ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมาตรการแก้ไขปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทย และหนี้ค่าน้ำมันค้างชำระของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอ ตามมติของ กนร. ดังนี้
1. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. ซึ่ง กนร. มีมติว่า
1.1 อนุมัติให้เพิ่มวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2542 (จากผลงานปี 2541) อีกร้อยละ 0.10 ของเงินเดือนและค่าจ้างของผู้มีสิทธิได้รับการเลื่อนขั้น โดยเพิ่มจากเดิมร้อยละ 4.73 เป็นร้อยละ 4.83 ของเงินเดือนและค่าจ้างของผู้มีสิทธิได้รับการเลื่อนขั้น เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานระดับตั้งแต่หัวหน้ากองขึ้นไป จำนวน 218 คน
1.2 อนุมัติให้ รฟท. เลื่อนขั้นเงินเดือนโดยใช้วงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่นตามระบบประเมินผลฯ ได้ (หากมีการปรับลดอัตราการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี รฟท. ต้องดำเนินการด้วย) ตั้งแต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนของปีงบประมาณ 2543 (ผลงานปี 2542) โดย รฟท. ต้องดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ทั้ง 2 ประการ ให้แล้วเสร็จก่อน
1) แก้ไขคำสั่งข้อบังคับเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของพนักงานและลูกจ้าง (การพิจารณาความดีความชอบประจำปี) ให้สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นได้
2) ให้ดำเนินการยกเลิกบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ให้สำเร็จหากดำเนินการตามข้อ 1) และ 2) ไม่สำเร็จให้ใช้วงเงินในการเลื่อนขั้นเงินเดือนร้อยละ 4 เป็นเกณฑ์ปกติตามระบบประเมินผลฯ
1.3 รับทราบผลการดำเนินงานตามมาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. งวดที่ 3 และงวดที่ 4 ซึ่งผลงานโดยสรุปส่วนใหญ่ รฟท. สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นมาตรการดังต่อไปนี้
1) การจัดเก็บค่าโดยสารยังต่ำกว่าเป้าหมาย
2) การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ล้อเลื่อนที่เกิดจากการครบวาระซ่อมหนัก ซึ่งทำให้ปริมาณรถจักรที่มีใช้งานลดลง โดยเฉพาะรถ HID ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายตลอด รฟท. จึงควรมีการวางแผนในเรื่องการเตรียมรถจักรและล้อเลื่อนเพื่อทดแทนไว้ล่วงหน้า รวมทั้งจัดกลุ่มหรือประเภทรถจักรที่มีอายุการใช้งานนาน และอะไหล่ที่ใช้ซ่อมมีไม่เพียงพอและราคาสูง
3) การปรับลดการเดินขบวนรถโดยสารซึ่งมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายผันแปรตรง ซึ่งยังทำไม่ได้ตามเป้าหมาย
4) การให้ รฟท. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดตามโครงสร้างใหม่ ได้เลยระยะเวลาที่กำหนดในเป้าหมายแล้ว โดย รฟท. ได้แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาระยะสั้นด้านการเงินได้ว่าจ้าง TDRI ขณะนี้ได้ส่ง Final Report เพื่อรอตรวจรับงานแล้ว และการศึกษาแผนกลยุทธการปรับโครงสร้าง ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษาซึ่งผ่านการ Short List
5) การรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการแก้ไขปัญหาล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้
2. เรื่อง หนี้ค่าน้ำมันค้างชำระของ รฟท. ซึ่ง กนร. มีมติว่า
2.1 ให้ รฟท. กู้เงินเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันและดอกเบี้ยค้างชำระแก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 2,162.25ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดหนี้ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2542 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนค้ำประกันเงินกู้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
