ทำเนียบรัฐบาล--วันที่ 9 ตุลาคม 2539--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง ขอความเห็นชอบในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปค ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปค ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อนุมัติให้สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจัดสรรเงินอุดหนุนประจำปีแก่ศูนย์ศึกษาเอเปคในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป โดยให้ศูนย์ฯ ดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามระเบียบของศูนย์ฯ ที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ
3. อนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศูนย์ศึกษาเอเปค ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 - 2544 ในวงเงิน 66,529,000.70 บาท
4. อนุมัติให้นำเงินรายได้อันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ศึกษาเอเปค มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
5. อนุมัติให้ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจมาร่วมปฏิบัติงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา ณ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติงานหรือปฏิบัติราชการตามปกติ
โดยพิจารณาเห็นว่า
1. การจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคเป็นไปตามข้อผูกพันที่รัฐบาลไทยมีต่อที่ประชุม APEC Leaders Education Initiatives ที่เมืองซีแอตเติ้ล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ฯ ดังนี้
1.1 จัดประชุมหารือกับผู้แทนมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนและความสนใจด้านภูมิภาคศึกษา และผู้แทนจากระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกำหนดรูปแบบและลักษณะการดำเนินงานของศูนย์ฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2538
1.2 จัดทำข้อกำหนดการดำเนินงาน (Terms of Reference) ของศูนย์ฯ
1.3 ผลการประชุมมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมมีมติให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนของกลุ่มความร่วมมือมหาวิทยาลัยในการจัดตั้ง APEC Study Center ในประเทศไทย และให้เตรียมเอกสารโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.4 เข้าร่วมประชุม APEC Study Center ในระดับภูมิภาคตามวาระ
2. การจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคเป็นความร่วมมือของกลุ่มมหาวิทยาลัย/สถาบัน (Consortium of universities) โดยมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ตั้ง (Host) ของศูนย์ฯ ศูนย์ศึกษาเอเปคจะทำหน้าที่เป็นศูนย์วิชาการ ศูนย์ข้อมูลศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์ประสานงานเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายคือ นักวิชาการ นักศึกษา นักธุรกิจ หน่วยงานราชการและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ระยะเวลาดำเนินงานของโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ในระยะ 5 ปีแรก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2539 - 30 กันยายน 2544
อนึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัยจะจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในระยะเริ่มแรกในระยะยาวศูนย์ฯ จะต้องแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณด้วยการหารายได้ของตนเองเสริมด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมวิเทศสหการ ได้เห็นชอบด้วยในหลักการ โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการควรกำหนดให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นและสามารถที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์และความร่วมมือต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปของเอเปคในอนาคตได้
2. เรื่องบุคลากรและการดำเนินการที่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ทำงานในศูนย์ศึกษาเอเปคจะต้องไม่ใช่ข้าราชการ แต่จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งจ้างในอัตราพิเศษที่แตกต่างจากข้าราชการ
3. เรื่องคณะกรรมการประจำศูนย์ศึกษาเอเปคควรจะประกอบด้วยบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมประจำปีต่าง ๆ ของเอเปค ได้แก่ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officals Meeting) คณะกรรมการด้านการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรมเศรษฐกิจกระทรวงการต่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
4. ศูนย์ศึกษาเอเปค ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมของประเทศเพื่อรองรับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ภายใต้กรอบเอเปค ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
5. ศูนย์ศึกษาเอเปค ควรมีการศึกษาวิจัยผลกระทบจากการที่แต่ละประเทศในกลุ่มเอเปคจะต้องเสนอ Individual Action Plan ประเทศไทยจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์อะไรบ้าง
6. การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศูนย์ศึกษาเอเปค ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 - 2544 นั้น เนื่องจากขณะนี้ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณปี 2540 แล้ว จึงเห็นควรให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายปี 2540 ของมหาวิทยาลัยฯ มาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าที่จำเป็นก่อน ส่วนที่เหลือให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายในปีต่อ ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 8 ตุลาคม 2539
