ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาล ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการเตรียมการปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาล (ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2545) และหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ เมื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาลตามกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2542 เป็นต้นไป
2. ให้ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดระเบียบการบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว โดยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
สำหรับสาระสำคัญของหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการเตรียมการเปลี่ยนสถานภาพไปสู่มหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาล (ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2545) ดังนี้
1. การจัดสรรงบประมาณ ยังคงใช้เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ตามที่สำนักงบประมาณกำหนดในปัจจุบันก่อน
2. การบริหารงบประมาณที่ได้รับ ให้มหาวิทยาลัย/สถาบัน สามารภโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายประจำส่วนที่มิใช่เงินเดือนได้ โดยให้ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดระเบียบกลางในการบริหารงบประมาณ ตามความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการโอน หรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณสิ้นสุดอยู่ภายในมหาวิทยาลัย/สถาบัน
3. การกำกับการดำเนินงาน การติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ให้มีการพัฒนาระบบและดำเนินการ ดังนี้
3.1 ให้พัฒนาและปรับระบบบัญชีของมหาวิทยาลัย/สถาบันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นระบบบัญชีต้นทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี
3.2 ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงบประมาณ กำหนดระบบการตรวจสอบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/สถาบัน
3.3 ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพัฒนาและกำหนดระบบการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
3.4 ให้ทบวงมหาวิทยาลัยกำกับดูแลให้มีการรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/สถาบัน ถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการในแต่ละปี และแจ้งสำนักงบประมาณภายใน 60 วัน ภายหลังสิ้นปีงบประมาณ
3.5 ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของมหาวิทยาลัย/สถาบัน
สำหรับสาระสำคัญของหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาลตามกฎหมายแล้ว โดยให้จัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การจัดตั้งกองทุนคงยอดเงินต้น ให้มหาวิทยาลัย/สถาบัน แต่ละแห่งจัดตั้งกองทุนคงยอดเงินต้น โดยมหาวิทยาลัย/สถาบัน เป็นผู้จัดหาเงินกองทุนสมทบเป็นปีๆ ไป และรัฐอาจให้การสนับสนุนสมทบตามกำลังงบประมาณแผ่นดินเป็นปี ๆ ไป
2. การสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันนั้น ให้จำแนกงบประมาณออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายประจำ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับภารกิจด้านการจัดการศึกษาที่รัฐอุดหนุนให้ในลักษณะค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีมาตรฐานอย่างน้อยขั้นต่ำ และเพียงพอต่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย/สถาบัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับภารกิจหลักอื่นให้รัฐอุดหนุนตามโครงการและกิจกรรม
2.2 ค่าใช้จ่ายลงทุน ให้รัฐจัดสรรให้ตามโครงการและความจำเป็นตามสภาพของมหาวิทยาลัย/สถาบัน และกำลังงบประมาณของประเทศ
ทั้งนี้ ให้มีระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส และให้มีการใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กันยายน 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาล ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการเตรียมการปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาล (ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2545) และหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ เมื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาลตามกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2542 เป็นต้นไป
2. ให้ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดระเบียบการบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว โดยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป
สำหรับสาระสำคัญของหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการเตรียมการเปลี่ยนสถานภาพไปสู่มหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาล (ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2545) ดังนี้
1. การจัดสรรงบประมาณ ยังคงใช้เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ตามที่สำนักงบประมาณกำหนดในปัจจุบันก่อน
2. การบริหารงบประมาณที่ได้รับ ให้มหาวิทยาลัย/สถาบัน สามารภโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายประจำส่วนที่มิใช่เงินเดือนได้ โดยให้ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดระเบียบกลางในการบริหารงบประมาณ ตามความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการโอน หรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณสิ้นสุดอยู่ภายในมหาวิทยาลัย/สถาบัน
3. การกำกับการดำเนินงาน การติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ให้มีการพัฒนาระบบและดำเนินการ ดังนี้
3.1 ให้พัฒนาและปรับระบบบัญชีของมหาวิทยาลัย/สถาบันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นระบบบัญชีต้นทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี
3.2 ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงบประมาณ กำหนดระบบการตรวจสอบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/สถาบัน
3.3 ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพัฒนาและกำหนดระบบการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
3.4 ให้ทบวงมหาวิทยาลัยกำกับดูแลให้มีการรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/สถาบัน ถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการในแต่ละปี และแจ้งสำนักงบประมาณภายใน 60 วัน ภายหลังสิ้นปีงบประมาณ
3.5 ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของมหาวิทยาลัย/สถาบัน
สำหรับสาระสำคัญของหลักการในการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ ที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันในกำกับรัฐบาลตามกฎหมายแล้ว โดยให้จัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัย/สถาบันใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การจัดตั้งกองทุนคงยอดเงินต้น ให้มหาวิทยาลัย/สถาบัน แต่ละแห่งจัดตั้งกองทุนคงยอดเงินต้น โดยมหาวิทยาลัย/สถาบัน เป็นผู้จัดหาเงินกองทุนสมทบเป็นปีๆ ไป และรัฐอาจให้การสนับสนุนสมทบตามกำลังงบประมาณแผ่นดินเป็นปี ๆ ไป
2. การสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันนั้น ให้จำแนกงบประมาณออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายประจำ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับภารกิจด้านการจัดการศึกษาที่รัฐอุดหนุนให้ในลักษณะค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีมาตรฐานอย่างน้อยขั้นต่ำ และเพียงพอต่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย/สถาบัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับภารกิจหลักอื่นให้รัฐอุดหนุนตามโครงการและกิจกรรม
2.2 ค่าใช้จ่ายลงทุน ให้รัฐจัดสรรให้ตามโครงการและความจำเป็นตามสภาพของมหาวิทยาลัย/สถาบัน และกำลังงบประมาณของประเทศ
ทั้งนี้ ให้มีระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส และให้มีการใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กันยายน 2541--