แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรี
สิทธิบัตร
ทำเนียบรัฐบาล--16 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดให้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็น "อธิบดี" ตามพระราชบัญญัตินี้
3. ปรับปรุงลักษณะของการประดิษฐ์ที่ให้ถือว่าเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วให้รวมถึงอนุสิทธิบัตรด้วย
4. กำหนดให้มีหลักประติบัติเยี่ยงคนชาติโดยให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรของคนชาติของประเทศภาคีความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีเช่นเดียวกับคนไทย
5. ให้คำขอรับสิทธิบัตรที่มีลักษณะตามที่กำหนดในความตกลงหรือความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิบัตร เป็นคำขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้
6. ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการห้ามเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ โดยมิให้ถือว่าการละทิ้งคำขอรับสิทธิบัตรเป็นข้อยกเว้นที่จะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์นั้น
7. ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการในการแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณา
8. กำหนดให้สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุสิทธิบัตรได้รับการคุ้มครองนับแต่วันขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร
9. ปรับปรุงบทบัญญัติในเรื่องข้อยกเว้นสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
10. ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการชำระค่าธรรมเนียมรายปีและค่าธรรมเนียมเพิ่ม และให้อำนาจคณะกรรมการในการพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมรายปี รวมทั้งกำหนดวิธีการในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีเป็นการล่วงหน้าโดยชำระทั้งหมดในคราวเดียว
11. กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของบุคคลอื่นทั้งโดยรัฐและเอกชน รวมทั้งกำหนดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรในการได้รับค่าตอบแทนและสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาล
12. กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิบัตรร่วม และผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในกรณีผู้ทรงสิทธิบัตรจะขอคืนสิทธิบัตรหรือยกเลิกข้อถือสิทธิ
13. ปรับปรุงเหตุแห่งการเพิกถอนสิทธิบัตร
14. ยกเลิกมาตรการสำหรับสิทธิบัตรยา
15. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิบัตร
16. กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในกรณีที่มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันในขณะเดียวกัน
17. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ
เนื่องจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยที่นานาประเทศได้ทำความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าและจัดตั้งองค์การการค้าโลกได้เสร็จสิ้นลงและมีผลใช้บังคับแล้ว ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีสมาชิกองค์การการค้าโลกมีพันธกรณีที่จะต้องออกกฎหมายอนุวัติการให้สอดคล้องกับความตกลงดังกล่าว เพื่อให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยที่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้นักประดิษฐ์ได้รับผลตอบแทนความมานะอุตสาหะอย่างเหมาะสม อันจะทำให้นักประดิษฐ์มีกำลังใจที่จะประดิษฐ์คิดค้นเพื่อความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้มีบทบัญญัติว่าด้วยอนุสิทธิบัตร ซึ่งให้การคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่ถึงขนาดที่จะได้รับสิทธิบัตรนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้นและแพร่หลายยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 16 กันยายน 2540--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดให้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็น "อธิบดี" ตามพระราชบัญญัตินี้
3. ปรับปรุงลักษณะของการประดิษฐ์ที่ให้ถือว่าเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วให้รวมถึงอนุสิทธิบัตรด้วย
4. กำหนดให้มีหลักประติบัติเยี่ยงคนชาติโดยให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรของคนชาติของประเทศภาคีความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีเช่นเดียวกับคนไทย
5. ให้คำขอรับสิทธิบัตรที่มีลักษณะตามที่กำหนดในความตกลงหรือความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิบัตร เป็นคำขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้
6. ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการห้ามเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ โดยมิให้ถือว่าการละทิ้งคำขอรับสิทธิบัตรเป็นข้อยกเว้นที่จะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์นั้น
7. ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการในการแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณา
8. กำหนดให้สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุสิทธิบัตรได้รับการคุ้มครองนับแต่วันขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร
9. ปรับปรุงบทบัญญัติในเรื่องข้อยกเว้นสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
10. ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการชำระค่าธรรมเนียมรายปีและค่าธรรมเนียมเพิ่ม และให้อำนาจคณะกรรมการในการพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมรายปี รวมทั้งกำหนดวิธีการในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีเป็นการล่วงหน้าโดยชำระทั้งหมดในคราวเดียว
11. กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของบุคคลอื่นทั้งโดยรัฐและเอกชน รวมทั้งกำหนดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรในการได้รับค่าตอบแทนและสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาล
12. กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิบัตรร่วม และผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในกรณีผู้ทรงสิทธิบัตรจะขอคืนสิทธิบัตรหรือยกเลิกข้อถือสิทธิ
13. ปรับปรุงเหตุแห่งการเพิกถอนสิทธิบัตร
14. ยกเลิกมาตรการสำหรับสิทธิบัตรยา
15. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิบัตร
16. กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรในกรณีที่มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันในขณะเดียวกัน
17. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ
เนื่องจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยที่นานาประเทศได้ทำความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าและจัดตั้งองค์การการค้าโลกได้เสร็จสิ้นลงและมีผลใช้บังคับแล้ว ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีสมาชิกองค์การการค้าโลกมีพันธกรณีที่จะต้องออกกฎหมายอนุวัติการให้สอดคล้องกับความตกลงดังกล่าว เพื่อให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยที่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้นักประดิษฐ์ได้รับผลตอบแทนความมานะอุตสาหะอย่างเหมาะสม อันจะทำให้นักประดิษฐ์มีกำลังใจที่จะประดิษฐ์คิดค้นเพื่อความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้มีบทบัญญัติว่าด้วยอนุสิทธิบัตร ซึ่งให้การคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่ถึงขนาดที่จะได้รับสิทธิบัตรนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้นและแพร่หลายยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 16 กันยายน 2540--