ทำเนียบรัฐบาล--1 มี.ค.--บิสนิวส์
กระทรวงการต่างประเทศขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา การลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ตามข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน โดยหากมีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงเล็กน้อยในประเด็นซึ่งมิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามก็ให้สามารถดำเนินการไปได้เลย
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในความตกลงดังกล่าว เพื่อให้มี ผลบังคับใช้ต่อไป รวมทั้งลงนามพิธีสารประกาศการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามความตกลง ฯ
3. อนุมัติให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดพิธีลงนามความตกลงที่จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 5เมษายน 2538โดยมอบให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานซึ่งเป็นส่วนราชการที่ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง เป็นผู้รับผิดชอบในการเตรียมการและอนุมัติให้จัดประชุมคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วม ฯ(ลาว เวียดนาม และกัมพูชา) ขององค์การอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 5 และ 6 เมษายน 2538
4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในคณะมนตรี (Council) ของ Mekong Commission และอธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยา-ศาสตร์ ฯ เป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) โดยมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการต่าง ๆ ตามความตกลง รวมทั้งเจรจาจัดทำกฎเกณฑ์การใช้น้ำและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ภายในกรอบของความตกลงด้วย
ทั้งนี้ ตามที่ได้มีการลงนามระหว่างผู้แทนของ 4 ประเทศ คือ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม (5 ก.พ.36)เพื่อจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อเจรจาทำกรอบความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตจากนั้นคณะทำงานได้ดำเนินการเจรจาจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงไปทั้งหมด 5 รอบได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินและด้านเทคนิคจาก UNDP โดยสามารถตกลงกันได้ในทุกข้อบทของร่างความตกลง ฯ ในการเจรจารอบที่ 5 ผู้แทนของ 4 ประเทศ ได้ร่วมกันลงนามย่อไว้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 และตกลงที่จะเสนอร่างความตกลง ฯ ให้รัฐบาลของตนพิจารณาให้ความเห็นชอบสำหรับการลงนามให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ต่อไป ภายใน 90 วัน หลังจากวันที่ลงนามย่อ โดยได้ตกลงที่จะให้มีพิธีลงนามจริงที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทยต่อไป
อนึ่ง ร่างความตกลง ฯ ซึ่งได้ลงนามย่อไว้นั้น มีสาระสำคัญแบ่งเป็น 3 ส่วน สรุปได้ดังนี้
1. ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของความตกลง ฯ เพื่อร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ ด้าน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องด้วย
2. หลักเกณฑ์ในการใช้น้ำ ตกลงที่จะใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม ซึ่งมีข้อพิจารณาตามที่จะได้ตกลงกันต่อไป โดยประเทศภาคีมีพันธกรณีที่สำคัญที่จะต้องปฏิบัติก่อนการใช้น้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระดับการไหลของแม่น้ำโขงสายประธาน นอกจากนี้ ประเทศภาคีได้ตกลงที่จะร่วมมือกันรักษาระดับการไหลของน้ำในแม่น้ำสายประธานไว้ในระดับซึ่งจะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย และร่วมมือกันในการที่จะพยายามหลีกเลี่ยงและบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับปริมาณและคุณภาพของน้ำด้วย
3. การจัดตั้งองค์กรเพื่อดำเนินความร่วมมือ ตกลงให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Commission) ซึ่งจะมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศขึ้นมาแทนคณะกรรมการแม่น้ำโขงตามความตกลงฉบับเก่า
นอกจากนี้ ผลของการทำความตกลง ฯ จะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ถือได้ว่าเป็นการเริ่มศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในลุ่มน้ำโขง โดยเป็นการสร้างความสมดุลขึ้นใหม่ที่ทั้ง 4 ประเทศ ได้รับประโยชน์โดยถ้วนหน้า
2. เป็นนิมิตรหมายอันงามสำหรับการพัฒนาของทุกประเทศ ในยุคแห่งความร่วมมือ ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ความตึงเครียด
3. จีน และพม่า มีโอกาสเข้ามาร่วม
4. ทำให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสที่จะมีโครงการร่วมบนแม่น้ำสายประธานได้มากขึ้น
5. ทำให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากประเทศผู้บริจาคมากขึ้น
6. สำหรับไทยนั้น เป็นที่น่ายินดีว่าโครงการที่ไทยมีสำหรับปัจจุบันและสำหรับอนาคตสามารถดำเนินไปได้บนพื้นฐานกติกาใหม่ที่เห็นพ้องร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--
