แท็ก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงศึกษาธิการ
ทบวงมหาวิทยาลัย
กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อการตัดสินใจทางการเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยรายละเอียดด้านงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ และให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. ให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาในการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2. ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทบวงมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและประสานงานในการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อการตัดสินใจทางการเมืองและการปกป้องคุ้มครองประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นแกนกลาง
3. ให้คณะกรรมการอำนวยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อการตัดสินใจทางการเมืองและการปกป้องคุ้มครองประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เป็นองค์กรในการกำหนดนโยบายและแนวทางให้บังเกิดผลตามเป้าหมาย
4. ให้คณะกรรมการดำเนินการ 2 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อการตัดสินใจทางการเมือง และคณะกรรมการดำเนินการปกป้องคุ้มครองประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน มีหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบายและแนวทางของคณะกรรมการอำนวยการและกำกับ ดูแล การดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย
5. ให้จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่าง ๆ โดยจัดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการในระดับจังหวัด และคณะกรรมการดำเนินการในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอตามลำดับเป็นผู้ดำเนินการ และกำกับ ดูแล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. ให้สำนักงบประมาณ รวมทั้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับพิจารณาตั้งและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการอบรมสัมมนา การจัดทำคู่มือและเอกสารในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการบริหารโครงการดังกล่าว
7. ให้รายงานผลการปฏิบัติในทุก 3 เดือน เพื่อให้การติดตามและประเมินผลเป็นไปอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง และบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างจริงจัง
การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดังนี้
1. มาตรา 76 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
2. มาตรา 136 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
3. มาตรา 145 คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์กรเอกชนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อการตัดสินใจทางการเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยรายละเอียดด้านงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ และให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. ให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาในการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2. ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทบวงมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและประสานงานในการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อการตัดสินใจทางการเมืองและการปกป้องคุ้มครองประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นแกนกลาง
3. ให้คณะกรรมการอำนวยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อการตัดสินใจทางการเมืองและการปกป้องคุ้มครองประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เป็นองค์กรในการกำหนดนโยบายและแนวทางให้บังเกิดผลตามเป้าหมาย
4. ให้คณะกรรมการดำเนินการ 2 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อการตัดสินใจทางการเมือง และคณะกรรมการดำเนินการปกป้องคุ้มครองประชาชนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน มีหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบายและแนวทางของคณะกรรมการอำนวยการและกำกับ ดูแล การดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย
5. ให้จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่าง ๆ โดยจัดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการในระดับจังหวัด และคณะกรรมการดำเนินการในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอตามลำดับเป็นผู้ดำเนินการ และกำกับ ดูแล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. ให้สำนักงบประมาณ รวมทั้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับพิจารณาตั้งและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการอบรมสัมมนา การจัดทำคู่มือและเอกสารในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการบริหารโครงการดังกล่าว
7. ให้รายงานผลการปฏิบัติในทุก 3 เดือน เพื่อให้การติดตามและประเมินผลเป็นไปอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง และบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้อย่างจริงจัง
การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดังนี้
1. มาตรา 76 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
2. มาตรา 136 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
3. มาตรา 145 คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์กรเอกชนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กันยายน 2541--