ทำเนียบรัฐบาล--4 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับเรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการศึกษา : ทางออกเพื่อการพัฒนาประเทศ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) เสนอ ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคการศึกษา และโดยที่การศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมิให้ภาวะเศรษฐกิจเป็นปัจจัยบั่นทอนการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการเร่งด่วนตามข้อเสนอในเอกสารเรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการศึกษา : ทางออกเพื่อการพัฒนาประเทศ ดังนี้
1.1 การให้ความช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ปกครอง ที่ได้รับผลกระทบ
1) เพิ่มขนาดของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พร้อมกับให้ลดหย่อนเงื่อนไขในการกู้ยืมให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น
2) การใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินไว้ 20,000 ล้านบาท
- ให้สถาบันการศึกษาเอกชนกู้/ยืมจากกองทุนฯ เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีต้องผ่อนผันการชำระค่าเล่าเรียนของนักศึกษา ทั้งนี้ ให้ปรับเงื่อนไขการกู้/ยืมให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
- ให้นำกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาหมุนเวียนให้นักเรียน นิสิต นักศึกษากู้/ยืมเรียนได้
3) ให้สถาบันการศึกษาทุกระดับผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมการเรียน และจัดสรรทุนให้มากขึ้นแก่นักเรียน นักศึกษาที่ประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ทุนยืมเรียน โดยผู้เรียนใช้คืนเมื่อจบการศึกษา หรือให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ เช่น หางานพิเศษให้นักศึกษาทำระหว่างเรียนในสถาบันการศึกษา หรือสถานประกอบการอื่น ๆ การให้ยืม/ให้เปล่าตำราเรียน เครื่องแบบนักเรียน อาหารกลางวัน พาหนะรับส่ง ฯลฯ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร ธนาคารออมสิน) กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 การให้ความช่วยเหลือผู้สำเร็จการศึกษา และผู้ว่างงาน โดยส่งเสริมสนับสนุนโครงการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ยังหางานทำไม่ได้ ผู้ว่างงานหรือถูกปลดออกจากงาน และแรงงานที่ย้อนกลับเข้าสู่ภาคเกษตร ดังนี้
1) ส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีโอกาสในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ ได้อย่างหลากหลาย
2) พัฒนาฝีมือแรงงานตามความต้องการของตลาดแรงงานที่จะเปิดขึ้นใหม่
3) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะความสามารถเฉพาะด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ โดยรับขยายขนาดของกองทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพอิสระให้มากขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงศึกษาธิการ (กรมอาชีวศึกษากรมการศึกษานอกโรงเรียน) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน สถานประกอบการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.3 สถาบันการศึกษาและหน่วยงาน/องค์การที่รับผิดชอบด้านการศึกษา
1) ควรเร่งรัดพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรในหน่วยงาน/องค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย
- ปรับปรุงระบบการทำงาน ลดขั้นตอนวิธีการทำงาน
- ปรับเปลี่ยนทัศนคติบุคลากรในเรื่องความประหยัด ความเสียสละ และการทำงานเป็นทีม
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้กำลังคนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- คัดสรรผู้ที่ถูกเลิกจ้างที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นครูพิเศษหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
- พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
2) ให้สถาบันการศึกษามีความคล่องตัวมากขึ้นในการปรับใช้งบประมาณของสถาบัน ตามลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการและการใช้จ่าย โดยอาจขอคำปรึกษาจากสำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สถาบันการศึกษา สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกประเภท
2. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละมาตรการเร่งด่วนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. ให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประสาน และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการแล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 มีนาคม 2541--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับเรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการศึกษา : ทางออกเพื่อการพัฒนาประเทศ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) เสนอ ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคการศึกษา และโดยที่การศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมิให้ภาวะเศรษฐกิจเป็นปัจจัยบั่นทอนการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการเร่งด่วนตามข้อเสนอในเอกสารเรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการศึกษา : ทางออกเพื่อการพัฒนาประเทศ ดังนี้
1.1 การให้ความช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ปกครอง ที่ได้รับผลกระทบ
1) เพิ่มขนาดของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พร้อมกับให้ลดหย่อนเงื่อนไขในการกู้ยืมให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น
2) การใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินไว้ 20,000 ล้านบาท
- ให้สถาบันการศึกษาเอกชนกู้/ยืมจากกองทุนฯ เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีต้องผ่อนผันการชำระค่าเล่าเรียนของนักศึกษา ทั้งนี้ ให้ปรับเงื่อนไขการกู้/ยืมให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
- ให้นำกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาหมุนเวียนให้นักเรียน นิสิต นักศึกษากู้/ยืมเรียนได้
3) ให้สถาบันการศึกษาทุกระดับผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมการเรียน และจัดสรรทุนให้มากขึ้นแก่นักเรียน นักศึกษาที่ประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ทุนยืมเรียน โดยผู้เรียนใช้คืนเมื่อจบการศึกษา หรือให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ เช่น หางานพิเศษให้นักศึกษาทำระหว่างเรียนในสถาบันการศึกษา หรือสถานประกอบการอื่น ๆ การให้ยืม/ให้เปล่าตำราเรียน เครื่องแบบนักเรียน อาหารกลางวัน พาหนะรับส่ง ฯลฯ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร ธนาคารออมสิน) กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 การให้ความช่วยเหลือผู้สำเร็จการศึกษา และผู้ว่างงาน โดยส่งเสริมสนับสนุนโครงการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ยังหางานทำไม่ได้ ผู้ว่างงานหรือถูกปลดออกจากงาน และแรงงานที่ย้อนกลับเข้าสู่ภาคเกษตร ดังนี้
1) ส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีโอกาสในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ ได้อย่างหลากหลาย
2) พัฒนาฝีมือแรงงานตามความต้องการของตลาดแรงงานที่จะเปิดขึ้นใหม่
3) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะความสามารถเฉพาะด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ โดยรับขยายขนาดของกองทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพอิสระให้มากขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงศึกษาธิการ (กรมอาชีวศึกษากรมการศึกษานอกโรงเรียน) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน สถานประกอบการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.3 สถาบันการศึกษาและหน่วยงาน/องค์การที่รับผิดชอบด้านการศึกษา
1) ควรเร่งรัดพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรในหน่วยงาน/องค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย
- ปรับปรุงระบบการทำงาน ลดขั้นตอนวิธีการทำงาน
- ปรับเปลี่ยนทัศนคติบุคลากรในเรื่องความประหยัด ความเสียสละ และการทำงานเป็นทีม
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้กำลังคนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- คัดสรรผู้ที่ถูกเลิกจ้างที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาเป็นครูพิเศษหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
- พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
2) ให้สถาบันการศึกษามีความคล่องตัวมากขึ้นในการปรับใช้งบประมาณของสถาบัน ตามลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการและการใช้จ่าย โดยอาจขอคำปรึกษาจากสำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สถาบันการศึกษา สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกประเภท
2. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละมาตรการเร่งด่วนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. ให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประสาน และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการแล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 มีนาคม 2541--