แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยแบบเครื่องหมาย การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมที่เห็นควรแก้ไขถ้อยคำในร่างกฎกระทรวง เช่น เปลี่ยน คำว่า “แต่” ในหน้า 2 ย่อหน้าที่ 1 บรรทัดที่ 1 เป็น “การใช้ยานพาหนะเพื่อวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะในเวลา ...” เปลี่ยนคำว่า “อาจ” ในร่างข้อ 5 เป็น “เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้องนำยานพาหนะไปแก้ไขปรับปรุง ...” เป็นต้นไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยแบบเครื่องหมาย การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2. ในกรณีที่ยานพาหนะถูกทำเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” ขณะมีผู้โดยสาร สัตว์ หรือสิ่งของบรรทุกอยู่ในยานพาหนะนั้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะใช้ยานพาหนะเพื่อการนั้นได้ต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็น แต่ต้อง ไม่เกิน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ถูกทำเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว”
3. ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะที่ถูกสั่งห้ามใช้ชั่วคราวนำยานพาหนะมาใช้โดยฝ่าฝืน วัตถุประสงค์ตามร่างข้อ 3 หรือฝ่าฝืนร่างข้อ 4 และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบแล้วเห็นว่ายานพาหนะนั้นยังคง ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุม หรือยังไม่สามารถแก้ไขสภาพที่ก่อให้เกิดมลพิษดังกล่าวได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งห้ามใช้เด็ดขาดและทำเครื่องหมาย “ห้ามใช้เด็ดขาด” ไว้ที่ยานพาหนะนั้นแทนเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว”
4. กำหนดให้เครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” และเครื่องหมาย “ห้ามใช้เด็ดขาด” เป็นไปตามแบบ ทส. 1 และแบบ ทส. 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้
5. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” หรือ “ห้ามใช้เด็ดขาด” ดังนี้ รถยนต์ให้ติดไว้ที่ด้านนอกของกระจกบังลมด้านหน้าซ้ายมือของผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์ให้ติดไว้ที่ด้านข้างของถังน้ำมันทั้งสองข้าง เรือให้ติดไว้ที่กราบเรือทั้งสองข้าง และในกรณีที่ไม่สามารถติดเครื่องหมายได้ ให้ติดไว้ในที่สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า กฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานในการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว จึงมีข้อกำหนดบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน และไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบกับได้มีการปฏิรูประบบราชการ โดยโอนภารกิจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยแบบเครื่องหมาย การทำและการยกเลิกเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2. ในกรณีที่ยานพาหนะถูกทำเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” ขณะมีผู้โดยสาร สัตว์ หรือสิ่งของบรรทุกอยู่ในยานพาหนะนั้น ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะใช้ยานพาหนะเพื่อการนั้นได้ต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็น แต่ต้อง ไม่เกิน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ถูกทำเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว”
3. ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะที่ถูกสั่งห้ามใช้ชั่วคราวนำยานพาหนะมาใช้โดยฝ่าฝืน วัตถุประสงค์ตามร่างข้อ 3 หรือฝ่าฝืนร่างข้อ 4 และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบแล้วเห็นว่ายานพาหนะนั้นยังคง ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุม หรือยังไม่สามารถแก้ไขสภาพที่ก่อให้เกิดมลพิษดังกล่าวได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งห้ามใช้เด็ดขาดและทำเครื่องหมาย “ห้ามใช้เด็ดขาด” ไว้ที่ยานพาหนะนั้นแทนเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว”
4. กำหนดให้เครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” และเครื่องหมาย “ห้ามใช้เด็ดขาด” เป็นไปตามแบบ ทส. 1 และแบบ ทส. 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้
5. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดเครื่องหมาย “ห้ามใช้ชั่วคราว” หรือ “ห้ามใช้เด็ดขาด” ดังนี้ รถยนต์ให้ติดไว้ที่ด้านนอกของกระจกบังลมด้านหน้าซ้ายมือของผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์ให้ติดไว้ที่ด้านข้างของถังน้ำมันทั้งสองข้าง เรือให้ติดไว้ที่กราบเรือทั้งสองข้าง และในกรณีที่ไม่สามารถติดเครื่องหมายได้ ให้ติดไว้ในที่สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า กฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานในการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว จึงมีข้อกำหนดบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน และไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบกับได้มีการปฏิรูประบบราชการ โดยโอนภารกิจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--