แท็ก
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะรัฐมนตรี
ข้าราชการ
ตุลาการ
ทำเนียบรัฐบาล--6 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาโดยด่วน ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมพ.ศ. ….
1.1 บัญญัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเฉพาะข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมเท่านั้น มิได้รวมถึงข้าราชการศาลยุติธรรม (ข้าราชการธุรการของศาลยุติธรรม) เว้นแต่เรื่องการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการแต่งตั้งข้าราชการศาลยุติธรรมให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการของ ก.ต.
1.2 ระบบบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม มิได้เป็นไปตามระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาและตุลาการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ จะนำระบบบัญชีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับมิได้"
1.3 กำหนดชื่อตำแหน่งข้าราชการตุลาการ โดยชื่อตำแหน่งข้าราชการตุลาการส่วนใหญ่จะเหมือนกับที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการฉบับปัจจุบัน เว้นแต่บางตำแหน่ง
1.4 กำหนดชั้นข้าราชการตุลาการตามลำดับอาวุโสของตำแหน่ง โดยกำหนดให้มี 5 ชั้น ซึ่งแตกต่างไปจากกฎหมายปัจจุบันซึ่งมี 9 ชั้น
1.5 จัดตั้งองค์กรควบคุมการใช้อำนาจหน้าที่และการใช้ดุลพินิจของ ก.ต. ในการพิจารณาแต่งตั้ง การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการลงโทษข้าราชการตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจ ก.ต. ว่า ก.ต. ต้องนำความเห็นของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามร่างมาตรา 45 วรรคสอง มาพิจารณาประกอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมการใช้ดุลพินิจของ ก.ต. ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว และเป็นไปตามมาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญฯ
1.6 กำหนดกลไกที่จะสร้างความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีโดย
(ก) การโยกย้ายข้าราชการตุลาการต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการตุลาการผู้นั้น เว้นแต่บางกรณี เช่น การโยกย้ายตามวาระหรือข้าราชการตุลาการนั้นถูกดำเนินการทางวินัย
(ข) กรณีประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปทำงานในตำแหน่งอื่นได้ ก็ต่อเมื่อเป็นการสั่งภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม (2) ตำแหน่งที่จะไปปฏิบัติราชการต้องไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ครองอยู่(3) กำหนดระยะเวลาอย่างสูงไว้หากเกินกว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าว ต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ต. และ (4) ต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการตุลาการผู้นั้นด้วย
1.7 บัญญัติแยกข้าราชการตุลาการออกจากข้าราชการศาลยุติธรรม (ข้าราชการธุรการ) โดยบัญญัติห้ามแต่งตั้งข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งหรือทำงานในตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการในร่างมาตรา 23 แห่งร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. ที่บัญญัติให้ข้าราชการตุลาการที่โอนไปเพื่อเป็นเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
1.8 กำหนดวิธีการได้มาซึ่งบุคคลที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการได้ 2 วิธี คือการสอบคัดเลือกและการทดสอบความรู้ โดยผู้ที่จะสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดซึ่งจะเหมือนกันทั้ง 2 กรณี ส่วนคุณวุฒิของผู้ที่สอบคัดเลือกนั้น จะแตกต่างไปจากผู้ที่เข้าทดสอบความรู้ และให้เลขานุการ ก.ต. (เลขานุการศาลฎีกา) เป็นผู้เสนอ ก.ต. เพื่อมีมติในการให้มีการสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้
1.9 การพ้นจากตำแหน่ง กำหนดเหตุของการพ้นจากตำแหน่งไว้ เช่น ตาย ลาออก เป็นต้น โดยจะต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
1.10 กำหนดองค์ประกอบ ที่มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุม และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคล (ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม)
1.11 กำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และวิธีการคัดเลือกดะโต๊ะยุติธรรม
1.12 กำหนดเรื่องวินัย การรักษาวินัยและการลงโทษข้าราชการตุลาการ
1.13 กำหนดโทษทางวินัยไว้ 4 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก โดยไม่มีโทษตัดเงินเดือนหรืองดการเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับระบบเงินเดือนข้าราชการตุลาการที่กำหนดไว้ว่าในแต่ละปีให้เลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการตุลาการโดยไม่มีการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ซึ่งเป็นหลักประกันความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษา
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ยกเลิกบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม รวมทั้งผู้แทนของข้าราชการตุลาการ (ก.ต.) ในคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการว่าด้วยความเป็นอิสระของศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2542 เรื่องบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม โดยประธานศาลฎีกาจะเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ตุลาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาโดยด่วน ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมพ.ศ. ….
