ทำเนียบรัฐบาล--23 ส.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้สรุปสถานการณ์ความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบอุทกภัยของจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
1. ความเสียหาย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสรุปความเสียหายเท่าที่สำรวจได้ จนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2538 ได้ดังนี้
1.1 พื้นที่ประสบภัย 40 จังหวัด แยกเป็น
ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำปาง พิจิตร แม่ฮ่องสอนอุทัยธานี เชียงใหม่ พะเยา แพร่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิษณุโลก น่าน อุตรดิตถ์ และจังหวัดนครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ เลย มหาสารคาม นครพนม และ จังหวัดยโสธร
ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และจังหวัด ระยอง
ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดลพบุรี
ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง ชุมพร สตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 378,192 ครอบครัว 1,203,272 คน เสียชีวิต 16 ราย อพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัย 294 ครอบครัว 1,096 ครอบครัว บ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 46 หลัง บางส่วน 247 หลัง มูลค่าความเสียหายที่สำรวจได้ในชั้นต้นทั้งสิ้นประมาณ 913,377,783 บาท
2. การช่วยเหลือ จังหวัดและอำเภอที่ประสบภัยได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้น โดยประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้การช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัย และบรรเทาความ เดือดร้อนในชั้นต้น โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจของจังหวัด (งบ 12 ล้านบาท) และอำเภอ (1 แสนบาท) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2538 แล้ว เป็นเงิน 54,865,434 บาท
3. การยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ทำความเสียหาย แก่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร กรม การปกครองจึงได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่ประสบภัยพิจารณายกเว้น หรือลดภาษีบำรุง ท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2539 กรณีเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--22 สิงหาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้สรุปสถานการณ์ความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบอุทกภัยของจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
1. ความเสียหาย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสรุปความเสียหายเท่าที่สำรวจได้ จนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2538 ได้ดังนี้
1.1 พื้นที่ประสบภัย 40 จังหวัด แยกเป็น
ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำปาง พิจิตร แม่ฮ่องสอนอุทัยธานี เชียงใหม่ พะเยา แพร่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิษณุโลก น่าน อุตรดิตถ์ และจังหวัดนครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ เลย มหาสารคาม นครพนม และ จังหวัดยโสธร
ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และจังหวัด ระยอง
ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดลพบุรี
ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง ชุมพร สตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 378,192 ครอบครัว 1,203,272 คน เสียชีวิต 16 ราย อพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัย 294 ครอบครัว 1,096 ครอบครัว บ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 46 หลัง บางส่วน 247 หลัง มูลค่าความเสียหายที่สำรวจได้ในชั้นต้นทั้งสิ้นประมาณ 913,377,783 บาท
2. การช่วยเหลือ จังหวัดและอำเภอที่ประสบภัยได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้น โดยประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้การช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัย และบรรเทาความ เดือดร้อนในชั้นต้น โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจของจังหวัด (งบ 12 ล้านบาท) และอำเภอ (1 แสนบาท) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2538 แล้ว เป็นเงิน 54,865,434 บาท
3. การยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ทำความเสียหาย แก่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร กรม การปกครองจึงได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่ประสบภัยพิจารณายกเว้น หรือลดภาษีบำรุง ท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2539 กรณีเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายบรรหาร ศิลปอาชา)--22 สิงหาคม 2538--