ทำเนียบรัฐบาล--12 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ตอนดินแดง - ดอนเมือง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2532 และแก้ไขเปลี่ยนแปลงฉบับที่ 1 ลงวันที่27 เมษายน 2538 ฉบับที่ 2/2539 ซึ่งผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการดำเนินการโครงการต่อขยายทางหลวงสัมปทานสายดินแดง - ดอนเมือง ดังนี้
1. กรมทางหลวงได้จัดทำข้อกำหนดการขอรับสัมปทานโครงการทางหลวงสัมปทานในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต กม. 21+100 - กม. 26+700 (ประมาณ) และแจ้งให้บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด(มหาชน) จัดทำข้อเสนอ ซึ่งบริษัทฯ ได้พิจารณาและยื่นข้อเสนอขอรับสัมปทาน ให้คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และกรมทางหลวงพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาปรากฏว่าข้อเสนอเป็นไปตามข้อกำหนดจึงได้เจรจาต่อรองกับบริษัทฯ ในประเด็นต่าง ๆซึ่งบริษัทฯ ได้ตกลงด้วยแล้ว ดังนี้
1.1 บริษัทฯ เป็นผู้รับภาระในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 7 ต่อปี แต่ถ้าหากต่อไปมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้น บริษัทฯ มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยในส่วนที่จะต้องเสียหาย แต่หากอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงรัฐบาลมีสิทธิสั่งปรับลดอัตราค่าผ่านทาง หรือให้บริษัทฯ จ่ายค่าชดเชยให้กับรัฐ
1.2 บริษัทฯ สละข้อเรียกร้องในเรื่อง
- บรรดาสิทธิเรียกร้องทั้งหมดอันเกิดจากสัญญาสัมปทานทางหลวงที่เกิดก่อนวันลงนามในบันทึกข้อตกลง จนถึงวันลงนามบันทึกข้อตกลง
- หากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ รวมทั้งการสร้างสะพานกลับรถบนถนนวิภาวดีรังสิต หรือการจัดการจราจรใด ๆ บนถนนวิภาวดีรังสิต ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บริษัทฯ เสียหาย
1.3 ในกรณีที่บริษัทฯ ไม่อาจสร้างทางยกระดับส่วนต่อขยายในทางทิศเหนือได้แล้วเสร็จตามสัญญา(20 เดือน) จะถูกปรับวันละ 300,000 บาท
1.4 ในเรื่องการสูญเสียยานพาหนะ ในกรณีหากมีทางแข่งขันให้นำเกณฑ์การคำนวณตามเอกสารพิจารณาของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) มาเป็นฐานพิจารณา
1.5 นอกจากเรื่องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้กำหนดเรื่องโครงสร้างของบริษัท อายุสัมปทาน ผลประโยชน์ตอบแทน อัตราค่าผ่านทาง การขายหุ้นคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมหลังจากบริษัทฯ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว หน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการไว้ในร่างบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน รวมทั้งยกเลิกข้อกำหนดในสัญญาที่หมดความจำเป็นแล้วด้วย
2. ผู้แทนกระทรวงการคลังมีความเห็นต่อร่างบันทึกข้อตกลงฯ ว่าการเพิ่มหรือลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจากปัจจุบันซึ่งเก็บในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ให้คู่สัญญาพิจารณาชดเชยหรือปรับอัตราค่าผ่านทาง ไม่ควรกำหนดไว้ในร่างดังกล่าว และในกรณีซื้อหุ้นบริษัทฯ สมควรกำหนดว่า ให้ซื้อในราคา Par Value หรือ Book Value แล้วแต่ว่าราคาใดจะต่ำกว่ากัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 12 พฤศจิกายน 2539--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ตอนดินแดง - ดอนเมือง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2532 และแก้ไขเปลี่ยนแปลงฉบับที่ 1 ลงวันที่27 เมษายน 2538 ฉบับที่ 2/2539 ซึ่งผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการดำเนินการโครงการต่อขยายทางหลวงสัมปทานสายดินแดง - ดอนเมือง ดังนี้
1. กรมทางหลวงได้จัดทำข้อกำหนดการขอรับสัมปทานโครงการทางหลวงสัมปทานในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต กม. 21+100 - กม. 26+700 (ประมาณ) และแจ้งให้บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด(มหาชน) จัดทำข้อเสนอ ซึ่งบริษัทฯ ได้พิจารณาและยื่นข้อเสนอขอรับสัมปทาน ให้คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และกรมทางหลวงพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาปรากฏว่าข้อเสนอเป็นไปตามข้อกำหนดจึงได้เจรจาต่อรองกับบริษัทฯ ในประเด็นต่าง ๆซึ่งบริษัทฯ ได้ตกลงด้วยแล้ว ดังนี้
1.1 บริษัทฯ เป็นผู้รับภาระในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 7 ต่อปี แต่ถ้าหากต่อไปมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้น บริษัทฯ มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยในส่วนที่จะต้องเสียหาย แต่หากอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงรัฐบาลมีสิทธิสั่งปรับลดอัตราค่าผ่านทาง หรือให้บริษัทฯ จ่ายค่าชดเชยให้กับรัฐ
1.2 บริษัทฯ สละข้อเรียกร้องในเรื่อง
- บรรดาสิทธิเรียกร้องทั้งหมดอันเกิดจากสัญญาสัมปทานทางหลวงที่เกิดก่อนวันลงนามในบันทึกข้อตกลง จนถึงวันลงนามบันทึกข้อตกลง
- หากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ท่าอากาศยานกรุงเทพ รวมทั้งการสร้างสะพานกลับรถบนถนนวิภาวดีรังสิต หรือการจัดการจราจรใด ๆ บนถนนวิภาวดีรังสิต ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บริษัทฯ เสียหาย
1.3 ในกรณีที่บริษัทฯ ไม่อาจสร้างทางยกระดับส่วนต่อขยายในทางทิศเหนือได้แล้วเสร็จตามสัญญา(20 เดือน) จะถูกปรับวันละ 300,000 บาท
1.4 ในเรื่องการสูญเสียยานพาหนะ ในกรณีหากมีทางแข่งขันให้นำเกณฑ์การคำนวณตามเอกสารพิจารณาของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) มาเป็นฐานพิจารณา
1.5 นอกจากเรื่องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้กำหนดเรื่องโครงสร้างของบริษัท อายุสัมปทาน ผลประโยชน์ตอบแทน อัตราค่าผ่านทาง การขายหุ้นคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมหลังจากบริษัทฯ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว หน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการไว้ในร่างบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน รวมทั้งยกเลิกข้อกำหนดในสัญญาที่หมดความจำเป็นแล้วด้วย
2. ผู้แทนกระทรวงการคลังมีความเห็นต่อร่างบันทึกข้อตกลงฯ ว่าการเพิ่มหรือลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจากปัจจุบันซึ่งเก็บในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ให้คู่สัญญาพิจารณาชดเชยหรือปรับอัตราค่าผ่านทาง ไม่ควรกำหนดไว้ในร่างดังกล่าว และในกรณีซื้อหุ้นบริษัทฯ สมควรกำหนดว่า ให้ซื้อในราคา Par Value หรือ Book Value แล้วแต่ว่าราคาใดจะต่ำกว่ากัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--วันที่ 12 พฤศจิกายน 2539--