2.2 ให้ รฟท. ไปกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ รฟท. เพื่อเสนอ กนร. เห็นชอบก่อนถือปฏิบัติ และรายงานผลเป็นไตรมาสเสนอ กนร. เพื่อทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2542--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมาตรการแก้ไขปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทย และหนี้ค่าน้ำมันค้างชำระของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอ ตามมติของ กนร. ดังนี้
1. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. ซึ่ง กนร. มีมติว่า
1.1 อนุมัติให้เพิ่มวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2542 (จากผลงานปี 2541) อีกร้อยละ 0.10 ของเงินเดือนและค่าจ้างของผู้มีสิทธิได้รับการเลื่อนขั้น โดยเพิ่มจากเดิมร้อยละ 4.73 เป็นร้อยละ 4.83 ของเงินเดือนและค่าจ้างของผู้มีสิทธิได้รับการเลื่อนขั้น เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานระดับตั้งแต่หัวหน้ากองขึ้นไป จำนวน 218 คน
1.2 อนุมัติให้ รฟท. เลื่อนขั้นเงินเดือนโดยใช้วงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่นตามระบบประเมินผลฯ ได้ (หากมีการปรับลดอัตราการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี รฟท. ต้องดำเนินการด้วย) ตั้งแต่การเลื่อนขั้นเงินเดือนของปีงบประมาณ 2543 (ผลงานปี 2542) โดย รฟท. ต้องดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ทั้ง 2 ประการ ให้แล้วเสร็จก่อน
1) แก้ไขคำสั่งข้อบังคับเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของพนักงานและลูกจ้าง (การพิจารณาความดีความชอบประจำปี) ให้สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นได้
2) ให้ดำเนินการยกเลิกบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ให้สำเร็จหากดำเนินการตามข้อ 1) และ 2) ไม่สำเร็จให้ใช้วงเงินในการเลื่อนขั้นเงินเดือนร้อยละ 4 เป็นเกณฑ์ปกติตามระบบประเมินผลฯ
1.3 รับทราบผลการดำเนินงานตามมาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. งวดที่ 3 และงวดที่ 4 ซึ่งผลงานโดยสรุปส่วนใหญ่ รฟท. สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นมาตรการดังต่อไปนี้
1) การจัดเก็บค่าโดยสารยังต่ำกว่าเป้าหมาย
2) การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ล้อเลื่อนที่เกิดจากการครบวาระซ่อมหนัก ซึ่งทำให้ปริมาณรถจักรที่มีใช้งานลดลง โดยเฉพาะรถ HID ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายตลอด รฟท. จึงควรมีการวางแผนในเรื่องการเตรียมรถจักรและล้อเลื่อนเพื่อทดแทนไว้ล่วงหน้า รวมทั้งจัดกลุ่มหรือประเภทรถจักรที่มีอายุการใช้งานนาน และอะไหล่ที่ใช้ซ่อมมีไม่เพียงพอและราคาสูง
3) การปรับลดการเดินขบวนรถโดยสารซึ่งมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายผันแปรตรง ซึ่งยังทำไม่ได้ตามเป้าหมาย
4) การให้ รฟท. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดตามโครงสร้างใหม่ ได้เลยระยะเวลาที่กำหนดในเป้าหมายแล้ว โดย รฟท. ได้แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาระยะสั้นด้านการเงินได้ว่าจ้าง TDRI ขณะนี้ได้ส่ง Final Report เพื่อรอตรวจรับงานแล้ว และการศึกษาแผนกลยุทธการปรับโครงสร้าง ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษาซึ่งผ่านการ Short List
5) การรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการแก้ไขปัญหาล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้
2. เรื่อง หนี้ค่าน้ำมันค้างชำระของ รฟท. ซึ่ง กนร. มีมติว่า
2.1 ให้ รฟท. กู้เงินเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันและดอกเบี้ยค้างชำระแก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 2,162.25ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดหนี้ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2542 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนค้ำประกันเงินกู้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
2.2 ให้ รฟท. ไปกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ รฟท. เพื่อเสนอ กนร. เห็นชอบก่อนถือปฏิบัติ และรายงานผลเป็นไตรมาสเสนอ กนร. เพื่อทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2542--