ทำเนียบรัฐบาล--10 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการจัดเตรียมยกร่างแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เป็นต้นไป ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การระดมความคิด ได้จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดรวม 2 ครั้ง เพื่อรับฟังความเห็นจากกลุ่มนักวิชาการ นักปรัชญา องค์กรเอกชน สื่อมวลชน และตัวแทนประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 และ 3 - 4 มีนาคม 2538
2. สรุปความเห็นหลักจากการสัมมนาตามข้อ 3.1 ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน แต่ความสำเร็จดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและเมืองใหม่ ๆ ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในแง่รายได้และความเจริญในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดปัญหาทางสังคมหลาย ๆ ประการ เช่น ยาเสพติด โสเภณี เป็นต้น
2.2 ปรัชญาและเป้าหมายการพัฒนา
1) ที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดเป้าหมายสังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคตโดยเน้นสังคมที่คนไทยมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง คนมีความรู้ และเป็นสังคมที่ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง ฯลฯ
2) เพื่อนำไปสู่สังคมไทยที่พึงปรารถนาดังกล่าวที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดเป้าหมายการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้ชัดเจนและมีความสมดุลกัน โดย เน้น "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ ทั้งทางร่างกายและจิตใจบนรากฐานของความเป็นไทย
2.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา : เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาข้างต้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาควรประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มเป้าหมาย อายุและเพศ
2) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของ "คน" ในกระบวนการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนชนบท และบทบาทของสตรี
3) ยุทธศาสตร์การสร้างสมรรถนะด้านเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง
4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
2.4 แนวความคิดการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลผลการประชุมสัมมนาทั้ง 2 ครั้งเข้าด้วยกันและสรุปเป็นเอกสารขั้นต้นที่จะใช้เป็นแนความคิดหลักในการจัดทำแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8
3. ขั้นตอนการดำเนินการต่อไป : เพื่อให้การยกร่างแผนในรายละเอียดประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการวางแผน และเป็นแผนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชาตินี้ ขั้นตอนการดำเนินการต่อไปจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
3.1 สัมมนาในระดับภูมิภาค : เพื่อเป็นการระดมความคิดโดยเน้นถึงลักษณะปัญหาของท้องถิ่น ซึ่งจะจัดสัมมนาในระดับภูมิภาค 9 ครั้ง ในระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2538 โดยผู้ร่วมสัมมนาจะมาจากทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งนักวิชาการและข้าราชการในระดับพื้นที่ และมีตัวแทนจากส่วนกลางเข้าร่วมโดยตลอดเพื่อประสานเชื่อมโยงผลการสัมมนาเข้าด้วยกัน
3.2 จัดตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะหลัก : เพื่อเตรียมยกร่างแผนในรายละเอียดตามประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะจากการระดมสมองของทุกฝ่ายที่ได้จากทั้งการเสวนา การสัมมนาระดับชาติ และระดับภูมิภาค คณะอนุกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นจะประกอบด้วย อนุกรรมการวางแผนพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศ อนุกรรมการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อนุกรรมการพัฒนาชนบททรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 พฤษภาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการจัดเตรียมยกร่างแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เป็นต้นไป ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การระดมความคิด ได้จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดรวม 2 ครั้ง เพื่อรับฟังความเห็นจากกลุ่มนักวิชาการ นักปรัชญา องค์กรเอกชน สื่อมวลชน และตัวแทนประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 และ 3 - 4 มีนาคม 2538
2. สรุปความเห็นหลักจากการสัมมนาตามข้อ 3.1 ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน แต่ความสำเร็จดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและเมืองใหม่ ๆ ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในแง่รายได้และความเจริญในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดปัญหาทางสังคมหลาย ๆ ประการ เช่น ยาเสพติด โสเภณี เป็นต้น
2.2 ปรัชญาและเป้าหมายการพัฒนา
1) ที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดเป้าหมายสังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคตโดยเน้นสังคมที่คนไทยมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง คนมีความรู้ และเป็นสังคมที่ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง ฯลฯ
2) เพื่อนำไปสู่สังคมไทยที่พึงปรารถนาดังกล่าวที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดเป้าหมายการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้ชัดเจนและมีความสมดุลกัน โดย เน้น "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ ทั้งทางร่างกายและจิตใจบนรากฐานของความเป็นไทย
2.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา : เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาข้างต้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาควรประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มเป้าหมาย อายุและเพศ
2) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของ "คน" ในกระบวนการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนชนบท และบทบาทของสตรี
3) ยุทธศาสตร์การสร้างสมรรถนะด้านเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง
4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
2.4 แนวความคิดการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลผลการประชุมสัมมนาทั้ง 2 ครั้งเข้าด้วยกันและสรุปเป็นเอกสารขั้นต้นที่จะใช้เป็นแนความคิดหลักในการจัดทำแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8
3. ขั้นตอนการดำเนินการต่อไป : เพื่อให้การยกร่างแผนในรายละเอียดประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการวางแผน และเป็นแผนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชาตินี้ ขั้นตอนการดำเนินการต่อไปจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
3.1 สัมมนาในระดับภูมิภาค : เพื่อเป็นการระดมความคิดโดยเน้นถึงลักษณะปัญหาของท้องถิ่น ซึ่งจะจัดสัมมนาในระดับภูมิภาค 9 ครั้ง ในระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2538 โดยผู้ร่วมสัมมนาจะมาจากทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งนักวิชาการและข้าราชการในระดับพื้นที่ และมีตัวแทนจากส่วนกลางเข้าร่วมโดยตลอดเพื่อประสานเชื่อมโยงผลการสัมมนาเข้าด้วยกัน
3.2 จัดตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะหลัก : เพื่อเตรียมยกร่างแผนในรายละเอียดตามประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะจากการระดมสมองของทุกฝ่ายที่ได้จากทั้งการเสวนา การสัมมนาระดับชาติ และระดับภูมิภาค คณะอนุกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นจะประกอบด้วย อนุกรรมการวางแผนพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศ อนุกรรมการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อนุกรรมการพัฒนาชนบททรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 พฤษภาคม 2538--