คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2548 (ครั้งที่ 101) แล้วมีมติอนุมัติแผนระดมทุนของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน ) และหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2548 (ครั้งที่ 101) ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
สำหรับหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า มีดังนี้
1. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกจะประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในลักษณะเดียวกับปัจจุบัน โดยกำหนดให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าในการคำนวณค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของการไฟฟ้า ดังนี้
1.1 ใช้หลักการ CPI-X โดยกำหนดค่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้า หรือค่า x สำหรับแต่ละกิจการไฟฟ้า ดังนี้
- กิจการผลิต ร้อยละ 5.8 ต่อปี
- กิจการระบบส่ง ร้อยละ 2.6 ต่อปี
- กิจการระบบจำหน่ายและค้าปลีกไฟฟ้า ร้อยละ 5.1 ต่อปี
1.2 ให้นำค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นของต้นทุนต่อปริมาณ (Cost Volume Elasticity : CVE) ในระดับ 0.8 มาใช้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป
2. การกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ อยู่บนพื้นฐานที่ค่าไฟฟ้าขายปลีกเฉลี่ยเมื่อรวมค่า Ft ณ ระดับปัจจุบัน 0:4683 บาท/หน่วย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในระหว่างเดือนตุลาคม 2548 จนถึงปี 2551 การเปลี่ยนแปลงของค่าไฟฟ้า จะปรับตามค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นไป
3. ปรับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ใหม่ ให้ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักเพียงค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฟ้าฐานใหม่ (ค่า Ft ณ ระดับ 0.4683 บาท/หน่วย) โดยการประมาณการค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่จะเรียกเก็บ ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติรับไปพิจารณาดำเนินงานส่งผ่านค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่มีการบริหารการใช้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
แนวทางการกำกับดูแลการบริหารการใช้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ ให้พิจารณาจากมาตรฐานค่าสูญเสียในระบบ (Loss Rate) มาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ตลอดจนแผนการใช้เชื้อเพลิงและการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า
4. หลักเกณฑ์ทางการเงินในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า จะพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนการลงทุน (Return on Invested Capital : ROIC) เป็นหลัก และพิจารณาอัตราส่วนรายได้สุทธิต่อการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio:DSCR) และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (Debt/Equity Ratio) ประกอบด้วย
5. ผลกระทบจากการปรับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ให้ กฟผ. เป็นผู้รับภาระลูกหนี้ค่า Ft คงค้างที่ กฟผ. คาดว่าจะบันทึกเป็นรายได้ในงวดบัญชีก่อนการแปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ให้ บมจ. กฟผ. รับรู้รายได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บได้จริงในงวดนั้น ๆ โดยผลจากการบันทึกบัญชีดังกล่าว จะไม่รวมอยู่ในการคำนวณกำไรเพื่อจัดสรรเป็นโบนัสกรรมการและพนักงาน และการนำเงินส่งรายได้แผ่นดิน
6. กำหนดการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าในลักษณะการชดเชยรายได้โดยตรงจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการไฟฟ้าแล้วเสร็จ เห็นควรกำหนดให้มีการชดเชยรายได้ผ่านกองทุนที่จะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่อไป
7. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าจะกำหนดจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ อัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแล
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำรายละเอียดข้อเสนอการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายส่ง สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ การชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตลอดจนกลไกการปรับการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าและการกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าตามแนวนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาเห็นชอบก่อนการประกาศใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
สำหรับหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า มีดังนี้
1. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกจะประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในลักษณะเดียวกับปัจจุบัน โดยกำหนดให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าในการคำนวณค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของการไฟฟ้า ดังนี้
1.1 ใช้หลักการ CPI-X โดยกำหนดค่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้า หรือค่า x สำหรับแต่ละกิจการไฟฟ้า ดังนี้
- กิจการผลิต ร้อยละ 5.8 ต่อปี
- กิจการระบบส่ง ร้อยละ 2.6 ต่อปี
- กิจการระบบจำหน่ายและค้าปลีกไฟฟ้า ร้อยละ 5.1 ต่อปี
1.2 ให้นำค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นของต้นทุนต่อปริมาณ (Cost Volume Elasticity : CVE) ในระดับ 0.8 มาใช้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป
2. การกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ อยู่บนพื้นฐานที่ค่าไฟฟ้าขายปลีกเฉลี่ยเมื่อรวมค่า Ft ณ ระดับปัจจุบัน 0:4683 บาท/หน่วย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในระหว่างเดือนตุลาคม 2548 จนถึงปี 2551 การเปลี่ยนแปลงของค่าไฟฟ้า จะปรับตามค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นไป
3. ปรับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ใหม่ ให้ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักเพียงค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฟ้าฐานใหม่ (ค่า Ft ณ ระดับ 0.4683 บาท/หน่วย) โดยการประมาณการค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่จะเรียกเก็บ ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติรับไปพิจารณาดำเนินงานส่งผ่านค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่มีการบริหารการใช้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
แนวทางการกำกับดูแลการบริหารการใช้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพ ให้พิจารณาจากมาตรฐานค่าสูญเสียในระบบ (Loss Rate) มาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ตลอดจนแผนการใช้เชื้อเพลิงและการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า
4. หลักเกณฑ์ทางการเงินในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า จะพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนการลงทุน (Return on Invested Capital : ROIC) เป็นหลัก และพิจารณาอัตราส่วนรายได้สุทธิต่อการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio:DSCR) และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (Debt/Equity Ratio) ประกอบด้วย
5. ผลกระทบจากการปรับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ให้ กฟผ. เป็นผู้รับภาระลูกหนี้ค่า Ft คงค้างที่ กฟผ. คาดว่าจะบันทึกเป็นรายได้ในงวดบัญชีก่อนการแปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ให้ บมจ. กฟผ. รับรู้รายได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บได้จริงในงวดนั้น ๆ โดยผลจากการบันทึกบัญชีดังกล่าว จะไม่รวมอยู่ในการคำนวณกำไรเพื่อจัดสรรเป็นโบนัสกรรมการและพนักงาน และการนำเงินส่งรายได้แผ่นดิน
6. กำหนดการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าในลักษณะการชดเชยรายได้โดยตรงจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการไฟฟ้าแล้วเสร็จ เห็นควรกำหนดให้มีการชดเชยรายได้ผ่านกองทุนที่จะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่อไป
7. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าจะกำหนดจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ อัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแล
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำรายละเอียดข้อเสนอการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายส่ง สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ การชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตลอดจนกลไกการปรับการชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าและการกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานของการไฟฟ้าตามแนวนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาเห็นชอบก่อนการประกาศใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--