ทำเนียบรัฐบาล--28 ธ.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการเข้าร่วมลงนามในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิสตรีอย่างจริงจัง สำหรับสาระสำคัญของพิธีสารดังกล่าว มีดังนี้
1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of iscrimination against Women - CEDAW) เป็นอนุสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 ปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติอนุสัญญาฯ แล้ว จำนวน 163 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ด้วยวิธีภาคยานุวัติ (การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญา ซึ่งไม่มีการลงนาม และเป็นการให้ความยินยอมภายหลังที่อนุสัญญาฯ ได้ปิดการลงนามแล้ว) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2528 โดยได้ตั้งข้อสงวนไว้รวม 7 ข้อ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 2 ข้อ ได้แก่ ข้อ 16 เรื่อง ความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และข้อ 29 เรื่อง การให้อำนาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท
2. คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Status of Women - CSW)ได้เริ่มพิจารณาร่างพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Draft Optional Protocol to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women) ตั้งแต่การประชุมสมัยที่ 40 เมื่อปี 2539 โดยคณะทำงานแบบเปิดของคณะกรรมาธิการฯ (Open-ended working group)
3. ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ สมัยที่ 43 เมื่อเดือนมีนาคม 2542 ได้มีมติรับรองร่างพิธีสารฯ ที่ได้แก้ไขแล้วและรับรองร่างข้อมติที่เสนอให้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council - ECOSOC) รับรองถ้อยคำในร่างข้อมติ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองร่างพิธีสารฯ และเปิดให้ประเทศสมาชิกลงนามให้สัตยาบันและาคยานุวัติพิธีสารฯ รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ที่ได้ลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติอนุสัญญาฯ แล้ว เข้าร่วมลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติพิธีสารฯ ในโอกาสแรก ทั้งนี้ เพื่อนำร่างข้อมติดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณารับรองในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ธันวาคม 2542--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการเข้าร่วมลงนามในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิสตรีอย่างจริงจัง สำหรับสาระสำคัญของพิธีสารดังกล่าว มีดังนี้
1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of iscrimination against Women - CEDAW) เป็นอนุสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 ปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติอนุสัญญาฯ แล้ว จำนวน 163 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ด้วยวิธีภาคยานุวัติ (การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญา ซึ่งไม่มีการลงนาม และเป็นการให้ความยินยอมภายหลังที่อนุสัญญาฯ ได้ปิดการลงนามแล้ว) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2528 โดยได้ตั้งข้อสงวนไว้รวม 7 ข้อ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 2 ข้อ ได้แก่ ข้อ 16 เรื่อง ความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และข้อ 29 เรื่อง การให้อำนาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท
2. คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Status of Women - CSW)ได้เริ่มพิจารณาร่างพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Draft Optional Protocol to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women) ตั้งแต่การประชุมสมัยที่ 40 เมื่อปี 2539 โดยคณะทำงานแบบเปิดของคณะกรรมาธิการฯ (Open-ended working group)
3. ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ สมัยที่ 43 เมื่อเดือนมีนาคม 2542 ได้มีมติรับรองร่างพิธีสารฯ ที่ได้แก้ไขแล้วและรับรองร่างข้อมติที่เสนอให้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council - ECOSOC) รับรองถ้อยคำในร่างข้อมติ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองร่างพิธีสารฯ และเปิดให้ประเทศสมาชิกลงนามให้สัตยาบันและาคยานุวัติพิธีสารฯ รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ที่ได้ลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติอนุสัญญาฯ แล้ว เข้าร่วมลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติพิธีสารฯ ในโอกาสแรก ทั้งนี้ เพื่อนำร่างข้อมติดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณารับรองในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 ธันวาคม 2542--