ทำเนียบรัฐบาล--4 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้มีผลบังคับใช้แทนแผนแม่บทฯ ฉบับเดิม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำนโยบาย แนวทางและมาตรการดำเนินการตามนโยบายทั้ง 12 ข้อ ตามที่ระบุไว้ในแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ ไปดำเนินการให้สอดคล้องและมีผลในทางปฏิบัติโดยเร็วต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อให้การพัฒนากิจการโทรคมนาคมสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. เป้าหมายของการพัฒนากิจการโทรคมนาคม เพื่อให้มีบริการโทรคมนาคมที่ทันสมัย เพียงพอทั่วถึง คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับริการที่เลือกสรรได้และมีคุณภาพดีด้วยราคาที่เป็นธรรม และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการโทรคมนาคมในภูมิภาค
3. นโยบายหลักในการพัฒนากิจการโทรคมนาคม แผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมได้กำหนดนโยบายที่สำคัญบางประเด็นและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ
3.1 แยกบทบาทขององค์กร ให้กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายระดับชาติ คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.) รับผิดชอบการกำกับดูแลผู้ประกอบการและคุ้มครองผู้บริโภค กรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบการบริหารความถี่วิทยุและงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
3.2 เปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม ยกเลิกการผูกขาดและพัฒนาการประกอบกิจการโทรคมนาคมไปสู่สภาวะการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมเป็นขั้นตอนในปี 2542 และพัฒนาไปสู่แบบโลกาภิวัฒน์หลัง พ.ศ. 2549
3.3 แปรสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) โดยดำเนินการต่อไป ดังนี้
1) ให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดตั้งบริษัทรวมทุน (Holding Company) ให้แก่ ทศท. และ กสท. ก่อนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด (เอกชน)
2) ให้แปรสภาพ ทศท. เป็นบริษัท ทศท. จำกัด และ กสท. เป็นบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด โดยบริษัทรวมทุนเป็นผู้ถือหุ้นบริษัททั้งสาม ซึ่งยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐถือหุ้นทั้งหมด
3) ให้บริษัท ทศท. จำกัด และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด หาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) เข้าถือหุ้นในแต่ละบริษัทไม่เกินร้อยละ 25 ผู้ลงทุนเฉพาะราย (Private Placement) เข้าถือหุ้นรวมไม่เกินร้อยละ 22โดยรายใดรายหนึ่งไม่เกินร้อยละ 5 และแต่ละบริษัทจัดสรรหุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเดิมของ ทศท. และ กสท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ทั้งนี้รัฐมีสัดส่วนการถือหุ้นในแต่ละบริษัทต่ำกว่าร้อยละ 50 เพื่อให้บริษัททั้งสองมีสถานภาพเป็นบริษัทเอกชนจำกัด
4) สำหรับบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด ยังคงให้รัฐถือหุ้นทั้งหมดจนกว่าจะสามารถแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน จำกัด ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.4 พัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนากฎหมายโทรคมนาคมและกฎหมายเกี่ยวเนื่อง ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และกำหนดนโยบายสำคัญอื่น ๆ เช่น คุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มบทบาทภาคเอกชน แยกกิจการไปรษณีย์ออกจากกิจการโทรคมนาคมของ กสท. กำหนดโครงสร้างอัตราค่าบริการ การรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และพหุสื่อ และการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการโทรคมนาคมในภูมิภาค
3.5 กำหนดตารางเวลาการเปิดแข่งขันเสรีธุรกิจโทรคมนาคม ในเดือนตุลาคม 2542 ได้มีการกำหนดตารางเวลางานสำคัญ เช่น การตรากฎหมายต่าง ๆ การจัดตั้ง กสช. และการแปรสภาพ ทศท. และ กสท. เป็นต้น ให้เสร็จสิ้นก่อนกำหนดดังกล่าวในเวลาอันสมควร
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. อนุมัติหลักการให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.) สามารถบริหารงานในรูปแบบบริษัทเอกชนโดยทั่วไป มีระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้ปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นของตนเอง โดยไม่ต้องนำหลักเกณฑ์ คำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้ แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีบางฉบับตามที่จะกำหนด นับตั้งแต่วันที่แผนแม่บทฯ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินกิจการ
2. ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะให้โอนผู้ปฏิบัติงานของ ทศท. และ กสท. ไปสังกัดบริษัทที่จัดตั้งใหม่ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติยกเลิก ทศท. และ กสท. และให้ผู้ปฏิบัติงานที่โอนไปดังกล่าว ได้รับเงินจำนวนหนึ่งและหุ้นที่จัดสรรให้อีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงการจัดสรรเงินเดือนให้ใกล้เคียงกับบริษัทเอกชนทั่วไป เพื่อเป็นหลักประกันแก่พนักงานของ ทศท. และ กสท. หลังแปรสภาพแล้ว ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ
3. ให้การสนับสนุนการปรับปรุงและตรากฎหมายต่าง ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เป็นงานเร่งด่วนที่มีความสำคัญลำดับสูง เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในวาระสมัยการประชุมสามัญของรัฐสภาในสมัยหน้า
4. อนุมัติหลักการให้นำเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากการแปรผลประโยชน์ส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ส่วนงานของรัฐ มาคิดเป็นมูลค่าเงินและนำไปจัดตั้งกองทุนทดแทนกรณีว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
