แท็ก
ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง
สภาผู้แทนราษฎร
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--12 ม.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ตามมาตรา 30 วรรคสาม และมาตรา 30 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ข้าราชการประจำซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมืองเมื่อออกหรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง จะมีสิทธินับเวลาราชการต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ เป็นเหตุให้บำนาญในครั้งหลังมีอัตราสูงมาก เนื่องจากฐานอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองสูงกว่าข้าราชการประจำมาก เมื่อนำอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองมาคำนวณบำนาญ ทำให้บำนาญรายเดือนมีอัตราสูงขึ้น เป็นภาระกับงบประมาณเป็นอย่างมาก
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ระหว่างการชะลอตัว การจัดเก็บรายได้ของรัฐยังไม่เป็นไปตามประมาณการที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายบุคคลในภาครัฐ รวมทั้งการลดภาระงบประมาณในส่วนนี้ เห็นสมควรแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จบำนาญของข้าราชการการเมืองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการคลังในปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติในฐานะข้าราชการการเมือง (โดยไม่รวมถึงข้าราชการประจำ) หรือผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หากภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง สามารถนับเวลาราชการต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้
2. ข้าราชการประจำ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ ถ้าภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง เมื่อผู้นั้นออกหรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือนและระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง บำนาญในตอนเป็นข้าราชการการเมืองนี้จะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
3. สิทธิในบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น กรณีกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้รับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาในประเด็นการเกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างข้าราชการการเมืองผู้เคยเป็นข้าราชการประจำกับผู้ไม่เคยเป็นข้าราชการประจำเพราะสิทธิรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการการเมืองผู้เคยเป็นข้าราชการประจำเกิดทันทีที่เข้าดำรงตำแหน่ง ไม่ว่าการดำรงตำแหน่งจะครบ 1 ปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ในขณะที่สิทธิดังกล่าวของข้าราชการการเมืองผู้ไม่เคยเป็นข้าราชการประจำจะเกิดเมื่อดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองมารวมกันไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์ แล้วแต่กรณี จึงเห็นควรแก้ไขให้ข้าราชการการเมืองผู้เคยเป็นข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งอย่างน้อย 1 ปี หรือ 4 ปี แล้วแต่กรณี จึงมีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญในฐานะข้าราชการการเมืองเช่นเดียวกับข้าราชการการเมืองผู้ไม่เคยเป็นข้าราชการประจำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มกราคม 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ตามมาตรา 30 วรรคสาม และมาตรา 30 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ข้าราชการประจำซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมืองเมื่อออกหรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง จะมีสิทธินับเวลาราชการต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ เป็นเหตุให้บำนาญในครั้งหลังมีอัตราสูงมาก เนื่องจากฐานอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองสูงกว่าข้าราชการประจำมาก เมื่อนำอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองมาคำนวณบำนาญ ทำให้บำนาญรายเดือนมีอัตราสูงขึ้น เป็นภาระกับงบประมาณเป็นอย่างมาก
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ระหว่างการชะลอตัว การจัดเก็บรายได้ของรัฐยังไม่เป็นไปตามประมาณการที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายบุคคลในภาครัฐ รวมทั้งการลดภาระงบประมาณในส่วนนี้ เห็นสมควรแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จบำนาญของข้าราชการการเมืองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการคลังในปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติในฐานะข้าราชการการเมือง (โดยไม่รวมถึงข้าราชการประจำ) หรือผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หากภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง สามารถนับเวลาราชการต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้
2. ข้าราชการประจำ หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ ถ้าภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง เมื่อผู้นั้นออกหรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือนและระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง บำนาญในตอนเป็นข้าราชการการเมืองนี้จะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
3. สิทธิในบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น กรณีกลับเข้ารับราชการใหม่เป็นข้าราชการการเมือง ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้รับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาในประเด็นการเกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างข้าราชการการเมืองผู้เคยเป็นข้าราชการประจำกับผู้ไม่เคยเป็นข้าราชการประจำเพราะสิทธิรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการการเมืองผู้เคยเป็นข้าราชการประจำเกิดทันทีที่เข้าดำรงตำแหน่ง ไม่ว่าการดำรงตำแหน่งจะครบ 1 ปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ในขณะที่สิทธิดังกล่าวของข้าราชการการเมืองผู้ไม่เคยเป็นข้าราชการประจำจะเกิดเมื่อดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองมารวมกันไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์ แล้วแต่กรณี จึงเห็นควรแก้ไขให้ข้าราชการการเมืองผู้เคยเป็นข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งอย่างน้อย 1 ปี หรือ 4 ปี แล้วแต่กรณี จึงมีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญในฐานะข้าราชการการเมืองเช่นเดียวกับข้าราชการการเมืองผู้ไม่เคยเป็นข้าราชการประจำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มกราคม 2542--