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง ขอความเห็นชอบในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปค ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปค ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อนุมัติให้สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจัดสรรเงินอุดหนุนประจำปีแก่ศูนย์ศึกษาเอเปคในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป โดยให้ศูนย์ฯ ดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามระเบียบของศูนย์ฯ ที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ
3. อนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศูนย์ศึกษาเอเปค ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 - 2544 ในวงเงิน 66,529,000.70 บาท
4. อนุมัติให้นำเงินรายได้อันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ศึกษาเอเปค มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
5. อนุมัติให้ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจมาร่วมปฏิบัติงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา ณ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติงานหรือปฏิบัติราชการตามปกติ
โดยพิจารณาเห็นว่า
1. การจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคเป็นไปตามข้อผูกพันที่รัฐบาลไทยมีต่อที่ประชุม APEC Leaders Education Initiatives ที่เมืองซีแอตเติ้ล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ฯ ดังนี้
1.1 จัดประชุมหารือกับผู้แทนมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนและความสนใจด้านภูมิภาคศึกษา และผู้แทนจากระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกำหนดรูปแบบและลักษณะการดำเนินงานของศูนย์ฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2538
1.2 จัดทำข้อกำหนดการดำเนินงาน (Terms of Reference) ของศูนย์ฯ
1.3 ผลการประชุมมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมมีมติให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนของกลุ่มความร่วมมือมหาวิทยาลัยในการจัดตั้ง APEC Study Center ในประเทศไทย และให้เตรียมเอกสารโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.4 เข้าร่วมประชุม APEC Study Center ในระดับภูมิภาคตามวาระ
2. การจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคเป็นความร่วมมือของกลุ่มมหาวิทยาลัย/สถาบัน (Consortium of universities) โดยมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ตั้ง (Host) ของศูนย์ฯ ศูนย์ศึกษาเอเปคจะทำหน้าที่เป็นศูนย์วิชาการ ศูนย์ข้อมูลศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์ประสานงานเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายคือ นักวิชาการ นักศึกษา นักธุรกิจ หน่วยงานราชการและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ระยะเวลาดำเนินงานของโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ในระยะ 5 ปีแรก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2539 - 30 กันยายน 2544
อนึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัยจะจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในระยะเริ่มแรกในระยะยาวศูนย์ฯ จะต้องแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณด้วยการหารายได้ของตนเองเสริมด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมวิเทศสหการ ได้เห็นชอบด้วยในหลักการ โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการควรกำหนดให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นและสามารถที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์และความร่วมมือต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปของเอเปคในอนาคตได้
2. เรื่องบุคลากรและการดำเนินการที่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ทำงานในศูนย์ศึกษาเอเปคจะต้องไม่ใช่ข้าราชการ แต่จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งจ้างในอัตราพิเศษที่แตกต่างจากข้าราชการ
3. เรื่องคณะกรรมการประจำศูนย์ศึกษาเอเปคควรจะประกอบด้วยบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมประจำปีต่าง ๆ ของเอเปค ได้แก่ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officals Meeting) คณะกรรมการด้านการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรมเศรษฐกิจกระทรวงการต่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
4. ศูนย์ศึกษาเอเปค ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมของประเทศเพื่อรองรับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ภายใต้กรอบเอเปค ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
5. ศูนย์ศึกษาเอเปค ควรมีการศึกษาวิจัยผลกระทบจากการที่แต่ละประเทศในกลุ่มเอเปคจะต้องเสนอ Individual Action Plan ประเทศไทยจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์อะไรบ้าง
6. การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศูนย์ศึกษาเอเปค ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 - 2544 นั้น เนื่องจากขณะนี้ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณปี 2540 แล้ว จึงเห็นควรให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิจารณาเจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายปี 2540 ของมหาวิทยาลัยฯ มาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าที่จำเป็นก่อน ส่วนที่เหลือให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายในปีต่อ ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 8 ตุลาคม 2539