5. อนุมัติหลักการให้ ทศท. แปรสภาพโดยใช้กลยุทธ์จัดหาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) ผู้ลงทุนเฉพาะราย (Private Placement) และผู้ถือหุ้นสาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์ (Initial Public Offering - IPO)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 4 พฤศจิกายน 2540--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้มีผลบังคับใช้แทนแผนแม่บทฯ ฉบับเดิม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำนโยบาย แนวทางและมาตรการดำเนินการตามนโยบายทั้ง 12 ข้อ ตามที่ระบุไว้ในแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ ไปดำเนินการให้สอดคล้องและมีผลในทางปฏิบัติโดยเร็วต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อให้การพัฒนากิจการโทรคมนาคมสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. เป้าหมายของการพัฒนากิจการโทรคมนาคม เพื่อให้มีบริการโทรคมนาคมที่ทันสมัย เพียงพอทั่วถึง คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับริการที่เลือกสรรได้และมีคุณภาพดีด้วยราคาที่เป็นธรรม และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการโทรคมนาคมในภูมิภาค
3. นโยบายหลักในการพัฒนากิจการโทรคมนาคม แผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมได้กำหนดนโยบายที่สำคัญบางประเด็นและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ
3.1 แยกบทบาทขององค์กร ให้กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายระดับชาติ คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.) รับผิดชอบการกำกับดูแลผู้ประกอบการและคุ้มครองผู้บริโภค กรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบการบริหารความถี่วิทยุและงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
3.2 เปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม ยกเลิกการผูกขาดและพัฒนาการประกอบกิจการโทรคมนาคมไปสู่สภาวะการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมเป็นขั้นตอนในปี 2542 และพัฒนาไปสู่แบบโลกาภิวัฒน์หลัง พ.ศ. 2549
3.3 แปรสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) โดยดำเนินการต่อไป ดังนี้
1) ให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ร่วมกันจัดตั้งบริษัทรวมทุน (Holding Company) ให้แก่ ทศท. และ กสท. ก่อนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด (เอกชน)
2) ให้แปรสภาพ ทศท. เป็นบริษัท ทศท. จำกัด และ กสท. เป็นบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด โดยบริษัทรวมทุนเป็นผู้ถือหุ้นบริษัททั้งสาม ซึ่งยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐถือหุ้นทั้งหมด
3) ให้บริษัท ทศท. จำกัด และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด หาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) เข้าถือหุ้นในแต่ละบริษัทไม่เกินร้อยละ 25 ผู้ลงทุนเฉพาะราย (Private Placement) เข้าถือหุ้นรวมไม่เกินร้อยละ 22โดยรายใดรายหนึ่งไม่เกินร้อยละ 5 และแต่ละบริษัทจัดสรรหุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเดิมของ ทศท. และ กสท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ทั้งนี้รัฐมีสัดส่วนการถือหุ้นในแต่ละบริษัทต่ำกว่าร้อยละ 50 เพื่อให้บริษัททั้งสองมีสถานภาพเป็นบริษัทเอกชนจำกัด
4) สำหรับบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด ยังคงให้รัฐถือหุ้นทั้งหมดจนกว่าจะสามารถแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน จำกัด ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.4 พัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนากฎหมายโทรคมนาคมและกฎหมายเกี่ยวเนื่อง ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และกำหนดนโยบายสำคัญอื่น ๆ เช่น คุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มบทบาทภาคเอกชน แยกกิจการไปรษณีย์ออกจากกิจการโทรคมนาคมของ กสท. กำหนดโครงสร้างอัตราค่าบริการ การรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และพหุสื่อ และการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการโทรคมนาคมในภูมิภาค
3.5 กำหนดตารางเวลาการเปิดแข่งขันเสรีธุรกิจโทรคมนาคม ในเดือนตุลาคม 2542 ได้มีการกำหนดตารางเวลางานสำคัญ เช่น การตรากฎหมายต่าง ๆ การจัดตั้ง กสช. และการแปรสภาพ ทศท. และ กสท. เป็นต้น ให้เสร็จสิ้นก่อนกำหนดดังกล่าวในเวลาอันสมควร
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. อนุมัติหลักการให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.) สามารถบริหารงานในรูปแบบบริษัทเอกชนโดยทั่วไป มีระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้ปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นของตนเอง โดยไม่ต้องนำหลักเกณฑ์ คำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้ แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีบางฉบับตามที่จะกำหนด นับตั้งแต่วันที่แผนแม่บทฯ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินกิจการ
2. ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะให้โอนผู้ปฏิบัติงานของ ทศท. และ กสท. ไปสังกัดบริษัทที่จัดตั้งใหม่ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติยกเลิก ทศท. และ กสท. และให้ผู้ปฏิบัติงานที่โอนไปดังกล่าว ได้รับเงินจำนวนหนึ่งและหุ้นที่จัดสรรให้อีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงการจัดสรรเงินเดือนให้ใกล้เคียงกับบริษัทเอกชนทั่วไป เพื่อเป็นหลักประกันแก่พนักงานของ ทศท. และ กสท. หลังแปรสภาพแล้ว ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ
3. ให้การสนับสนุนการปรับปรุงและตรากฎหมายต่าง ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เป็นงานเร่งด่วนที่มีความสำคัญลำดับสูง เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในวาระสมัยการประชุมสามัญของรัฐสภาในสมัยหน้า
4. อนุมัติหลักการให้นำเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากการแปรผลประโยชน์ส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ส่วนงานของรัฐ มาคิดเป็นมูลค่าเงินและนำไปจัดตั้งกองทุนทดแทนกรณีว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
5. อนุมัติหลักการให้ ทศท. แปรสภาพโดยใช้กลยุทธ์จัดหาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) ผู้ลงทุนเฉพาะราย (Private Placement) และผู้ถือหุ้นสาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์ (Initial Public Offering - IPO)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 4 พฤศจิกายน 2540--