอื่น ๆ นอกเหนือจากสัญญาก่อสร้าง
8. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "หัวหน้าส่วนราชการ"
8.1 "หัวหน้าส่วนรากชารเป็นผู้พิจารณานำเสนอขออนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ให้หมายความถึง อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หัวหน้าส่วนราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้หมายความถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้พิจารณาโดยเสนอผ่านปลัดกระทรวง หรือปลัดทบวงเพื่อนำเสนอขออนุมัติรัฐมนตรีเจ้าสังกัดต่อไป
8.2 เนื่องจากการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีมีข้อจำกัดทางด้านระยะเวลา ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และเป็นไปโดยรวดเร็ว ให้มีการมอบอำนาจกันได้ในทุกขั้นตอน
9. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา"
9.1 คำว่า "ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึง กรณีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราโดยตรง หรือกรณีทีได้รับผลกระทบโดยอ้อม เช่น วิกฤติการณ์ทางด้านสถาบันการเงิน
9.2 กรณีของสัญญาอื่น ๆ นอกเหนือจากสัญญาก่อสร้าง เช่น การซื้อขายวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ให้ส่วนราชการพิจารณาผลกระทบโดยดูจากสภาพว่าเป็นสิ่งของที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด หรือบางส่วนหรือไม่
10. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษา
10.1 "ค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษา" ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้หมายความถึง ค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษาที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ไม่รวมถึงการควบคุมงานที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจควบคุมงานเอง หรือควบคุมงานโดยส่วนราชการอื่นที่ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างเป็นค่าควบคุมงาน
10.2 การให้ผู้รับจ้างยินยอมให้หักค่าควบคุมงาน และหรือค่าจ้างที่ปรึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้ผู้รับจ้างทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมไว้ ยกเว้นกรณีที่มีคำขอขยายระยะเวลาไว้ก่อนการเวียนแนวทางปฏิบัติฯ ฉบับนี้ ก็ให้ระบุเป็นเงื่อนไขไว้ในการอนุมัติ
10.3 ให้ผู้ว่าจ้างหักค่าควบคุมงานจากเงินค่างานของผู้รับจ้าง ทั้งนี้ ค่าจ้างจะต้องมีการคำนวณใหม่ตามความเป็นจริง
11. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำว่า "ผู้ประกอบการคนไทย" และ "กิจการร่วมค้านิติบุคคลสัญชาติไทย"
11.1 "ผู้ประกอบการคนไทย" หมายความถึง บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลสัญชาติไทยที่มีคนไทยถือหุ้นหรือมีส่วนของความเป็นเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50
11.2 "กิจการร่วมค้านิติบุคคลสัญชาติไทย" หมายความถึง กิจการร่วมค้าที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทย โดยนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมีคนไทยถือหุ้น หรือมีส่วนของความเป็นเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสัญชาติไทยแต่มีคนไทยถือหุ้นหรือมีส่วนของความเป็นเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50 ด้วย
12. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิ Escalation Factor (K)
12.1 การใช้สิทธิ Escalation Factor (K) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม2532 กล่าวคือ สัญญาที่จะขอสิทธิใช้ Escalation Factor (K) ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งประกาศให้ผู้รับจ้างทราบ เช่น ในประกาศประกวดราคาฯและต้องระบุในสัญญาจ้างด้วยว่างานจ้างนั้น ๆ จะใช้สัญญาแบบปรับราคาได้พร้อมทั้งกำหนดประเภทของงานก่อสร้าง สูตรและวิธีคำนวณที่ให้มีการปรับเพิ่มหรือลดค่างานไว้ให้ชัดเจน ในกรณีที่มีงานก่อสร้างหลายประเภทในงานจ้างคราวเดียวกัน จะต้องแยกประเภทงานก่อสร้างแต่ละประเภทให้ชัดเจนตามลักษณะของงานก่อสร้างนั้น ๆ และให้สอดคล้องกับสูตรที่กำหนดไว้
12.2 ในกรณีให้มีการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ออกไป ไม่ถือว่าเป็นความผิดของผู้รับจ้าง เพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง ค่า K ตามสูตรต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการคำนวณค่างานให้ใช้ค่า K ของเดือนที่ส่งมอบงานจริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 พฤษภาคม 2541--