ทำเนียบรัฐบาล--15 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายและมาตรการในหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มีหลักการสำคัญ รวม 3 ประการ ดังนี้
1. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนของการคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อย ให้ผู้ถือหุ้นส่วนรายย่อยสามารถใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นได้อย่างแท้จริง ดังนี้
1.1 กำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อมิให้การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นขึ้นอยู่กับประธานกรรมการแต่เพียงผู้เดียว
1.2 ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับรายละเอียดของหนังสือนัดประชุม
1.3 กำหนดให้บริษัทเปิดเผยรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.4 กำหนดให้บริษัทสามารถรับซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่เห็นชอบกับมติของที่ประชุมบริษัทคืนได้ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม
1.5 แก้ไขจำนวนหุ้นขั้นต่ำที่ผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิฟ้องศาลให้ต่ำลง
1.6 เพิ่มเติมบทบัญญัติให้ศาลเข้ามามีบทบาทและอำนาจในการสั่งดำเนินการในกรณีต่าง ๆ ที่ผู้ถือหุ้นอาจใช้สิทธิของตนได้
2. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนบทบาทและความรับผิดชอบของกรรมการเพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการให้มีความชัดเจน และเพื่อกำกับดูแลมิให้ผู้บริหารของบริษัทอาศัยช่องทางไปใช้ในการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินออกจากบริษัทหรือกระทำการอื่นในลักษณะเอาเปรียบ (non - controlling shareholder) ได้ ดังนี้ 2.1 กำหนดแนวทางการดำเนินการของกรรมการที่แสดงให้เห็นว่าได้ใช้ความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาประโยชน์ของบริษัทแล้ว
2.2 กำหนดแนวทางการกำกับการทำธุรกรรม ที่กรรมการผู้บริหารหรือฝ่ายจัดการหรือผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมมีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะในเรื่องส่วนได้เสียสิทธิพิเศษอย่างชัดเจนและครอบคลุมกรณีที่กรรมการอาจมี conflict of interest มากขึ้น
3. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนที่อาจเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจเอกชนให้สอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่องปัญหาและอุปสรรคการขายหนี้ที่มีปัญหาการขายหุ้นที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุนหรือการบริหารหนี้ที่ได้มีการแปลงเป็นทุน โดยผู้บริหารมืออาชีพแทนสถาบันการเงิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายและมาตรการในหนังสือแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับนโยบายเพื่อการพัฒนา (LDP) และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มีหลักการสำคัญ รวม 3 ประการ ดังนี้
1. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนของการคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อย ให้ผู้ถือหุ้นส่วนรายย่อยสามารถใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นได้อย่างแท้จริง ดังนี้
1.1 กำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อมิให้การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นขึ้นอยู่กับประธานกรรมการแต่เพียงผู้เดียว
1.2 ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับรายละเอียดของหนังสือนัดประชุม
1.3 กำหนดให้บริษัทเปิดเผยรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.4 กำหนดให้บริษัทสามารถรับซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่เห็นชอบกับมติของที่ประชุมบริษัทคืนได้ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม
1.5 แก้ไขจำนวนหุ้นขั้นต่ำที่ผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิฟ้องศาลให้ต่ำลง
1.6 เพิ่มเติมบทบัญญัติให้ศาลเข้ามามีบทบาทและอำนาจในการสั่งดำเนินการในกรณีต่าง ๆ ที่ผู้ถือหุ้นอาจใช้สิทธิของตนได้
2. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนบทบาทและความรับผิดชอบของกรรมการเพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการให้มีความชัดเจน และเพื่อกำกับดูแลมิให้ผู้บริหารของบริษัทอาศัยช่องทางไปใช้ในการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินออกจากบริษัทหรือกระทำการอื่นในลักษณะเอาเปรียบ (non - controlling shareholder) ได้ ดังนี้ 2.1 กำหนดแนวทางการดำเนินการของกรรมการที่แสดงให้เห็นว่าได้ใช้ความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาประโยชน์ของบริษัทแล้ว
2.2 กำหนดแนวทางการกำกับการทำธุรกรรม ที่กรรมการผู้บริหารหรือฝ่ายจัดการหรือผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมมีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะในเรื่องส่วนได้เสียสิทธิพิเศษอย่างชัดเจนและครอบคลุมกรณีที่กรรมการอาจมี conflict of interest มากขึ้น
3. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนที่อาจเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจเอกชนให้สอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่องปัญหาและอุปสรรคการขายหนี้ที่มีปัญหาการขายหุ้นที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุนหรือการบริหารหนี้ที่ได้มีการแปลงเป็นทุน โดยผู้บริหารมืออาชีพแทนสถาบันการเงิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 มิถุนายน 2542--