มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 19, 2013 17:04 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดิน

และการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้อง โดยให้อยู่ภายใต้กระบวนการของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

สาระสำคัญของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 มีดังนี้

1. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ดังนี้

หน่วยงานรับผิดชอบ           รายละเอียด
(1) สำนักนายกรัฐมนตรี       กำหนดเป็นนโยบายหลักให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นวิธีการ
                         เดินทางระยะสั้นที่สำคัญ และทำหน้าที่ประสานงานหน่วยงานภาครัฐใน
                         การนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ
(2) กระทรวงคมนาคม        ส่งเสริมการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเดิน
                         เท้าและการใช้จักรยาน ให้ความรู้ที่เน้นให้ความสำคัญต่อผู้เดินเท้า
                         และผู้ใช้จักรยานทุกกลุ่มคนในการสอบเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด
(3) กระทรวงมหาดไทย       แก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม
   (3.1) องค์กร           อาคาร และข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ผู้เป็นเจ้าของอาคารขนาดใหญ่และ
ปกครองส่วนท้องถิ่น           อาคารสาธารณะรวมทั้งสถานีขนส่งสาธารณะ  ต้องจัดให้มีที่จอด
                         จักรยานที่สะดวก ปลอดภัย และเพียงพอ รวมถึงกำหนดให้จังหวัดมี
                         หน้าที่สนับสนุนการเดินเท้าและใช้จักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
   (3.2) กรมส่งเสริม       กำหนดให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นระเบียบวาระขององค์กร
การปกครองท้องถิ่น           ปกครองท้องถิ่น จัดทำโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อ
                         การเดินเท้า การใช้ทางเท้าและ การสัญจร ของคนพิการและการใช้
                         จักรยาน กำหนดพื้นที่จำกัดความเร็วของยานยนต์ และช่องทางการ
                         เดิน การใช้จักรยาน มีสัญลักษณ์และป้ายบอกชัดเจนในเขตชุมชน และ
                         ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง สร้างความ
                         ตื่นตัวและสนับสนุนกิจกรรม ด้านการเดินและการใช้จักรยานใน
                         ชีวิตประจำวันแก่สาธารณชน
(4) กระทรวงศึกษาธิการ      กำหนดให้สถานศึกษามีหลักสูตรให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการ
                         เดิน และการใช้จักรยาน เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้
                         สัญญาณมือ และไฟจักรยานกับผู้ขับขี่ให้ถูกต้อง ปลอดภัยและสนับสนุนให้
                         ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
                         อย่างต่อเนื่องแก่นักเรียนนักศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน ให้
                         เดินหรือใช้จักรยานในการเดินทางมาเรียน ด้วยการมีส่วนร่วมของ
                         นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน และจัดให้มีสิ่งอำนวยความ
                         สะดวกในการเดินและการใช้จักรยานภายในสถานศึกษา
(5) กระทรวงอุตสาหกรรม     ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและ
                         ให้บริการที่เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยาน และการใช้อุปกรณ์
                         เครื่องช่วยคนพิการในการเดินทาง ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และราคา
                         ที่เป็นธรรม
(6) กระทรวงสาธารณสุข      รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน และ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานอย่างต่อเนื่อง
(7) กระทรวงพลังงาน        มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์
                         ได้แก่ การเดินและการใช้จักรยาน และการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคน
                         พิการในการเดินทาง
(8) กระทรวงการ           สนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยจักรยานและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการที่พักมี
ท่องเที่ยวและกีฬา โดย        จักรยานให้บริการนักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(9) กระทรวงการคลัง        มีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้
                         ประชาชนใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
(10) สำนักงานกองทุน        รณรงค์ และสร้างองค์ความรู้เพื่อผลักดันนโยบาย และเพื่อสร้าง
สนับสนุนการสร้างเสริม        พฤติกรรมสุขภาพด้วยการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
สุขภาพ

2. มอบหมายสำนักนายกรัฐมนตรีสนับสนุนการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ดังนี้

2.1 สนับสนุนกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน” ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา (ร่าง) ข้อเสนอยุทธศาสตร์การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ใน 4 ด้าน ดังนี้

(1) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารและจัดการเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างและพัฒนาระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน

(3) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ด้วยมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และการเงิน

(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักตื่นตัวและทักษะ รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการความรู้ เกี่ยวกับการเดินและการใช้จักรยาน

2.2 สนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ และเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเฉพาะประเด็นเพื่อรับรองร่างยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ ให้เสร็จสิ้นภายใน ปี 2557

3. มอบหมายให้ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ ประสานกับภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการเดินและการใช้จักรยานและภาคีสมัชชาสุขภาพ สร้างเครือข่ายความร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ร่วมในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดระบบฯ รวมทั้งการให้คำปรึกษา คำแนะนำ การสนับสนุนทางวิชาการ การศึกษาดูงานเรียนรู้จากพื้นที่ที่ดำเนินงาน

4. ให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