ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แก้ไขจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณา แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า กรมป่าไม้เห็นสมควรมีการปรับปรุงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสวนป่าพ.ศ. 2535 เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่20 เมษายน 2542 ให้เร่งเสนอเป็นการด่วน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า "สวนป่า" ให้มีความหมายรวมถึงที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และไม้อื่นทั่ว ๆ ไป
2. เพิ่มบทนิยามคำว่า "ของป่า" ให้หมายความถึง ถ่านไม้ ยางไม้ หน่อไม้ หวาย ครั่ง รวงผึ้ง ขี้ผึ้ง กล้วยไม้ และเห็ดเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวซึ่งเป็นของป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยสวนป่า ทำนองเดียวกันกับไม้
3. เพิ่มความว่า "(6) ที่ดินที่มีใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะเพื่อการทำสวนป่า" เพื่อให้ที่ดินที่มีใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เพื่อการทำสวนป่าสามารถขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้
4. ให้มีการตรวจสอบที่ดินที่มีใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพื่อทำการทำสวนป่าที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าก่อนรับขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า เช่นเดียวกับที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และให้ของป่าตามมาตรานี้หมายถึงของป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้หรือกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามความหมายที่มีอยู่เดิม
5. ให้อธิบดีกรมป่าไม้เป็นผู้กำหนดว่าไม้ลักษณะใดที่จะต้องประทับตราหรือแสดงตราโดยวิธีอื่นนอกจากการประทับตรา เพิ่มเติมจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
6. ยกเว้นค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ให้แก่ไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า
7. ให้ของป่าตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติและกำหนดหน้าที่ของผู้ทำสวนป่าที่จะต้องปฏิบัติ
8. กำหนดโทษผู้ทำสวนป่าในกรณีที่ผู้ทำสวนป่าทำหนังสือรับรองหรือบัญชีแสดงรายการของป่าเป็นเท็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แก้ไขจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณา แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า กรมป่าไม้เห็นสมควรมีการปรับปรุงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสวนป่าพ.ศ. 2535 เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่20 เมษายน 2542 ให้เร่งเสนอเป็นการด่วน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า "สวนป่า" ให้มีความหมายรวมถึงที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และไม้อื่นทั่ว ๆ ไป
2. เพิ่มบทนิยามคำว่า "ของป่า" ให้หมายความถึง ถ่านไม้ ยางไม้ หน่อไม้ หวาย ครั่ง รวงผึ้ง ขี้ผึ้ง กล้วยไม้ และเห็ดเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวซึ่งเป็นของป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยสวนป่า ทำนองเดียวกันกับไม้
3. เพิ่มความว่า "(6) ที่ดินที่มีใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะเพื่อการทำสวนป่า" เพื่อให้ที่ดินที่มีใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เพื่อการทำสวนป่าสามารถขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้
4. ให้มีการตรวจสอบที่ดินที่มีใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพื่อทำการทำสวนป่าที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าก่อนรับขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า เช่นเดียวกับที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และให้ของป่าตามมาตรานี้หมายถึงของป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้หรือกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามความหมายที่มีอยู่เดิม
5. ให้อธิบดีกรมป่าไม้เป็นผู้กำหนดว่าไม้ลักษณะใดที่จะต้องประทับตราหรือแสดงตราโดยวิธีอื่นนอกจากการประทับตรา เพิ่มเติมจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
6. ยกเว้นค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ให้แก่ไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า
7. ให้ของป่าตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติและกำหนดหน้าที่ของผู้ทำสวนป่าที่จะต้องปฏิบัติ
8. กำหนดโทษผู้ทำสวนป่าในกรณีที่ผู้ทำสวนป่าทำหนังสือรับรองหรือบัญชีแสดงรายการของป่าเป็นเท็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542--