กระทรวงการต่างประเทศขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา การลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ตามข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน โดยหากมีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงเล็กน้อยในประเด็นซึ่งมิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามก็ให้สามารถดำเนินการไปได้เลย
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในความตกลงดังกล่าว เพื่อให้มี ผลบังคับใช้ต่อไป รวมทั้งลงนามพิธีสารประกาศการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามความตกลง ฯ
3. อนุมัติให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดพิธีลงนามความตกลงที่จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 5เมษายน 2538โดยมอบให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานซึ่งเป็นส่วนราชการที่ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง เป็นผู้รับผิดชอบในการเตรียมการและอนุมัติให้จัดประชุมคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วม ฯ(ลาว เวียดนาม และกัมพูชา) ขององค์การอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 5 และ 6 เมษายน 2538
4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในคณะมนตรี (Council) ของ Mekong Commission และอธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยา-ศาสตร์ ฯ เป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) โดยมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการต่าง ๆ ตามความตกลง รวมทั้งเจรจาจัดทำกฎเกณฑ์การใช้น้ำและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ภายในกรอบของความตกลงด้วย
ทั้งนี้ ตามที่ได้มีการลงนามระหว่างผู้แทนของ 4 ประเทศ คือ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม (5 ก.พ.36)เพื่อจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อเจรจาทำกรอบความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตจากนั้นคณะทำงานได้ดำเนินการเจรจาจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงไปทั้งหมด 5 รอบได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินและด้านเทคนิคจาก UNDP โดยสามารถตกลงกันได้ในทุกข้อบทของร่างความตกลง ฯ ในการเจรจารอบที่ 5 ผู้แทนของ 4 ประเทศ ได้ร่วมกันลงนามย่อไว้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 และตกลงที่จะเสนอร่างความตกลง ฯ ให้รัฐบาลของตนพิจารณาให้ความเห็นชอบสำหรับการลงนามให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ต่อไป ภายใน 90 วัน หลังจากวันที่ลงนามย่อ โดยได้ตกลงที่จะให้มีพิธีลงนามจริงที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทยต่อไป
อนึ่ง ร่างความตกลง ฯ ซึ่งได้ลงนามย่อไว้นั้น มีสาระสำคัญแบ่งเป็น 3 ส่วน สรุปได้ดังนี้
1. ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของความตกลง ฯ เพื่อร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ ด้าน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องด้วย
2. หลักเกณฑ์ในการใช้น้ำ ตกลงที่จะใช้น้ำอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม ซึ่งมีข้อพิจารณาตามที่จะได้ตกลงกันต่อไป โดยประเทศภาคีมีพันธกรณีที่สำคัญที่จะต้องปฏิบัติก่อนการใช้น้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระดับการไหลของแม่น้ำโขงสายประธาน นอกจากนี้ ประเทศภาคีได้ตกลงที่จะร่วมมือกันรักษาระดับการไหลของน้ำในแม่น้ำสายประธานไว้ในระดับซึ่งจะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย และร่วมมือกันในการที่จะพยายามหลีกเลี่ยงและบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับปริมาณและคุณภาพของน้ำด้วย
3. การจัดตั้งองค์กรเพื่อดำเนินความร่วมมือ ตกลงให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Commission) ซึ่งจะมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศขึ้นมาแทนคณะกรรมการแม่น้ำโขงตามความตกลงฉบับเก่า
นอกจากนี้ ผลของการทำความตกลง ฯ จะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ถือได้ว่าเป็นการเริ่มศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในลุ่มน้ำโขง โดยเป็นการสร้างความสมดุลขึ้นใหม่ที่ทั้ง 4 ประเทศ ได้รับประโยชน์โดยถ้วนหน้า
2. เป็นนิมิตรหมายอันงามสำหรับการพัฒนาของทุกประเทศ ในยุคแห่งความร่วมมือ ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ความตึงเครียด
3. จีน และพม่า มีโอกาสเข้ามาร่วม
4. ทำให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสที่จะมีโครงการร่วมบนแม่น้ำสายประธานได้มากขึ้น
5. ทำให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากประเทศผู้บริจาคมากขึ้น
6. สำหรับไทยนั้น เป็นที่น่ายินดีว่าโครงการที่ไทยมีสำหรับปัจจุบันและสำหรับอนาคตสามารถดำเนินไปได้บนพื้นฐานกติกาใหม่ที่เห็นพ้องร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538--