1.1 บัญญัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเฉพาะข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมเท่านั้น มิได้รวมถึงข้าราชการศาลยุติธรรม (ข้าราชการธุรการของศาลยุติธรรม) เว้นแต่เรื่องการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการแต่งตั้งข้าราชการศาลยุติธรรมให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการของ ก.ต.
1.2 ระบบบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม มิได้เป็นไปตามระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาและตุลาการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ จะนำระบบบัญชีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับมิได้"
1.3 กำหนดชื่อตำแหน่งข้าราชการตุลาการ โดยชื่อตำแหน่งข้าราชการตุลาการส่วนใหญ่จะเหมือนกับที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการฉบับปัจจุบัน เว้นแต่บางตำแหน่ง
1.4 กำหนดชั้นข้าราชการตุลาการตามลำดับอาวุโสของตำแหน่ง โดยกำหนดให้มี 5 ชั้น ซึ่งแตกต่างไปจากกฎหมายปัจจุบันซึ่งมี 9 ชั้น
1.5 จัดตั้งองค์กรควบคุมการใช้อำนาจหน้าที่และการใช้ดุลพินิจของ ก.ต. ในการพิจารณาแต่งตั้ง การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการลงโทษข้าราชการตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจ ก.ต. ว่า ก.ต. ต้องนำความเห็นของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามร่างมาตรา 45 วรรคสอง มาพิจารณาประกอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมการใช้ดุลพินิจของ ก.ต. ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว และเป็นไปตามมาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญฯ
1.6 กำหนดกลไกที่จะสร้างความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีโดย
(ก) การโยกย้ายข้าราชการตุลาการต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการตุลาการผู้นั้น เว้นแต่บางกรณี เช่น การโยกย้ายตามวาระหรือข้าราชการตุลาการนั้นถูกดำเนินการทางวินัย
(ข) กรณีประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปทำงานในตำแหน่งอื่นได้ ก็ต่อเมื่อเป็นการสั่งภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม (2) ตำแหน่งที่จะไปปฏิบัติราชการต้องไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ครองอยู่(3) กำหนดระยะเวลาอย่างสูงไว้หากเกินกว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าว ต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ต. และ (4) ต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการตุลาการผู้นั้นด้วย
1.7 บัญญัติแยกข้าราชการตุลาการออกจากข้าราชการศาลยุติธรรม (ข้าราชการธุรการ) โดยบัญญัติห้ามแต่งตั้งข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งหรือทำงานในตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการในร่างมาตรา 23 แห่งร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. ที่บัญญัติให้ข้าราชการตุลาการที่โอนไปเพื่อเป็นเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
1.8 กำหนดวิธีการได้มาซึ่งบุคคลที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการได้ 2 วิธี คือการสอบคัดเลือกและการทดสอบความรู้ โดยผู้ที่จะสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดซึ่งจะเหมือนกันทั้ง 2 กรณี ส่วนคุณวุฒิของผู้ที่สอบคัดเลือกนั้น จะแตกต่างไปจากผู้ที่เข้าทดสอบความรู้ และให้เลขานุการ ก.ต. (เลขานุการศาลฎีกา) เป็นผู้เสนอ ก.ต. เพื่อมีมติในการให้มีการสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้
1.9 การพ้นจากตำแหน่ง กำหนดเหตุของการพ้นจากตำแหน่งไว้ เช่น ตาย ลาออก เป็นต้น โดยจะต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
1.10 กำหนดองค์ประกอบ ที่มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุม และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคล (ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม)
1.11 กำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และวิธีการคัดเลือกดะโต๊ะยุติธรรม
1.12 กำหนดเรื่องวินัย การรักษาวินัยและการลงโทษข้าราชการตุลาการ
1.13 กำหนดโทษทางวินัยไว้ 4 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก โดยไม่มีโทษตัดเงินเดือนหรืองดการเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับระบบเงินเดือนข้าราชการตุลาการที่กำหนดไว้ว่าในแต่ละปีให้เลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการตุลาการโดยไม่มีการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ซึ่งเป็นหลักประกันความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษา
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ยกเลิกบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม รวมทั้งผู้แทนของข้าราชการตุลาการ (ก.ต.) ในคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการว่าด้วยความเป็นอิสระของศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2542 เรื่องบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม โดยประธานศาลฎีกาจะเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ตุลาคม 2542--