ทำเนียบรัฐบาล--26 พ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2541 - 31 มีนาคม 2542 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงาน
1.1 การดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานมีผลกำไรสุทธิจำนวน 368,579.68 บาท และงวดตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2539 เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป รวมทั้งการดำเนินงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานที่ผ่านมาไม่ปรากฏหนี้ค้างชำระและหนี้สูญ ส่วนงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.2 ได้ติดตามประเมินผลสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 6 สหกรณ์ ปรากฏว่าสหกรณ์นำเงินกู้ไปใช้ตรงตรมวัตถุประสงค์ทั้ง 6 สหกรณ์
1.3 จัดทำประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ในอัตราคงที่นับตั้งแต่วันที่รับเงิน จนถึงสิ้นสุดสัญญากู้เป็นการคิดในอัตราที่เปลี่ยนแปลงไปตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด คิดกับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลบด้วย 2 เปอร์เซ็นต์ (MRR-2) ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ผู้กู้จะได้รับประโยชน์จากเดิมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
1.4 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน พร้อมทั้งประกาศวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ โดยการจัดส่งเอกสารไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการโดยตรง และหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
1.5 ประสานความร่วมมือกับชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมสหกรณ์และมูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์ โดยการรณรงค์เชิงรุกเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ เพื่อให้ผูใช้แรงงานและผู้ประกอบการเล็งเห็นประโยชน์ของการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น และในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น จำนวน 8 แห่ง ทำให้ปัจจุบันมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการรวมทั้งสิ้น 301 แห่ง
2. ปัญหาและอุปสรรค
2.1 สถานประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจมีการลดกำลังการผลิต ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการได้รับผลกระทบโดยตรง การบริหารงานภายในสหกรณ์ต้องเพิ่มความระมัดระวังและไม่กู้ยืมเงินจากแหล่งภายนอกซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้แก่สหกรณ์
2.2 ภาวะของตลาดเงินปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีอัตราต่ำทำให้สมาชิกสหกรณ์ย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำฝากในสหกรณ์ออมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สหกรณ์ส่วนใหญ่มีทุนหมุนเวียนเพียงพอ สามารถให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกที่เดือดร้อน โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอก
2.3 จำนวนสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมีจำนวน 301 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนน้อยและบางแห่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีเงินเหลือจึงไม่กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกเช่นกัน
3. แนวทางแก้ไข
3.1 ร่วมมือกับองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้าง โดยการแทรกหัวข้อหลักการสหกรณ์และประโยชน์ที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับเมื่อมีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ พร้อมทั้งกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานจะให้การสนับสนุนสหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งในสถานประกอบการอย่างไร ในการประชุมสัมมนาที่องค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างจัดให้มีขึ้น
3.2 ขอความร่วมมือจากนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้ารับการอบรมสัมมนาที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกันจัดให้มีขึ้น เพื่อให้ลูกจ้างมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสหกรณ์อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น
3.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ประโยชน์ที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับจากการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและการใช้สิทธิในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานโดยใช้สื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 พฤษภาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2541 - 31 มีนาคม 2542 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงาน
1.1 การดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานมีผลกำไรสุทธิจำนวน 368,579.68 บาท และงวดตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2539 เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป รวมทั้งการดำเนินงานกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานที่ผ่านมาไม่ปรากฏหนี้ค้างชำระและหนี้สูญ ส่วนงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.2 ได้ติดตามประเมินผลสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 6 สหกรณ์ ปรากฏว่าสหกรณ์นำเงินกู้ไปใช้ตรงตรมวัตถุประสงค์ทั้ง 6 สหกรณ์
1.3 จัดทำประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ในอัตราคงที่นับตั้งแต่วันที่รับเงิน จนถึงสิ้นสุดสัญญากู้เป็นการคิดในอัตราที่เปลี่ยนแปลงไปตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด คิดกับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลบด้วย 2 เปอร์เซ็นต์ (MRR-2) ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ผู้กู้จะได้รับประโยชน์จากเดิมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
1.4 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน พร้อมทั้งประกาศวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ โดยการจัดส่งเอกสารไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการโดยตรง และหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
1.5 ประสานความร่วมมือกับชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมสหกรณ์และมูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์ โดยการรณรงค์เชิงรุกเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ เพื่อให้ผูใช้แรงงานและผู้ประกอบการเล็งเห็นประโยชน์ของการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น และในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น จำนวน 8 แห่ง ทำให้ปัจจุบันมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการรวมทั้งสิ้น 301 แห่ง
2. ปัญหาและอุปสรรค
2.1 สถานประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจมีการลดกำลังการผลิต ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการได้รับผลกระทบโดยตรง การบริหารงานภายในสหกรณ์ต้องเพิ่มความระมัดระวังและไม่กู้ยืมเงินจากแหล่งภายนอกซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้แก่สหกรณ์
2.2 ภาวะของตลาดเงินปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีอัตราต่ำทำให้สมาชิกสหกรณ์ย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำฝากในสหกรณ์ออมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สหกรณ์ส่วนใหญ่มีทุนหมุนเวียนเพียงพอ สามารถให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกที่เดือดร้อน โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอก
2.3 จำนวนสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมีจำนวน 301 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนน้อยและบางแห่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีเงินเหลือจึงไม่กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกเช่นกัน
3. แนวทางแก้ไข
3.1 ร่วมมือกับองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้าง โดยการแทรกหัวข้อหลักการสหกรณ์และประโยชน์ที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับเมื่อมีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ พร้อมทั้งกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานจะให้การสนับสนุนสหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งในสถานประกอบการอย่างไร ในการประชุมสัมมนาที่องค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างจัดให้มีขึ้น
3.2 ขอความร่วมมือจากนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้ารับการอบรมสัมมนาที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกันจัดให้มีขึ้น เพื่อให้ลูกจ้างมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสหกรณ์อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น
3.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ประโยชน์ที่นายจ้างและลูกจ้างจะได้รับจากการมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและการใช้สิทธิในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานโดยใช้สื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 พฤษภาคม 2542--