ทำเนียบรัฐบาล--5 เม.ย.--บิสนิวส์
ด้วยคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะพิจารณาจัดสรรเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ให้เอกชนเข้าดำเนินการ จำนวน 2 เครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อให้มีการเสนอข้อมูลข่าวสารทุกด้านอย่างครบถ้วนถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์เป็นกลาง และเป็นธรรม อันจะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและรายการที่มีคุณค่าให้แก่ประชาชน โดยคำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน และมีการกระจายข่าวสารอย่างทั่วถึง เพื่อประโยชน์ของรัฐ สังคม และประชาชน
นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ ได้จัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เสนอขอรับความเห็นขอบต่อคณะรัฐมนตรี
2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2536 ให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวนดังกล่าวโดยให้คณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ
- จำนวนบุคคลสัญชาติไทย หากจะกำหนดให้ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ75 แทนการระบุว่า "มิใช่คนต่างด้าว" จะเหมาะสมหรือไม่
- การเสนอผังรายการ ควรกำหนดให้เสนอให้พิจารณาเป็นคราว ๆ มิใช่เสนอผังรายการที่แน่นอนเพียงครั้งเดียวและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะอายุสัญญานานถึง 30 ปี ผังรายการจึงควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นตามสถาน-การณ์ นอกจากนั้น ควรจะกำหนดสัดส่วนของรายการและประเภทของรายการไว้ด้วย
- ให้ดำเนินการคัดเลือกเพียง 1 เครือข่ายก่อน
-ผลประโยชน์ที่รับจะได้ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดสรรให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐที่ไม่มีการโฆษณา ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคตด้วย
3. คณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาเอกสารข้อเสนอฯ ภายในกรอบและแนวทางที่กำหนดไว้ในประกาศเชิญชวนฯ และอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขางานด้านต่าง ๆ ดังนี้ด้านผังรายการ ด้านการเงินและการลงทุน ด้านกฎหมาย และด้านเทคนิค
4. มีผู้สนใจเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 5 กลุ่มบริษัท คือ กลุ่มบริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด กลุ่มบริษัท สยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กลุ่มนิติบุคคลโทรทัศน์ เสรี ยู - 1 กลุ่มบริษัทเยนเนอรัล บรอดคาสติ้ง แอนด์ คอมมินิเคชั่น จำกัด และ กลุ่มบริษัท ยูนิเวอร์แซล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบตามการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบริษัทเอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. ผลการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบริษัทเอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ของคณะกรรมการดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์และดำเนินบริการส่งวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอชเอฟ ซึ่งคัดเลือกให้กลุ่มบริษัท สยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นกลุ่มที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ
2. ร่างสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ก่อนส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนลงนามในสัญญา
3. เนื่องจากได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 1 เครือข่าย จึงให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการต่อในอีก 1 เครือข่ายที่เหลือ โดยให้มีกำหนดหลังเกณฑ์ตามเจตนารมณ์เดิมที่ได้เสนอให้มีการจัดสรรเครือข่ายวิทยโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ให้เอกชนเข้าดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2538--
ด้วยคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะพิจารณาจัดสรรเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ให้เอกชนเข้าดำเนินการ จำนวน 2 เครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อให้มีการเสนอข้อมูลข่าวสารทุกด้านอย่างครบถ้วนถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์เป็นกลาง และเป็นธรรม อันจะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและรายการที่มีคุณค่าให้แก่ประชาชน โดยคำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน และมีการกระจายข่าวสารอย่างทั่วถึง เพื่อประโยชน์ของรัฐ สังคม และประชาชน
นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ ได้จัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เสนอขอรับความเห็นขอบต่อคณะรัฐมนตรี
2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2536 ให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวนดังกล่าวโดยให้คณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ
- จำนวนบุคคลสัญชาติไทย หากจะกำหนดให้ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ75 แทนการระบุว่า "มิใช่คนต่างด้าว" จะเหมาะสมหรือไม่
- การเสนอผังรายการ ควรกำหนดให้เสนอให้พิจารณาเป็นคราว ๆ มิใช่เสนอผังรายการที่แน่นอนเพียงครั้งเดียวและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะอายุสัญญานานถึง 30 ปี ผังรายการจึงควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นตามสถาน-การณ์ นอกจากนั้น ควรจะกำหนดสัดส่วนของรายการและประเภทของรายการไว้ด้วย
- ให้ดำเนินการคัดเลือกเพียง 1 เครือข่ายก่อน
-ผลประโยชน์ที่รับจะได้ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาจัดสรรให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐที่ไม่มีการโฆษณา ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคตด้วย
3. คณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาเอกสารข้อเสนอฯ ภายในกรอบและแนวทางที่กำหนดไว้ในประกาศเชิญชวนฯ และอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขางานด้านต่าง ๆ ดังนี้ด้านผังรายการ ด้านการเงินและการลงทุน ด้านกฎหมาย และด้านเทคนิค
4. มีผู้สนใจเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 5 กลุ่มบริษัท คือ กลุ่มบริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด กลุ่มบริษัท สยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กลุ่มนิติบุคคลโทรทัศน์ เสรี ยู - 1 กลุ่มบริษัทเยนเนอรัล บรอดคาสติ้ง แอนด์ คอมมินิเคชั่น จำกัด และ กลุ่มบริษัท ยูนิเวอร์แซล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบตามการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบริษัทเอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. ผลการพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบริษัทเอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ของคณะกรรมการดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์และดำเนินบริการส่งวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอชเอฟ ซึ่งคัดเลือกให้กลุ่มบริษัท สยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นกลุ่มที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ
2. ร่างสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ก่อนส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนลงนามในสัญญา
3. เนื่องจากได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 1 เครือข่าย จึงให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการต่อในอีก 1 เครือข่ายที่เหลือ โดยให้มีกำหนดหลังเกณฑ์ตามเจตนารมณ์เดิมที่ได้เสนอให้มีการจัดสรรเครือข่ายวิทยโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ให้เอกชนเข้าดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2538--