คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดตั้งกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และกองทุนเงินให้เปล่า ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และ กองทุนเงินให้เปล่า โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
2. อนุมัติในหลักการกำหนดวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 สำหรับกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) จำนวน 4,803,268,200 บาท และสำหรับกองทุนเงินให้เปล่าจำนวน 689,970,000 บาท รวมทั้งสิ้น 5,493,238,200 บาท ตามที่สำนักงบประมาณได้เสนอวงเงินสำหรับกองทุนที่ตั้งใหม่ ทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวไว้แล้ว และหากไม่เพียงพอให้ขออนุมัติใช้จากงบกลางได้ตามความจำเป็นเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า เป็นการสมควรที่จะปรับเปลี่ยนการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการจัดตั้งกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าแก่นักเรียนที่ยากจน และที่มีผลการเรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 เมษายน 2548 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการกู้ยืมได้ดังนี้
1. ยุติการให้กู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและอาชีพ) โดยจัดให้กองทุนแบบให้เปล่า หรือการช่วยเหลือในรูปแบบอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
2. ให้เงินกู้ยืมกับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี)
3. ให้สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าสำหรับนักเรียนยากจน และนักเรียนที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ
4. ให้กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดการด้านการรับชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งอาจทำได้โดยการแยกหน่วยงานขึ้นมาเป็นพิเศษภายในกรมสรรพากร และใช้ฐานข้อมูลของกรมสรรพากรพร้อมทั้งเสริมกำลังคนและทรัพยากรอื่นตามความจำเป็น
5. ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป
และจากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่มีต่อรัฐสภาด้านพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุน กรอ. (Income Contingent Loan : ICL) สนับสนุนการศึกษาของเยาวชน ตั้งแต่ ปวส. ถึงอุดมศึกษา โดยรัฐจะให้โอกาสในการศึกษาก่อนและผ่อนชำระเมื่อมีรายได้
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ประชุมหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ ในการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 เพื่อให้การกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ดำเนินการได้ทันตามกำหนดในปีการศึกษา 2549 โดยสำนักงบประมาณมีความเห็นว่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (7 เมษายน 2547) ยังไม่มีประเด็นที่ชัดเจนในเรื่องการให้จัดตั้ง 2 กองทุนฯ ดังกล่าว ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษาไม่สามารถประกาศบังคับใช้ได้ทันในขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 จึงมีความจำเป็นจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ไปก่อน โดยจะต้องรีบดำเนินการขออนุมัติในหลักการงบประมาณการจัดตั้งกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าจากคณะรัฐมนตรี พร้อมกับทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 เสนอต่อสำนักงบประมาณ เป็นลักษณะคู่ขนานด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
1. อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และ กองทุนเงินให้เปล่า โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
2. อนุมัติในหลักการกำหนดวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 สำหรับกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) จำนวน 4,803,268,200 บาท และสำหรับกองทุนเงินให้เปล่าจำนวน 689,970,000 บาท รวมทั้งสิ้น 5,493,238,200 บาท ตามที่สำนักงบประมาณได้เสนอวงเงินสำหรับกองทุนที่ตั้งใหม่ ทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวไว้แล้ว และหากไม่เพียงพอให้ขออนุมัติใช้จากงบกลางได้ตามความจำเป็นเหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า เป็นการสมควรที่จะปรับเปลี่ยนการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการจัดตั้งกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าแก่นักเรียนที่ยากจน และที่มีผลการเรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 เมษายน 2548 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักการและแนวทางการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการกู้ยืมได้ดังนี้
1. ยุติการให้กู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและอาชีพ) โดยจัดให้กองทุนแบบให้เปล่า หรือการช่วยเหลือในรูปแบบอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
2. ให้เงินกู้ยืมกับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (อนุปริญญา-ปริญญาตรี)
3. ให้สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าสำหรับนักเรียนยากจน และนักเรียนที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ
4. ให้กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดการด้านการรับชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งอาจทำได้โดยการแยกหน่วยงานขึ้นมาเป็นพิเศษภายในกรมสรรพากร และใช้ฐานข้อมูลของกรมสรรพากรพร้อมทั้งเสริมกำลังคนและทรัพยากรอื่นตามความจำเป็น
5. ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป
และจากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่มีต่อรัฐสภาด้านพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุน กรอ. (Income Contingent Loan : ICL) สนับสนุนการศึกษาของเยาวชน ตั้งแต่ ปวส. ถึงอุดมศึกษา โดยรัฐจะให้โอกาสในการศึกษาก่อนและผ่อนชำระเมื่อมีรายได้
สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ประชุมหารือร่วมกับสำนักงบประมาณ ในการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 เพื่อให้การกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ดำเนินการได้ทันตามกำหนดในปีการศึกษา 2549 โดยสำนักงบประมาณมีความเห็นว่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (7 เมษายน 2547) ยังไม่มีประเด็นที่ชัดเจนในเรื่องการให้จัดตั้ง 2 กองทุนฯ ดังกล่าว ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษาไม่สามารถประกาศบังคับใช้ได้ทันในขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 จึงมีความจำเป็นจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ไปก่อน โดยจะต้องรีบดำเนินการขออนุมัติในหลักการงบประมาณการจัดตั้งกองทุน กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่าจากคณะรัฐมนตรี พร้อมกับทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 เสนอต่อสำนักงบประมาณ เป็นลักษณะคู่ขนานด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--